<<<สะติกเกอร์...กันเห็บ....>>>

Previous topic - Next topic

pall




**23.เมษายน.07**
 เชื่อแน่ว่าใครก็ตามที่เห็นข้อความนี้จะรีบเข้ามาอ่านด้วยความสนใจ
 และร้องถามว่า..เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า...
 จะได้หาสะกิกเกอร์มาติดตอนเข้าป่าหาเห็ด....เดินเล่น..วิ่งขยับแข้งขยับขาในป่า..ฯลฯ
 .......จริงจ้า.......ไม่ได้โม้........ได้สะติกเกอร์มาจริงๆไม่ได้อิงนิยาย.....
 ถ้าอยากได้จริงๆจะบอกให้....ใครอยากได้สะติกเกอร์แบบนี้
 แค่ไปหาหมอประจำตัวยื่นแขนให้เขาปักเข็มฉีดวัคซีนตรงต้นแขน
 เขาก็จะจดบันทึกวันเดือนปีที่ฉีดวัคซีนให้เราลงบนบัตรImpfausweis
 (บัตรประจำตัวสำหรับการฉัดวัคซีนต่างๆ)
 บัตรสมัยก่อนจะเป็นบัตรสีน้ำตาลแก่ปัจจุบันจะเป็นน้ำเงิน
 หลังจากฉีดวัคซีนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะติดสะติกเกอร์ลงบนบัตรของเรา
 เห็นไหมง่ายมาก..ได้สะติกเกอร์มานอนกอดแล้ว
 ***แต่บอกก่อนนะว่าเราต้องไปเอาฉีดวัคซีนจำนวน3ครั้ง***
 และติดสะติกเกอร์3อันจึงจะได้ผลป้องกันเห็บได้อย่างแน่นอน
 
 พูดถึงเห็บ..เชื่อว่าทุกคนต้องร้องยี้ด้วยความเกลียดกลัวขยะแขยง
 และไม่อยากให้ตัวเห็บมาแอบฝากรักปักหลักในร่างกายของเรา
 เห็บตัวเล็กแบบเล็กพริกขี้หนู..หรือเล็กซ่าร์....
 ตัวเล็กก็จริงแต่มีพิษสงร้ายกาจน่าดูใครไม่เชื่ออย่าลบหลู่
 คนที่โดนเห็บกัดจะรู้ดี..ถ้าบางคนแพ้เห็บ.ถึงขนาดล้มหมอนนอนเตียง
 และถ้าโดนเห็บมีพิษจะยิ่งแย่ใหญ่..เรียกว่าดวงดีสุดขีด
 เห็บจะออกมายืดแข้งยืดขาช่วงย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ
 และจะชอบหลบมุมตามใบไม้..
 เห็บมีขนาดเล็กมากจนเรามองไม่เห็น
 ถึงแม้ว่าเราจะกลัวและเกลียดขยะแขยงเห็บขนาดไหนก็ตาม
 แต่เมื่ออากาศดีเมื่อไร  แทบทุกคนจะออกไปเดินเล่นในป่า
 เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ ดูความงามของใบไม้ที่ผลิใบสีเขียวอ่อนสวย
 ดูดอกไม้ที่เริ่มผลิออกมา และถ้าช่วงที่เห็ดออกดอกก็เข้าป่าล่าเห็ดกัน
 และมีบางคนก็เกิดอาการกลัวมากๆถึงขนาดไม่ยอมเดินเล่นในป่า
 เดินเล่นนอกป่า..ก็ยังโดนเห็บกัด..แบบอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน
 ดังนั้นไม่ว่าเราจะเดินในป่า...นอกป่า..หรือเดินแถวไหนที่มีต้นไม้ใบหญ้า..ฯลฯ
 ปัญหาที่แทบทุกคนจะได้รับตามมาคือการโดนเห็บกัด
 บางคนอาจจะรู้ตัวไว  บางคนหลายวันต่อมาจึงจะรู้สึก
 
 **พันธ์Zecken...เห็บ..**
 เห็บทั่วโลกมีมากมายมากกว่า800พันธ์ขึ้นไป
 บางคนที่เกลียดและกลัวเห็บ..อ่านมาถึงตอนนี้จะร้องว่าแค่พันธ์เดียวก็แย่แล้ว
 นี่ตั้ง800กว่าพันธ์.....ตายแน่ๆโดยเฉพาะคนที่แพ้เห็บกัดจนต้องจับไข้(ไม้โทนะอ่านดีๆ)
 จะร้องว่าฮ่วยแบบนี้ตรูตายแน่ๆ......
 เห็บเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในตระ*ลแมงมุมและแยกออกเป็น2แบบคือSchild และ Lederzecken
 

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0133 ห้อง stories_life (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall




1.**Schildzecken
 มีถิ่นกำเนิดทั่วโลกและมีรูปร่างที่สังเกตได้ง่ายจะมีเครื่องหมายลวดลายสีสันบนหลังแข็ง
 ในประเทศสวิตฯจะมีเห็บหลายชนิดนี้ที่เราไม่ค่อยรู้จักชื่อกันเท่าไรนัก
 และยังมีเห็บบางชนิดที่อยู่ในกลุ่มนี้ที่เราควรระมัดระวังไม่ให้โดนกัด
 คือเห็บGemeine Holzbock(Ixodes ricinus).
 เพราะเป็นเห็บที่มีพิษร้ายนำเชื้อไวรัสFSME
 ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือที่เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
 Frühsommer-Meningoenzephalitis (FSME)
 ภาษาอังกฤษเรียกว่า tick-borne encephalitis(TBE)
 
 **ถิ่นอาศัยของเห็บ Schildzecken**
 จะอยู่ตามสถานที่ต่างๆที่มีแสงสว่างไม่ว่าจะเป็นป่า ตามกิ่งไม้ พุ่มไม้
 ต้นหญ้า และพื้นดินที่ชื้น
 ฤดูหนาวจะหลบตัวซ่อนอยู่ในพื้นดินใต้หิมะ
 

pall




2.**Lederzecken
 มีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างจากเห็บ Schildzeckenที่สังเกตได้อย่างชัดเจน
 คือจะมีผิวอ่อนนุ่มเหมือนหนังสัตว์
 จะอาศัยอยู่ในรัง....ในสัตว์เลี้ยง และบางครั้งเจอในตัวคน
 ในประเทศสวิตฯจะเจอเห็บชนิดนี้ในนกพิราบและตัวเม่น
 และสัตว์ที่เลี้ยงไว้
 

pall

ประเทศสวิตฯมีภูมิประเทศและอากาศที่เหมาะสำหรับเห็บมาก
 และคนสวิสชอบการวิ่งออกกำลังกายในป่า ขี่จักรยาน และโดยเฉพาะการเข้าป่าหาเห็ด
 ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่ชื่นชอบกันอย่างที่สุดเพราะนอกจากจะเป็นการออกกำลังกายแล้ว
 ยังได้เก็บเห็ดฟรีอีกด้วยแต่ก็ต้องทำตามกฎระเบียบกฎห้ามหลายอย่างจากรัฐที่ตนเองพำนักอยู่
 ซึ่งห้ามเก็บเห็ด7วันต้นเดือนคือตั้งแต่วันที่1ถึงวันที่7  
 และเก็บเห็ดได้คนละ2กก.เท่านั้นถ้าเกินจะโดนปรับ
 แต่ว่าไปก็ยังมีคนชอบเฉไฉ..เก็บเกินซะส่วนมาก
 
 **อันตรายจากเห็บในประเทศสวิตฯ**
 กรมสาธารณะสุขของBernได้รายงานชี้แจงเมื่อวันที่15.01.2007ว่า
 เมื่อปี05และปี06ได้มีผู้ป่วยโรคสมองอักเสบ
 Zeckenenzephalitis (Frühsommer-Meningoenzephalitis, FSME)
 จากการโดนเห็บกัดมีจำนวนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 เมื่อปี2006..มีจำนวนจากยอดที่แจ้งมาประมาณ259คน
 ซึ่งเป็นจำนวนประมาณ2,6เพิ่มขึ้นมากจากอัตราถัวเฉลี่ยจากปี1999-2004
 ปี2005มีจำนวนผู้ป่วย204คน
 

pall




**ทำไมเห็บกัดจึงเป็นอันตราย**
 ส่วนหัวตรงเขี้ยวของเห็บจะเป็นส่วนที่มีอันตรายที่สุด
 ช่วงที่เห็บกัดฝังเขี้ยวตรงผิวหนังเรามันจะปล่อยน้ำลายออกมา
 และในน้ำลายนั้นจะมีสารบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายยาชา
 ทำให้ช่วงที่เห็บกัดฝังเขี้ยวลงบนผิวหนังเราทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวดอะไรเลย
 ถ้าเป็นเห็บที่ไม่มีอันตรายก็ไม่ว่ากันหรอก....ดึงออกมาด้วยแหนบก็จบกันไป
 แต่ดวงไม่ดีถ้าไปเจอเห็บที่มีพิษร้ายเรียกว่า
 ซึ่งเป็นเห็บประเภทเGemeine Holzbock(Ixodes ricinus).
 เพราะในน้ำลายที่ปล่อยออกมาจากเขี้ยวจะมีเชื้อแบคทีเรีย  Borreliose-Bakterium
 ที่เรียกกันว่า Borrelia burgdorferi ทำให้เกิดความเจ็บป่วย
 ซึ่งคนสวิสเจ็บป่วยจากโดนเห็บกัดนี้ประมาณ3000ถึง5000คนต่อปี
 ความเจ็บป่วยจากโรคBorrelia burgdorferiรู้จักกันมาเมื่อประมาณ100กว่าปีทีผ่านมา
 จากการค้นพบของWilly Burgdorferและได้บันทึกเมื่อปี1982
 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าLyme-Borreliose
 Lymeเป็นสถานที่เล็กๆในอเมริกาอยู่ที่Connecticut (USA)
 นอกจากนี้ในน้ำลายยังมีเชื้อไวรัส FSME
 ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือที่เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
 Frühsommer-Meningoenzephalitis (FSME)
 
 **สรุปโรคที่เกิดจากเห็บกัด**
 
 1.โรคLyme-Borreliose
 เกิดจากแบคทีเรียจากน้ำลายเห็บ
 **อาการ**
 ผิวจะบวมแดง  ปวดศรีษะ  อาการปวดตามข้อกระดูก
 ทำลายระบบประสาท หัวใจ
 **การรักษา**
 ไม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้นอกจากรักษาโดยใช้ยาปฎิชีวนะ
 
 2.โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือที่เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
 Frühsommer-Meningoenzephalitis (FSME)
 เป็นการตั้งสมญานามการเริมต้นของโรคเจ็บป่วยของโรคนี้
 ซึ่งเกิดขึ้นช่วงเริ่มต้นของฤดูร้อนและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
 คำนี้เป็นศัพท์โดยเฉพาะโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสจากน้ำลายเห็บ
 **อาการ**
 เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  มีไข้สูง  ปวดศรีษะ     ทำลายระบบประสาท
 **การป้องกัน**
 โดยการฉีดวัคซีน
 

pall

**การแต่งกายเพื่อป้องกันเห็บ**
 การป้องกันถึงแม้จะทำไม่ได้มากแต่ที่ทำได้คือการแต่งกาย
 ควรแต่งกายให้มิดชิดเสื้อแขนยาวรัดแขนหรือกางเกงขายาว
 ใส่ถุงเท้ารัดปลายขากางเกงและเสื้อผ้าที่สรวมใส่ควรเป็นสีสว่างอย่าใช้สีมืดทึบ
 เพราะจะได้เห็นได้ง่ายเมื่อตัวเห็บเกาะ
 หลังจากกลับมาถึงบ้านควรตรวจดูเห็บ
 
 **ทำอย่างไรเมื่อเห็บกัด**
 ใช้แหนบเล็กๆ
 พยายามระมัดระวังช่วงที่ใช้แหนบพยายามกดให้แน่นดึงและหมุนจนหัวเห็บหลุด
 ถ้าเขี้ยวเห็บยังฝังแน่นอยู่ควรดึงออกมาให้หมด
 ถ้าไม่แน่ใจควรไปหาหมอให้ช่วยดึงหัวและเขี้ยวเห็บออกมาให้หมด
 
 **ลิงก์เขตที่แสดงให้เห็นถึงจุดอันตรายที่เห็บมีพิษร้ายอยู่ควรระมัดระวัง**
 http://www.zecken.ch/Karten/karten.html
 

pall

**ประกันเจ็บป่วยกับการฉีดวัคซีน**
 ประกันเจ็บป่วยจ่ายการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (FSME)
 
 *จำนวนและอายุของการฉีดวัคซีนป้องกันป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (FSME)**
 
 การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบ3ครั้ง
 การฉีดวัคซีนแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลา*งกันประมาณ2อาทิตย์
 หลังการฉีดแต่ละครั้งจะติดสะติกเกอร์เครื่องหมาย FSME
 อย่างภาพข้างบนสุดสีเขียว
 **อายุของการฉีดวัคซีน**
 มีอายุประมาณ10ปี
 

pall

ใครที่ชอบเดินเล่น ออกกำลังกาย หรือเดินทางไกล ในป่า
 ควรไปหาหมอเพื่อฉีดวันซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (FSME)  
 เพื่อความปลอดภัยจากโรคร้ายนี้ควรไปหาหมอฉีดวัคซีน  
 และควรรีบไปใช้สิทธิเพราะประกันจะจ่ายการฉีดวัคซีนนี้ให้เราทั้งหมด  
 และอย่างที่บอกมาคือเราได้สะติกเกอร์เครื่องหมาย FSME  
 ป้องกันเห็บได้ถึง3อัน  
 
 ใครที่สนใจเรื่องของเห็บสามารถเข้าไปอ่านได้จากที่นี่  
 http://www.zecke.ch/fsme/fsme_p010.asp?nav=10  
 
 
 และจากข้อมูลของคุณส้มตำที่ได้เขียนไว้นานแล้ว  
 เป็นวิทยาทานมีประโยชน์อย่างมาก  
 http://www.pallswiss.com/cgi-bin/webboard/generate.cgi?content=0651&board=pallswiss

หนุ่ม

สวัสดีครับ
 ผมเห็นว่ากระทู้นี้มีประโยชน์มากๆ เลยขอเข้ามาร่วมเสนอความคิดเห็นกับป้า Pallด้วยคนนะครับ
 
 ตามที่ผมได้ศึกษามาจากมหาลัยนะครับ เมื่อคุณถูกเห็บกัด และถ้ารู้สึกว่ามันกัดไปลึกแล้ว คุณไม่ควรดึงมันออกนะครับ ส่วนหัวที่เล็กมากของมันยังคงจะติดอยู่ในผิวของเรา เชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับตัวเห็บยังคงเข้าสู่ร่างกายได้ทุกโอกาส วิธีเอาเห็บออกที่ง่ายที่สุดคือ ให้คุณใช้น้ำมัน(น้ำมันพืช, ยาหม่อง หรือ วาสลีน) ทาบริเวณโดนกัด เสร็จแล้วนิ้วขยี้(หรือถู)ตัวเห็บเบาๆ แบบว่าเมื่อเห็บเลิกกัดผิวหนังแล้ว เห็บหลุดออกมาได้ ... น้ำมันที่คุณทาจะไปกั้นไม่ให้เห็บได้รับอากาศหายใจหรือออกซิเจน เห็บก็จะคายหรือเลิกกัด
 
 เห็บในป่าไม่เป็นอันตรายทุกตัวครับ เพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นที่มีแบคทีเรียโบเรเลีย วิธีสังเกตุถ้าคุณติดเชื้อแบคทีเรียนี้คือ ....อาการแรกๆเลย คือ ปวดหัว เหนื่อยเพลีย ปวดกล้ามเนื้อและข้อ ผื่นแดงหรือที่เรียกว่า Erythema Migrans(อาจคันหรือแสบร้อนที่บริเวณผื่น) แนะนำว่าถ้าคุณพบอาการดังกล่าว คุณควรพบแพทย์โดยด่วนก่อนที่อาการจะเลวไปกว่านี้และการรักษาโรคจะยากไปกว่าเดิม
 
 รักษาตัวกันนะครับ ต้องขอบคุณป้าpallที่ให้ความรู้แก่พวกเรา เดี๋ยวผมคงต้องแอบไปฉีดวัคซีนก่อนละครับ  
 

หนุ่ม

ลืม... เมื่อคุณทาน้ำมันที่บริเวณโดนกัดและเห็บได้ซักครู่แล้ว นอกจากนวดถูมันแล้ว คุณอาจลองใช้แหนบดึงมันเบาๆดูว่าเห็บเลิกกัดหรือยัง ถ้าเลิก เห็บก็จะติดแหนบออกมา

pall




**1.พค.07**
 วันนี้ไปฉีดวัคซีนเข็มที่2
 และได้สอบถามได้ข้อมูลมาเห็นว่ามีประโยชน์จึงขอนำความรู้มาเพิ่มเติม
 
 **ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (FSME)**
 การฉีดวัคซีนจะแบ่งออกเป็น2แบบ
 1.แบบฉีดวัคซีนธรรมดา(Nomales Impfschema)
 2.แบบฉีดเร่ง(ไว)(Schnell Impfschema)
 ...................................................................................................................
 
 ...1. .แบบฉีดวัคซีนธรรมดา(Nomales Impfschema)
 Winterzeit  Dez/Jan/Feb....ช่วงฤดูหนาว เดือนธันวาคม/มกราคม/กุมภาพันธ์
 
 A.........ฉีดครั้งแรก..(.1.Impf)
 B...... 4 สัปดาห์........ฉีดครั้งทีสอง.....(2.Impf  4  Wochen)
 C..... 12 เดือนฉีดครั้งที่สาม(3.Impf  12  Monat)
 
 .........2.แบบฉีดเร่ง(ไว)(Schnell Impfschema)
 Ab  April/Mai.....เริ่มฉีดเดือนเมษายน/พฤษภาคม
 
 A.........ฉีดครั้งแรก..(.1.Impf)
 B...... 14วัน........ฉีดครั้งทีสอง.....(2.Impf 14 Tage)
 C.....6  เดือนฉีดครั้งที่สาม(3.Impf 6 Monat)
 
 
 ****การฉีดวัคซีนป้องกันป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (FSME)
 ของที่ป้าฉีดครั้งนี้เป็นแบบที่สองคือแบบฉีดเร่ง(ไว)(Schnell Impfschema)
 และต้องรอการฉีดวัคซีนครั้งที่สามสิ้นเดือนตุลาคม
 วัคซีนที่ฉีดครบ3ครั้งนี้มีอายุ 10 ปี....
 

pall

สวัสดีค่ะคุณหนุ่ม
 ขอบคุณค่ะที่นำข้อมูความรู้มาแบ่งปันเพิ่มเติมเป็นวิทยาทานกัน
 เห็นด้วยค่ะควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ดีกว่า
 ป้าดีใจที่ไปฉีดวัคซีนมาสบายใจหน่อยเพราะ
 เดินในป่าบ่อยขอบคุณอีกครั้งค่ะ

miko

ขอบคุณ ป้า กับคุณหนุ่ม มากนะคะ ได้ความรู้มากๆเลย
 เพราะดูข่าวในทีวีคนที่เยอรมัน โดนเห็บกัดถึงกับพิการ
 น่ากลัวมากๆ ...ต้องระวังตัว
 ยิ่งพักนี้ไปเดินเขาทุกอาทิตย์ อยู่ด้วย....
 
   
 

มพถ-พยาบาลพลัดถิ่น-เยอรมนี




ข่าวสาร ข้อมูล  ทันสมัยค่ะ  คุณ พอล คุณหนุ่ม
 
 
 ตอนนี้เริ่มจะร้อน ปีนี้ เขตุยุโีป เยอรมนีเขาคาดว่าจะเป็นปีที่แมลง และเห็บพวกนี้จะระบาดมาก
 ตามมาอ่านค่ะ เพราะเคยหาข้อมูล เตือนคนมานานแล้ว
 ช่วงนี้จะอัพเดทหาข้อมูลเพิ่ม แต่ยังหาเวลาไม่ได้เลย
 ่ตอนนี้ก็ได้มีการศึกษาวิจัยเด้านนี้พิ่มขึ้นมากมาย
 
 
 
 โดยส่วนตัวเคยเจอเคสนี้ค่ะโดนกัดและรับเชื้อ BORREILOSE ร้ายแรงมากขนดที่ว่า พิษของท๊อกซิน และยาปฎิชีวนะ ที่ทานมาห้าวัน ทำให้คนไข้เสียชีวิต หลังจากรับใหม่ ดูอาการในห้องไอซียู ได้ไม่กี่ชั่วโมง
 เลยอยากบอกให้หลายคนระวังๆไว้
 บางคนคิดว่าเป็นเหมือนเห็บธรรมดาบ้านเรา เจอก็แกะทิ้งเลย
 
 
 ตามที่คุณหนุ่มบอก
 
 
 วิธีเอาเห็บออกที่ง่ายที่สุดคือ ให้คุณใช้น้ำมัน(น้ำมันพืช, ยาหม่อง หรือ วาสลีน) ทาบริเวณโดนกัด เสร็จแล้วนิ้วขยี้(หรือถู)ตัวเห็บเบาๆ แบบว่าเมื่อเห็บเลิกกัดผิวหนังแล้ว เห็บหลุดออกมาได้ ... น้ำมันที่คุณทาจะไปกั้นไม่ให้เห็บได้รับอากาศหายใจหรือออกซิเจน เห็บก็จะคายหรือเลิกกัด
 
 
 นั้นอย่าทำเลยค่ะ
 ไม่ควรหยดนำมันลงที่ตัวเห็บ เพื่อให้เห็บหายใจไม่ออกและตาย เพราะเห็บอาจจะทุรนทุรายและคายพิษออกมาสู่ร่างกายผู้ถูกกัด
 ลองไปอ่านข้อมูลตรงนี้นะคะ
 
 http://www.zecken.de/index.php?id=511
 
 เสียดายที่วัคซีนนี้กันได้แค่ FSME  ยังไม่มีการคิดค้นวัคซีนกันBORREILOSE
 ต้องระวังไว้มากๆค่ะ
 
 

มพถ-พยาบาลพลัดถิ่น-เยอรมนี

ขำหัวข้อคุณพอล อิๆ
 ตอนแรกจะมาดูเพราะอยากได้สติ๊กเก้อร์ไปแปะตัวลูกๆที่บ้านไล่เห็บ ทีเดียว
 อ่นไปอ่านมา แปะสมุด และต้องฉีดอีกด้วย เหอๆ