ถามพี่ๆ เพื่อนๆ ที่ในห้องนี้น่ะค่ะ ว่า จำเป็นไหมคะ ว่าเราต้องทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินกันก่

Previous topic - Next topic

ลูกหมูน้อยในป่าใหญ่

เพราะว่าเพื่อนบางคนบอกว่ามันจำเป็น แต่บางคนก็บอกว่าไม่จำเป็นน่ะค่ะ จึงอยากถามผู้รู้น่ะค่ะ ว่าอันไหนถึงจะเป็นประโยชน์กับเรามากที่สุดคะ
 
 

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0030 ห้อง lifestyle (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

ตุ้ม

คุณถามว่าจำเป็นไหมที่จะต้องทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินก่อนการสมรส  ขอตอบว่าไม่จำเป็นค่ะ  การที่บางคู่สมรสต้องการที่จะทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินนั้นต้องเป็นการยินยอมดัวยกันทั้งสองฝ่าย  เหตุผลที่ทำสัญญาอาจจะเนื่องมาจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายมีทรัพย์สินเดิมหรือมีภาระผูกพันธ์ก่อนการสมรส  อย่างไรก็ดีขอย้ำว่าการทำสัญญานี้มิได้ตัดสิทธิที่คู่สมรสมีสิทธิ์ที่จะได้รับตามกฎหมายเช่นครึ่งหนี่งของเงินบำเน็จบำนาญที่ได้สะสมในระยะของการสมรส  เงินสังคมสงเคราะห์โดยนับจากระยะเวลาของการสมรส ฯลฯ

pall

สวัสดีค่ะคุณตุ้ม
ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบ

สวัสดีค่ะ คุณลูกหมูน้อยในป่าใหญ่  
**เรื่องที่คุณถามมา**
ถามพี่ๆ เพื่อนๆ ที่ในห้องนี้น่ะค่ะ ว่า จำเป็นไหมคะ ว่าเราต้องทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินกันก่อนที่จะแต่งงานน่ะค่ะ

**คำตอบ**
เรื่องนี้ตอบยากค่ะ  เข้าใจถึงความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายดี

**ฝ่ายชาย**
ฝ่ายที่มีทรัพย์สินในความปกครองมีความคิดอยากปกป้องไม่แน่ใจในคู่สมรส
ถ้าอยู่ด้วยกันไม่เท่าไรก็ต้องมาหย่า  และต้องมาแบ่งสมบัติที่หามากว่าจะเก็บได้จำนวนมาก
ก็ต้องมาแบ่งให้อีกฝ่ายเสพเสวยสุข  ความรู้สึกเหมือนชุบมือเปิบและกม.หย่าในสวิตฯ
ฝ่ายหญิงจะได้เปรียบกว่าฝ่ายชายหลายอย่าง  เห็นตัวอย่างมามากที่ผู้หญิงแต่งงานกับชาวสวิส
พอเริ่มได้สัณชาติก็หาเรื่องหย่าและมีผู้ชายใหม่ และสมบัติที่ฝ่ายชายหามาได้ก็ต้องมาแบ่งให้เมีย
ทั้งๆที่ไม่อยากแบ่งก็ตอ้งแบ่งด้วยความไม่เต็มใจ  และถ้ามีลูกด้วยกันผู้ชายตอ้งส่งเงินเลี้ยงดู
รู้จักเพื่อนสนิทคนหนึ่งหย่ากับเมียต้องส่งเงินให้เมียและส่งให้ลูกจนกว่าลูกจะครบ18หรือจบการศึกษา  ดังนั้นจึงเข้าใจถึงความรู้สึกของคนที่กว่าจะหาทรัพย์มาได้ด้วยความยากลำบาก
จึงอยากจะทำทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินกันก่อนที่จะแต่งงานเพราะยังไม่แน่ใจ
และคิดป้องกันถ้ากรณีย์ต้องเลิกกันจริงๆ จะได้ไม่ต้องแบ่งสมบัติ
เป็นการป้องกันสมบัติของตนที่หามาได้ด้วยความยากลำบาก

**ฝ่ายหญิง**
เริ่มรู้สึกน้อยใจคิดว่าฝ่ายชายไม่ไว้ใจ  หรือไม่รัก และไม่เป็นสุภาพบุรุษเหนียวและหวงสมบัติ
และเริ่มกลัวว่าถ้าต้องหย่าแล้วจะไม่ได้อะไรจากฝ่ายชายอย่างที่คุณตุ้มก็เขียนบอกมาข้างบน
ถ้าคุณหย่าถ้าคุณมีสิทธิ์ได้รับสัณชาติและได้รับส่วนแบ่งบางอย่าง
ที่เป็นสมบัติที่หามาด้วยกันระหว่างที่ใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน
ดังนั้นคุณอย่าคิดกลัวหรือหวาดระแวงกับอนาคตข้างหน้า
ถ้าคุณรักและแน่ใจในตัวของคนที่คุณจะแต่งงานด้วย
อย่านำเรื่องการทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินกันก่อนที่จะแต่งงาน
มาเป็นตัวที่ทำให้คุณคิดมากเลย   ลองทบทวนใหม่และเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ถ้าคุณเป็นฝ่ายชายมีทรัพย์สินคุณก็คงคิดป้องกันสิทธิส่วนนี้ของคุณเช่นกัน
ขอให้คุณปฎิบัติหน้าที่ของภรรยาที่ดีรักและประคับประคองชีวิตให้อยู่ด้วยกันตลอดจนกว่าจะตายจากกันดีกว่า  ถ้าฝ่ายชายเห็นและไว้ใจและแน่ใจในตัวคุณแล้วเชื่อแน่ว่าเขาจะเปลี่ยนใจและจะทำเรื่อง
เกี่ยวกับทรพย์สินใหม่ และเชื่อแน่ว่าเขาจะทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างให้คุณ
ชีวิตคนเราสั้นนักค่ะอยู่ไม่เท่าไรก็ตายจากกันแล้ว  ก่อนจะตัดสินใจหรือทำอะไรพยายามคิดทบทวน
ถึงผลได้ผลเสียก่อน  อย่าให้คนอื่นมาตัดสินใจให้เรา
คุณกับแฟนเป็นฝ่ายที่จะต้องอยู่ด้วยกันตลอดชีวิตอยู่แล้ว

ขอเอาใจช่วยค่ะ

ลูกหมูน้อยในป่าใหญ่

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับทุกคนที่เข้ามาตอบคำถามให้
 ป้า pall คะ หนูก็รู้สึกน้อยใจเหมือนกันนะคะ ที่แฟนพูดถึงเรื่องนี้ แม้ว่าหนูไม่ได้ใส่ใจว่าเค้ามีทรัพย์สมบัติอะไรบ้างก็ตาม  แต่เท่าที่อ่านที่ป้าอธิบายให้ฟังก็สบายใจมากขึ้นค่ะ
 ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

ตุ้ม

จากประสบการณ์ที่เห็นมา  หลังจากการทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินก่อนแต่งงานเพื่อป้องกันปัญหาในการแบ่งทรัพย์สินในกรณีย์หย่าร้างแล้ว  เพื่อที่จะให้คู่สมรสมีความสบายใจทั้งสองฝ่าย  ในขณะเดียวกันกับที่ให้ทนายความร่างสัญญาเรื่องทรัพย์สิน  ทั้งสองฝ่ายอาจจะถือโอกาสทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้แก่กันและกันเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตไป  เจ้าของพินัยกรรมนี้มีสิทธิ์ที่จะยกเลิกพินัยกรรมเมื่อไรก็ได้ ตัวอย่างเช่นในกรณีย์ที่มีการหย่าร้าง

จุ๊

แล้วถ้าเกิดแต่งงานแล้วโดยไม่มีการ่างสัญญา แต่จนให้หลัง 1 ปี สามีอยากจะทำสัญญาขึ้นมาเป็นอะไรไหมค่ะ

pall

สวัสดีค่ะคุณจุ๊
 เป็นไปได้ค่ะสามีของคุณสามารถทำได้และการทำต้องผ่านöffentlichen Urkundsperson ที่เรารู้จักในชื่อที่เรียกกันที่นี่ว่าNotar..
 เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองเป็นเรื่องซับซ้อนมากค่ะ
 ถ้าอยากทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจริงๆต้องถามนักกฎหมาย
 และการทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินจะมีหลายแบบ
 ไม่ว่าจะเป็นEhevertrag,.....Erbvertrag,....
 Testament.(ซึ่งมีการทำหลายแบบ)..
 
 เดี๋ยวรอคนที่รุ้เกี่ยวกับเรื่องนี้เข้ามาช่วยตอบเพื่อความแม่นยำ
 ของข้อมูลจะดีกว่านะคะ..ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ

น้ำท่วมปาก

เรื่องทรัพย์สินตัวเองไม่ค่อยมีปัญหากับสามีเลยค่ะ เพราะไม่ค่อยจะมีให้กลุ้ม
 
 แต่เคยได้ัฟังเรื่องทำนองนี้จากคนไทยที่ถกกันเรื่องปัญหาปลีกย่อย
 
 มีอยุ่รายนึง  สามีเสียชีวิตโดยไม่ทำสัญญาทั้งErbvertrag,.... หรือ Testament.พินัยกรรม  เธอไม่มีบุตรร่วมกัน  ต่อมาเธอช๊อกค่ะ  บ้านและทรัพย์สินทุกอย่างต้องแบ่งพี่น้องทางสามี ไม่ทราบกี่เปอร์เซ็นต์????  เราไม่สนิทกับเธอนัก  ก็ัฟังประดับความรุ้น๊ะ ถามแัฟนก็บอกไม่รุ้  ตอนหลังเห็นไปถามๆเพือนๆ  (เห็นเปล่า เจ้าของประเทศเองยังไม่รุ้เรื่องเลย)  ก็บอกกรณีไม่มีบุตรง่ะ
 
 เธอบอกเธอช้ำใจมาก  เพราะเธอทำงานสุ้ร่วมกับสามี  ไม่รุ้ตอนนี้ผลไปอย่างไร......ป้าเพาหรือใครๆที่ทราบข้อมููลดีๆ ไขความกระจ่างให้พี่ๆน้องๆในเวปหน่อยค๊ะ
 
 อ้อ....อีกข้อ  นี่ัตัวเองสงสัย  เจอเพื่อนใหม่คนนึง  เธอกำลังเดินเรื่องเอาบุตร 2คน โดยทำเป็นบุตรบุญธรรมสามี  อันนี้จะมีผลต่อทรัพย์สินสามีอันกระทบกับบุตรเดิมของสามีที่มีถึง 4 คนหรือไม่....แฮะ แฮะ สงสัยเพราะเห็นคนไทยนำบุตรติดแม่มาบ่อยๆค่ะ  คิดว่าหลายคนไม่ทราบกฎเหล็กนี้ทั้งหมดค่ะ
 
 ขอบคุณผุ้รุ้ทุกท่านที่กรุณาตอบน๊ะค่ะ

pall

สวัสดีค่ะคุณน้ำท่วมปาก
 ป้าคิดว่าหัวเริ่มล้านไปมากกว่าเดิมแล้วเครียดๆๆ
 ตอนนี้กำลังหน้าดำคร่ำเครียดเกี่ยวกับการเขียนประกันเจ็บป่วย
 ยอมรับว่าตาเริ่มดำเป็นหมีแพนด้าแล้ว....ไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไร
 เขียนไว้ตั้ง19หน้าไม่รู้ว่าทำไมขึ้นมากแบบนี้...
 ต้องมานั่งเกลาและลดหน้าอีกตอนนำมาลงเวบ
 
 เกี่ยวกับเรื่องEhevertrag,.....Erbvertrag,....
 Testament.(ซึ่งมีการทำหลายแบบ)..
 และเรื่องที่คุณถามมานั้นยอมรับว่าต้องใช้ความพยายาม
 และเวลากับการตอบมากเพราะ..มันซับซ้อนจริงๆ
 ตัวเองเกี่ยวกับตัวเลขไม่ค่อยจะถนัดเท่าไรนักสอบตกประจำตอนเรียน
 บอกก่อนว่าซับซ้อนมากถ้าเกี่ยวกับเงินๆทองๆ..วุ๊ยตัวเลขเริ่มวิ่ง
 ปรู๊ดปร๊าดเป็นหุ้นเลย....
 ที่คุณบอกว่าเจ้าของประเทศยังไม่รู้เรื่อง....
 ง่ะๆๆป้าก็เริ่มขอบตาดำแล้ว...
 รอคนที่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆเข้ามาช่วยตอบดีกว่า
 ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากค่ะสำหรับคนที่เข้ามาช่วยตอบ
 
 


สา


pall

Ehevertrag: Muster Ehevertrag (Gütertrennung)
So ändern Sie Ihren ehelichen Güterstand von Errungenschaftsbeteilung auf Gütertrennung und regeln die Eigentumsverhältnisse.
http://vertragsservice.weka.ch/document_view.cfm?nr=1319147&start=1
ตัวอย่าง :ใบสัญญาแบ่งสิทธิในการสมรส (แบ่งแยกทรัพย์สินออกจากกัน)
http://vertragsservice.weka.ch/vorschau.cfm?nr=1319147


Ehevertrag: Muster Ehevertrag (allgemeine Gütergemeinschaft)
So ändern Sie Ihren ehelichen Güterstand von der Errungenschaftsbeteiligung auf die allgemeine Güterschaft.
http://vertragsservice.weka.ch/document_view.cfm?nr=1319145&start=1
ตัวอย่าง :ใบสัญญาแบ่งสิทธิในการสมรส  (ทรัพย์สินทั่วๆไปทำร่วมกัน)
http://vertragsservice.weka.ch/vorschau.cfm?nr=1319145

Ehevertrag: Muster Ehevertrag (Errungenschaftsbeteiligung)
So gestalten Sie den gesetzlichen Güterstand der Errungenschaftsbeteiligung abweichend vom Gesetz.
http://vertragsservice.weka.ch/document_view.cfm?nr=1319146&start=1
ตัวอย่าง :ใบสัญญาแบ่งสิทธิในการสมรส   (สินสมรส(Errungenschft)มีส่วนด้วย)
http://vertragsservice.weka.ch/vorschau.cfm?nr=1319146