<<<1.FEBRUAR 06...กับ.. SIRENENTEST>>>

Previous topic - Next topic

pall



**วันที่1กุมภาพันธ์06กับการทดสอบไซเรน(สัญญาณเตือนภัย)**  
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะทำการทดสอบประสิทธิภาพ  
การทำงานการส่งสัญญาณเตือนภัยอย่างที่คนไทยเราเรียกกันว่าไซเรนทุกๆปี  
เพื่อใช้ในยามเกิดภัยวิบัติจริงๆ  ปีนี้จะทำการทดสอบวันที่1กุมภาพันธ์06  
ทั่วไปภายในประเทศเวลาตรงกันคือเวลาประมาณ13.30น.  
ประเทศสวิตฯมีสัญญานเตือนภัยประมาณ7750แห่ง(des Zivilschutzes)
ซึ่งหมายถึงการเตือนป้องกันภัยให้แก่พลเมือง  สัญญาณเตือนภัยจำนวน4750แห่งจะติดตั้งบนหลังคา  
และจำนวนอีก3000จะทำแบบเคลื่อนย้ายได้  ซึ่งจะทำการติดตั้งบนรถยนต์ สัญญาณเหล่านี้สามารถใช้ในบริเวณที่อยู่ไกล  
ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่ใกล้เขื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ  ซึ่งมีระบบไซเรนสัญญาณเตือนภัยพิเศษ  
 
ระบบการสัญญาณเตือนภัยจะมีหลายระบบ  การส่งสัญญาณเตือนภัยแบบเก่าจะเป็นแบบการใช้กำลังพลังงาน  
เครื่องจักรหรือใช้การอัดอากาศ  ปัจจุบันจะมีสัญญาณเตือนภัยระบบใหม่  ซึ่งใช้การเตือนภัยแบบelektronisch  
 
**ส่งสัญญาณเตือนภัยแจ้งให้ประชาชนทราบ** 
ความหายนะภัยวิบัติร้ายแรงต่างๆ(Katastrophen)ที่จะเกิดขึ้น  ทางการจะรีบส่งสัญญาณเตือนภัยให้รู้ทันที  
เป็นการให้ข้อมูลการเตือนให้ประชากรได้รู้  และจัดการเตรียมตัวได้ทันท่วงที  
และสามารถปรับเตรียมตัว  ทันกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า  
 
**ศูนย์กลางการทำงานเกี่ยวกับสัญญาณเตือนภัย**  
ภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้นจะมีการเตือนภัยอย่างเร่งด่วน
การทำงานจะผ่านศูนย์กลางคือNationale Alarmzentrale (NAZ)  
การรับผิดชอบแผนกของสำนักงานสหพันธรัฐซึ่งทำหน้าที่การคุ้มกันพลเมือง  
จะทำหน้าที่ความรับผิดชอบออกคำสั่งให้ทำการส่งเครื่องสัญญาณเตือนภัย  
เมื่อมีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นกัมมันตภาพรังสี,
อันตรายจากโรงงานพลังงานปรมาณูหรือห้องปฏิบัติการอุบัติเหตุทางเคมี
หรือจากอุบัติเหตุอื่นๆร้ายแรงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับSatelliten  และเกี่ยวกับเขื่อน  
 
**Sirenen(ไซเรน)**  
ความหายนะต่างๆที่เกิดขึ้นในบริเวณท้องถิ่นที่อาศัย  หรือภูมิภาคที่ได้รับเสียหายทั้งหมด  
จะได้รับสัญญาณคำเตือนภัยอย่างเป็นระบบและถูกแจ้งรายละเอียดให้ทราบประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีเครือข่ายไซเรนทั่วประเทศ  ที่ให้ความร่วมมือกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นKantonen, Gemeinden  และผู้ดำเนินการดูแลเขื่อนต่างๆ  
ที่ร่วมมือการปฎิบัติการทำงานเกี่ยวกับสัญญาณเตือนภัย(ไซเรน)  เพื่อการทดสอบประสิทธิภาพของการทำงาน  
จึงร่วมมือกันทดสอบไซเรนทั้งหมดทั่วสวิตเซอร์แลนด์1ครั้งต่อ1ปี  
 
**Zivilschutz(การป้องกันภัยให้แก่พลเมือง)ของKanton Bern** 
สัญญาณเตือนภัยจะมีประมาณ1136 แห่ง  สัญญาณเตือนภัยจำนวน752จะติดตั้งบนหลังคา
และจำนวนอีก586แบบเคลื่อนย้ายได้  และสัญญาณการตรวจสอบน้ำประมาณ150แห่ง  

สัญญาณเตือนภัยที่เราได้ยินจะไม่เหมือนกัน  
1.Allgemeiner Alarmลักษณะของเสียงเตือนภัย  
จะเป็นแบบHeulton(น้ำเสียงเหมือนหอน)  
สัญญาณจะทำการส่งเสียงสัญญาณเป็นระยะคงที่ใช้เวลา  ทำงานประมาณ1นาที  

2.ถ้าเป็นสัญญาณการเตือนภัยเกี่ยวกับน้ำ  
สัญญาณภัยจะมีเสียงต่ำจะส่งสัญญาณเตือนทุก20วินาที  และทุก10วินาทีขึ้นลงใช้เวลาประมาณ 6นาที  
สัญญาณเตือนภัยอาจจะใช้เวลาถึง14.00น  
และอาจจะทำการส่งสัญญาณเตือนภัยซ้ำในกรณีย์  ตรวจสอบการทำงานของการเตือนภัยใหม่  
 
**ข่าวสาร..การกระจายข่าวและข้อปฏิบัติตาม**  
ทันทีที่ได้ยินสัญญาณเตือนภัยเป็นเครื่องหมายแจ้งให้รู้ว่า  ทุกคนต้องรีบเปิดวิทยุโดยทันที  
ข่าวสารต่างๆจะกระจายสียงออกอากาศ  แจ้งให้ทุกคนสามารถติดตามสถานการณ์โดยละเอียด  ตลอด24ชม.
ทุกคนสามารถรับฟังได้จาก  Schweizerische Radio(สถานีวิทยุDRS1หรือสถานีวิทยุท้องถิ่น)  
โทรทัศน์ทุกช่องFernsehgesellschaft (SRG SSR) และระบบ ICARO  
และศูนย์กลางการตำรวจมลรัฐทั้งหมดถูกเชื่อมโยงที่ระบบนี้.  


**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0033 ห้อง stories_life (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall

#1
Mittwoch , 1.Feb.2006 ab 13.30Uhr  
วันพุธ ที่1 กุมภาพันธ์06 เวลา13.30น.  
ถ้าใครได้ยินเสียงสัญญาณดังโหยหวน  อย่าตกใจกับเสียงที่ได้ยิน เพราะเป็นการทดสอบไซเรน(สัญญาณเตือนภัย)  
ซึ่งทำการส่งสัญญาณเตือนภัยทุกปี  ที่ทำประจำอยู่แล้ว  
ถ้าใครสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้สามารถเข้าไปอ่านได้ที่นี่  
 
http://www.bevoelkerungsschutz.admin.ch/internet/bs/de/home.html  

นิด( แม่ลูกหมูสามตัว)

ได้ความรู้ใหม่เพิ่มอีกแล้ว ขอบคุณค่ะป้า
  แต่เอ้....ระหว่างเสียงสัญญาณเตือนภัยกับเสียงลุงเชียร์กีฬา ที่ลอยเข้ามาในหูโทรศัพท์อะไรน่าตกใจกว่ากันค่ะป้า เพราะนิดคิดว่าเสียงลุงก็เป็นเสียงสัญญาณเตือนภัย (ที่จะเกิดกับอาการหูอื้อของนิด) เหมือนกัน55555

ตุ้ม

สวัสดีค่ะคุณ Pall และนิด
 ขอบคุณค่ะคุณ Pall สำหรับความรู้ที่นำมาเผื่อแผ่ ขออนุญาตแจมหน่อยนะคะ  ในสมุดโทรศัพท์ด้านหลังที่เกือบจะหน้าสุดท้ายจะมีรายละเอียดบอกไว้เกี่ยวกับสัญญาณแจ้งเหตุและควรจะปฎิบัติตนเช่นไรดัวยค่ะเป็นคำอธิบายทั้ง 3 ภาษา
 
 ตัวอย่างเช่นสัญญาณทั่วไปจะดัง 1 นาฑีและหยุดไป 2 นาฑีจึงจะดังอีก 1 นาฑี เราก็ต้องเปิดวิทยุฟังดูว่าเป็นสัญญาณเหตุอะไรและควรจะทำอย่างไร  สัญญาณดัง 20 วินาฑี หยุดไป 10 วินาฑี ดังอีก 20 วินาฑี หยุดไปอีก 10 วินาฑี หลังการสัญญาณทั่วไป เป็นสัญญาณว่าเขื่อนน้ำพังทะลาย