<<<การทำเรื่องยื่นขอสัญชาติสวิสของภรรยาไทย>>>

Previous topic - Next topic

pall

สวัสดีจ๊ะมิโกะ
 เป็นอย่างไรบ้างสบายดีไหม
 เรื่องรับน้องมาอยู่ด้วยเสร็จเรียบร้อยแล้วไช่ไหมจ๊ะ
 ดีใจที่แวะเข้ามาคุยกันอีก
 เกี่ยวกับเรื่องนี้ป้าก็ไม่ทราบแต่เป็นข้อมูลที่ได้มา
 ที่Bernป้าเองก็อยากได้ข้อมูลของคนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการ
 ยื่นขอสัญชาติ
 นำเรื่องเกี่ยวกับการขอใบพำนักและการยื่นขอสัญชาตินำมา
 ถ่ายทอดข้อมูลให้ความรู้กัน
 หน่อยกำลังทำเรื่องยื่นขอสัญชาติไชไหม
 ถ้าทำหรือมีข้อมูลนำมาเขียนเล่าถ่ายทอด
 เป็นความรู้แก่คนอื่นๆด้วยได้ไหมจ๊ะ
 ว่าทำอย่างไรบ้างหรือมีขั้นตอน..การสัมภาษณ์อย่างไรบ้าง
 ขอบใจอีกครั้งสำหรับการเข้ามาช่วตอบ
 ให้ข้อมูลกัน

pall

สวัสดีค่ะคุณอยู่ที่ St.gallen
 ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลจากประสบการณ์
 ที่นำมาถ่ายทอดให้ความรู้เป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ
 เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากจริงๆซึ่งได้เห็นว่าประสบการณ์
 การต่อใบพำนักBและใบพำนักC
 ของแต่ละเขตจะแตกต่างและคล้ายๆกันบางอย่าง
 ขอบคุณมากจริงค่ะที่นำข้อมูลจากประสบการณ์มาเล่า
 ถ่ายทอดให้ฟัง..และขอบคุณอีกครั้งที่จะมาเล่า
 ประสบการณ์การในอนาคตข้างหน้า
 
 ถ้าใครมีข้อมูลจากประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้
 มาเล่าถ่านทอดความรู้อีกนะคะขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
 

บอมย์

ยิ่งงง เข้าไปใหญ่เลยนะเนี่ย ใช่ไหมคะป้า สวิตเหมือนกัน แต่กฎหมายแตกต่างบนความเหมือน อย่างที่คุณซังกาแลนต์พูด ปกติ ใบบี อย่างไรก็ต้องต่อทุกปี นี่คะ แต่ดูเหมือนว่าทางเขตคุณ ต่อปีที่สองแล้ว ก็ให้รอไปต่อซีเลย งงเข้าไปใหญ่ บอมย์คิดว่ากฎหมายแต่ละเขตไม่เหมือนกันแน่  หาข้อสรุปยากพอควรเลยนะคะ งั้นเดี๋ยวบอมย์ต้องรอให้หมดใบบีปีที่ 4 ของบอมย์ก่อนในปีหน้าดูซิ ว่าจะต่อซีได้ไหม แล้วจะเอามาเล่าให้ฟังนะคะ แต่ว่าสมาชิกบ้านป้าไม่มีใครอยู่เขตทิชิโนเลยเหรอคะ เอิ้กกกกก หาพวกค่ะ 555555
 ขอบคุณข้อมูลทุกคนด้วยค่ะ

pall

สวัสดจ๊ะบอมย์
 พูดเกี่ยวกับการขอใบพำนักเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากจริงๆ
 เกี่ยวกับกฎหมายของแต่ละKantonและเกี่ยวกับของ
 Gemeinde...เขตที่เราอาศัยอยู่..
 แต่ละเขตยังไม่เหมือนกันเลย
 อย่างของBernมีคนถกเถียงกันมาเหมือนกัน
 ว่าคนนั้นทำได้..คนนี้ทำได้..
 ป้าเคยไปถามเขตที่ป้าอยู่ได้ข้อมูลมาแบบนี้
 แต่คนอื่นๆมาเถียงว่าไม่จริงของเขาทำแบบนี้
 และเขาเองก็อยู่Bernด้วย...
 ยอมรับว่าบ้างครั้งก็ปวดหัวมากกับกฎหมาย
 แต่ถ้าคนทำมาแล้วและมีประสบการณ์การทำ
 มีหลักฐานข้อมูลมายืนยัน
 ให้เห็นเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากจริงๆ...
 ยกตัวอย่างเช่นเช่นการขอเงินจากโซเชี่ยว...
 หรือการขอเงินคนพิการ...
 หรือการขอเงินEL...เงินช่วยคนแก่หรือคนพิการ
 ถ้าอ่านตามตัวบทกฎหมายจะไม่รู้เลยว่าทำอย่างไรบ้าง
 ถ้าคนเคยขอถึงจะรู้ว่าไม่ได้ง่ายเลย..............
 การตรวจจะละเอียดเหมือนแก้ผ้าให้เขาตรวจหมด
 และถ้ามีเงินเกินตามที่เขากำหนดไว้ก็จะไม่ได้
 
 **ไปอ่านเจอมาเลยเอามาให้บอมย์ดู**
 เกี่ยวกับการขอสัญชาติ..แปลเองนะ
 
 Einbürgerung
 Die Schweizer Staatsbürgerschaft kann durch Einbürgerung erlangt werden.
 Dazu muss man mindestens zwölf Jahre in der Schweiz gelebt haben. Drei dieser Jahre müssen innerhalb der fünf Jahre vor der Antragstellung liegen. Die zwischen dem 10. und 20. Lebensjahr in der Schweiz verbrachte Zeit zählt doppelt.
 
 
 Der Antrag muss bei der Fremdenpolizei der Wohngemeinde gestellt werden. Von dort aus wird es an das Eidgenössische Justiz- und Polizeidepartement weitergeleitet, wo eine Einbürgerungsbewilligung ausgestellt wird, unter Voraussetzung, dass die folgenden Bedingungen erfüllt sind:
 
 
 **Sie sind in die schweizerischen Verhältnisse eingegliedert.
 ***Sie sind mit den schweizerischen Lebensgewohnheiten, Sitten und Gebräuchen vertraut.
 **Sie beachten die schweizerische Rechtsordnung.
 **Sie stellen keine Gefahr für die innere und äußere Sicherheit der Schweiz dar.
 
 Da die Schweiz ein Bundesstaat ist, muss man auch noch das Bürgerrecht des Kantons und der Gemeinde erhalten.
 
 Die Gemeinde und der Kanton. in dem Sie Ihren Wohnsitz haben, können noch zusätzliche Bedingungen und eine Gebühr für die Erteilung des Bürgerrechts festsetzen. Diese Bedingungen können an verschiedenen Orten sehr unterschiedlich sein. Manche Gemeinden pflegen eine relativ aufgeschlossen Einbürgerungspolitik, während in anderen Gemeinden eine Volksabstimmung über die Einbürgerung stattfindet. Auch die Kosten sind von Gemeinde zu Gemeinde und Kanton zu Kanton unterschiedlich.
 
 
 
 

ตุ้ม

สวัสดีทุกๆคนค่ะ  เข้ามาเมียงมองดูเฉยๆไม่มีสิทธิ์ตอบเพราะไม่มีประสบการณ์  แต่เห็นว่าเป็นบทความที่มีประโยชน์และให้ความรู้มากๆค่ะ

st.gallen

อธิบายง่ายๆ ผมมาอยู่ที่สวิสได้สิบกว่าปีแล้ว อยู่ที่Kanton St.gallen คือคุณต้องถือ Bให้ครบห้าปีก่อนแล้วจึงจะได้C
 แต่ถ้าคุณต้องการสัญชาติสวิส คุณสามารถยื่นเรื่องที่ประสงค์จะเป็นคนสวิสหลังจากถือBได้สามปีแล้ว
 แต่ไม่ได้หมายความว่าหลังจากยื่นเรื่องแล้วคุณจะได้เป็นคนสวิสเลย คุณจะต้องรอจนกว่าอายุการอยู่ของคุณในสวิสครบห้าปีเต็ม( ก็คือมีBครบห้าปี) จุดประสงค์ของการยื่นไว้ก่อนก็คือเมื่อครบกำหนดห้าปีทางการเขาก็ให้สัญชาติคุณเลย เขาจะไม่ให้Cคุณ  คุณก็ไม่ต้องมาเสียเวลาที่จะต้องมาใช้Cอีก
 คุณลองคิดดูซิว่า ถ้าคุณอยู่ใช้ บี ห้าปี แล้วมารับ ซีอีกปีแล้วค่อยยื่นเรื่องจะต้องรออีกประมาณปีคุณจะเสียเวลามาก
 เกี่ยวกับเรื่องสัมภาษเกี่ยวกับภาษาและความรู้เกี่ยวกับประเทศสวิส ผมว่ากรณีนี้ไม่เกี่ยวกับคนที่แต่งานกับคนสวิส เรื่องนนี้จะเกี่ยวกับพวกอพยบหนีสงครามมากกว่า เช่น คนยูโกสลาเวีย หรือ คนศรีลังกา
 ผมคิดว่ากฏหมายเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติคงเหมือนกันทั่วประเทศ
 หวังว่าข้อมูลผมคงช่วยอะไรคุณได้บ้าง
                                                                              หวัดดีทุกคน

หน่อย

หวัดดีค่ะ ป้า มิโกะ สบายดีค่ะ ป้าล่ะคะ หวังว่าคงสบายดีนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ พักนี้อากาศ ผิดปรกติ เด่วร้อนเด่ว หิมะตก ....
 เรื่องรับหลานมาอยู่ด้วย ยังเลยค่ะ ป้า แฟน มิโกะ บอกว่าให้รอ ได้ สวิสพาสก่อนค่อยเดินเรื่อง รับหลานมาอยู่ด้วย คงมะเกินปีหน้านะคะ
 ช่วงนี้ ทํางานเยอะค่ะ ทํา 80 เปอร์เชนต์เลยมะค่อยมีเวลาเล่นเน็ท
 แต่ถ้ามีเวลาก็แว๊ปมาเว็บป้านะคะ แต่เข้าไปแอ๊บสูตรอาหารชะส่วนใหญ่  ..ส่วนเรื่องยื่นขอ สวิสพาส กะลังอยู่ในขั้นตอนเดินเรื่องขออยู่ค่ะ คาดว่ามะน่า จะเกินปีหน้าคงได้สวิสพาส และถ้าได้แล้ว เรียบร้อย มิโกะจะมาเล่าให้ฟังนะคะ  คิดถึงป้าคะ

pall

สวัสดีค่ะคุณst.gallen  
 ขอบคุณอีกครั้งกับข้อมูลที่เขียนมาบอกกันเพื่อเป็นความรู้
 ทำให้ได้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
 เกี่ยวกับภาษาเขตอื่นๆไม่ทราบค่ะ
 แต่ของเขตที่อยู่เราต้องพอพูดภาษาตอนเขาสัมภาษณ์ได้บ้าง
 ไม่ใช่พูดไม่ได้เลย
 แต่เท่าที่เห็นคนไทยเราไม่ค่อยมีปัญหามากเท่าไร
 ถึงจะพูดไม่เก่งแต่ก็ฟังรู้เรื่องและเข้าใจ
 ขอบคุณอีกครั้งค่ะสำหรับความคิดเห็นข้อมูล
 ที่เป็นประโยชน์อย่างมากที่สุดที่นำมาถ่ายทอดกัน
 
 
 

pall

สวัสดีจ๊ะมิโกะ
 อากาศแย่มากจริงๆร่างกายปรับไม่ค่อยทันเลย
 ยิ่งคนแก่แบบป้ากับลุงยิ่งแย่เข้าไปใหญ่เลย
 ดีจริงๆถ้ามิโกะมีข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นขอสัญชาติ
 เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดสำหรับเป็นข้อมูลแก่คนไทยอื่นๆ
 จะได้รู้...ป้าเองก็ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้
 นอกจากเห็นคนอื่นๆทำกัน
 
 อย่างเรื่องการรับหลานหรือรับบุตรบุญธรรม
 เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากจริงๆ...เห็นมีคนมาถามเหมือนกัน
 แต่ข้อมูลรายละเอียดของป้าไม่มีเท่ารเลย
 นอกจากกม.ที่เขียนไว้เท่านั้น...
 รักษาสุขภาพด้วยนะ

ปู

สวัสดีค่ะป้าพอลและทุกๆคน
 ตอนนี้ปูก็ทำเรื่องขอสัญชาติอยู่เหมือนกัน จากประสบการณ์ของตัวเองที่ทำเรื่องยื่นขอสัญชาติ พอครบห้าปีปูไปที่เขตที่อยู่เพื่อขอสัญชาติ ทางเขตให้เอกสารมากรอกแล้วให้เราส่งจดหมายไปที่เบริน์เอง หลังจากที่ได้ส่งจดหมายไปแล้วได้ประมาณสองเดือนก็มีจดหมายจากเบริน์บอกมาว่าให้คอย ห้ามโทรไปถาม อาจจะเป็น หกเดือน หรือหนึ่งปี หรือมากกว่านั้น แล้วเค้าจะติดต่อกลับมาเอง และอีกอย่างที่เค้าบอกว่าอาจจะนานหน่อยเพราะมีคนรอคอยสัญชาติกันเยอะจนทุกวันก็เข้าไปแปดเดือนแล้วก็ยังไม่มีวีแววการติดต่อ ส่วนเรื่องการต่อพาสบีตอนปูมาอยู่สามปีแรกไปต่อทุกปี พอเข้าปีที่สี่ขางเขตให้อายุพาสบีสองปี ก็งงเหมือนกันกับแฟน ส่วนเพื่อนที่อยู่ใกล้กัน เค้ามาที่หลังปูสองปี และสองปีแรกก็ไปต่อทุกปีเหมือนกัน พอเข้าปีที่สามเขตให้อายุสามปีเลย ขนาดปูอยู่เขตเดียวกันกับเพื่อนยังไม่เหมือนกันเลย ส่วนปูอยู่เขตโลซานจ้ะลืมบอกไป

pall

สวัสดีค่ะคุณปู
 ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลที่เข้ามาแบ่งปันให้ความรู้กัน
 เกี่ยวกับใบพำนักBของเพื่อนคุณปูและของคุณปู
 แตกต่างกันไปอีก..ระยะเวลาแค่2ปีเอง..
 แต่ถ้าสรุปก็คือภายใน5ปีจะได้ใบพำนักB
 และพออยู่ครบ5ปีถึงได้ทำเรื่องยื่นขอสัญชาติ
 
 ตอนที่คุณปูกรอกเอกสารต้องแสดงหลักฐานอะไรให้เขาดูไหมคะ
 เพราะบางคนต้องแสดงยื่นหลักฐานต่างๆ
 ต้องขอโทษด้วยนะคะที่ถามรบกวนไปหน่อย
 เพราะสนใจมากค่ะ...ประสบการณ์การขอใบพำนักและ
 ทำเรื่องยื่นขอสัญชาติของแต่ละคนและแต่ละเขตแตกต่างกันไป
 ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบ

บอมย์

ป้าพอลจ๋า ดูท่าทางเรื่องพาสบี พาสซี นี่แต่ละเขตแตกต่างจริงๆๆนะคะ หาข้อสรุปยากเหมือนกัน งั้นเดี่ยวเขตทิชิโน รอปีหน้ามาบอกนะป้า อิอิ
 
 ข้อมูลที่ป้าให้ แงงงงงงงงงงง ขออิตาลี่มั่งได้เปล่าง่ะ 555555 แล้วเขตลูกเมียน้อยอย่างบอมย์ อ่านไม่ออกง่ะ อิตาลี่ยังลงโอ่งอยู่เลย แต่ขอบคุณป้ามากกกกกกกกก และทุกๆๆคนที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกันนะคะ
 

ปู

สวัสดีจ้ะป้าพอลและทุกคนอีกครั้ง
 เกี่ยวกับการถือพาสบีและซี และจนถึงการขอสัญชาตินั้นรายละเอียดจากที่ปูทราบมาจากแฟนเล่าให้ฟังจะเหมือนกัน ความคิดเห็นที่ 20 บอกมานั้น
 ส่วนหลักฐานที่ปูแนบไปกับเอกสารขอสัญชาติของปูจะมีแค่สองอย่าง (เพราะเราสองคนต่างไม่มีลูกและไม่เคยผ่านการแต่งงานกันมาก่อนฉะนั้นเอกสารการยี่นเลยไม่ค่อยยุ่งยากนัก  )
 1. ใบแสดงสถานะครอบครัวในนั้นจะมีด้วยกันสามใบด้วยกัน familienausweis
      -  เอกสารวันที่เราแต่งงาน และเขตที่แต่ง 1 ใบ
     -  เอกสารของฝ่ายหญิงก็จะมีรายละเอียดเกียวกับวันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด ชื่อพ่อแม่
      - เอกสารของฝ่ายชาย ก็จะเหมือนกับฝ่ายหญิง
 เอกสารทั้งสามใบต้องออกจากที่เขตเบริน์เท่านั้น ไม่ใช้สมุดประจำครอบครัว แต่รายละเอียดจะเหมือนกันกับสมุดครอบครัว แต่ปูไม่รู้ว่าที่ออฟฟิตไหนเพราะแฟนเป็นคนโทรไปขอจากนั้นสองวันก็ได้รับเอกสารทั้งสามใบ
 2. ใบรับรองสถานที่อยู่อาศัยของฝ่ายหญิง ออกโดยเขตที่เราอาศัยอยู่
 จากนั้นทางเขตที่ปูไปขอสัญชาติได้เช็คเอกสารทุกอย่างครบ ก็ให้เราเป็นคนส่งเอกสารทั้งหมดไปที่เบริน์เองเพราะที่เบริน์จะเป็นฝ่ายให้สัญชาติเรา ไม่ใช้เขตที่เราอยู่ เป็นรายละเอียดที่เขตบอกมา
 
 ปูขอเล่าประสบการณ์ของเพื่อนปูคนหนึ่งเมื่อสามปีที่แล้วเกี่ยวกับการขอสัญชาติของเพื่อน การยื่นเอกสารจะเหมือนกับปูทุกอย่าง แต่วันที่ตำรวจมาสัมภาษณ์นั้น เพื่อนปูไม่รู้เรื่องเลยไม่ได้นั้นหมายอะไร เค้าสุ่มมา และบังเอิญวันนั้นเพื่อนปูไม่อยู่บ้าน และก็บังเอิญตำรวจมาเจอปูกับแฟน ซึ่งปูอยู่ตึกเดียวกับเพื่อน ตำรวจก็เลยถามแฟนเกี่ยวกับเพื่อนปู ว่าผู้หญิงไทยคนนี้ทำงานอะไร มีลูกหรือเปล่า นิสัยดีมั้ย และหลังจากนั้นสองวันตำรวจก็มาอีกรอบ ก็เจอเพื่อนอยู่บ้านพอดี จากที่เพื่อนเล่าให้ฟัง ตำรวจก็ไม่ได้สัมภาษณ์อาะไรมากเพืยงแค่พูดคุยกันว่าเราพอพูดภาษาเค้าได้มั้ย เข้ากับคนที่นี้ได้หรือเปล่า ชอบที่นี้มั้ย จะเป็นลักษนะพูดคุยกันซะมากกว่า แต่เพื่อนปูรอประมาณหกเดือนก็ได้รับพาสสวิต ส่วนเพือนปูอีกคนอยู่สวิตมา10ปีพูดภาษเค้าไม่ได้ ตำรวจไล่ให้ไปเรียนภาษาใหม่ จากนั้นถึงมาขอสัญชาติอีกครั้ง ตำรวจบอกว่าถ้าจะขอสัญชาติสวิตจะต้องพูดภาษาเค้าให้ได้ก่อนถึงไม่เก่งขอให้สื่อสารพอรู้เรื่องบ้าง เพื่อนปูใช้ภาษอังกฤษกับภาษาไทยกับสามีและลูกไม่ค่อยใช้ภาษาฝรั่งเศษ และก็ไม่ยอมไปเรียนด้วย จากข้อมูลข้างบนอาจจะเป็นพื้นฐานของใครบ้างคนที่กำลังจะข้อสัญชาติสวิตอาจจะไม่มากนัก
 
     

namelin

พอดีไปอ่านเวบ  Bundesamt für Migration  มา
 เขาก็เขียนว่า บัตรซี จะได้รับ หลังจากอยู่ 5 หรือ 10 ปีอะคะ
 เลยเอามาฝาก
 
 Niedergelassene sind Ausländerinnen und Ausländer, denen nach einem Aufenthalt von fünf oder zehn Jahren in der Schweiz die Niederlassungsbewilligung erteilt worden ist.
 
 เวบที่มา
 http://www.bfm.admin.ch/index.php?id=259
 
 แต่อย่างที่ทุกคนเล่ามาก็น่าสนใจนะค่ะ
 ทฤษฏีกับปฏิบัติ อาจไม่เหมือนกัน (อืม....)
 

pall

สวัสดีค่ะคุณnamelin
 ขอบคุณมากค่ะเวบที่คุณให้มาเข้าไปอ่านเรียบร้อยแล้ว
 ข้างในที่Bundesamt für Migration - BFM
 เป็นการเขียนรวมเกี่ยวกับใบพำนักAusweis C:
 Niederlassungsbewilligung für Drittstaatsangehörige
 ของคนต่างด้าวที่มาจากประเทศกลุ่ม Drittstaatsangehörige
 ที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ในสวิตฯซึ่งทางKantonแต่ละKanton
 มีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการออกใบพำนักได้
 และไม่มีกำหนดอายุเวลาแน่นอน
 Das Aufenthaltsrecht ist unbeschränkt
 und darf nicht an Bedingungen geknüpft werden.
 Das Bundesamt für Migration legt das Datum fest, ab welchem die zuständigen kantonalen Behörden die Niederlassungsbewilligung frühestens erteilen dürfen.
 
 **อันนี้น่าสนใจมาก**
 Drittstaatsangehörigen kann in der Regel nach einem zehnjährigen ordentlichen und ununterbrochenen Aufenthalt die Niederlassungsbewilligung erteilt werden.
 
 **เกี่ยวกับการยื่นขอสัญชาติ**
 การยื่นขอสัญชาติมี3แบบเช่น
 Einbürgerungsgesuche
 
 ……Ordentliche Einbürgerung..คนต่างด้าว
 http://www.bfm.admin.ch/index.php?id=140
 
 ...... Erleichterte Einbürgerung....(คู่สมรสต่างด้าว)
 http://www.bfm.admin.ch/index.php?id=141
 
 ..... Wiedereinbürgerung
 http://www.bfm.admin.ch/index.php?id=145
 
 เกี่ยวกับการยื่นขอสัญชาติเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากจริงๆค่ะ
 ได้ฟังแต่ละคนเล่าหรือพูดถึงการทำไม่ค่อยจะเหมือนกันเลย
 ขอบคุณอีกครั้งค่ะที่นำข้อมูลดีๆมาฝากกัน