ตอน2           

                <<<< Eherecht - Marriage law >>>>

กฎหมายสมรส

 

เมื่อคุณต้องการจดทะเบียนสมรสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดเอกสาร ระบุสิ่งที่จะนำไปยื่น จากสำนักอำเภอ(เขตที่ผู้อาศัยอยู่)ที่ผู้ต้องการจดทะเบียนสมรสลงทะเบียนเข้าอยู่อาศัยในประเทศสวิตฯเพื่อป้องกันมิให้ล่าช้า หรือเพิ่มค่าใช้จ่ายที่ต้องจัดหาเร่งด่วนจากประเทศไทย ในกรณีที่ท่านเดินทางมายังประเทศสวิตฯแล้ว

 

ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับการยื่นเรื่องจดทะเบียนสมรส

คุณสมบัติของคู่สมรส

- ทั้งสองฝ่ายต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
- มิได้เป็นพี่น้องหรือญาติร่วมสายโลหิตหรือเป็นบุตรบุญธรรมของอีกฝ่ายหนึ่ง
- ถ้ามีผู้ปกครอง(Vormund)ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อน

 

เอกสารที่ต้องยื่นเพื่อขอจดทะเบียนสมรส(อาจมีข้อแตกต่างบ้างแล้วแต่เขตที่อยู่แต่ละรัฐ) สำหรับชาวไทย

- หนังสือเดินทาง
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สูติบัตร หรือใบรับรองสถานที่เกิด วัน เดือน ปีที่เกิด ชื่อ บิดามารดา และนามสกุลเดิมของมารดาก่อนสมรส โดยมีการระบุว้าถือสัญชาติไทยด้วย
- ใบรับรองสถานภาพโสดสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน
- กรณีหย่าแล้วต้องนำใบหย่าพร้อมบันทึกการหย่ามาแสดงด้วย

 

เอกสารภาษาไทยทุกฉบับที่ระบุข้างต้นนี้(ยกเว้นหนังสือเดินทาง)ต้องแปลเป็นภาษาราชการของประเทศสวิตฯเพื่อประกอบในการยื่นขอจดทะเบียนสมรส

 

สำหรับชายชาวสวิส

-ใบรับรองการลงทะเบียนบ้าน(Wohnsitzbescheinigung)
-ใบรับรองสถานภาพทางการสมรส(Personalstandausweis/Zivistandsbestaetigung)

 

สิทธิและหน้าที่ของคู่สมรส(Rechte und Pfichten der Eheleute)

กฎหมายสมรสของประเทศสวิตกได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสและให้สามีภรรยามีความเท่าเทียมกันทั้งทางสิทธิและหน้าที่ดังนี้
- ต้องอยู่กินฉันสามีภรรยา ช่วยเหลือและอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยกัน
- คู่สมรสทั้งหญิงและชายมีสิทธิใช้ชื่อสกุลเดิมของตนหรือชื่อสกุลของคู่สมรสก็ได้โดยแจ้งความจำนงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อมีการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส
- ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิร่วมกันในการเลือกบ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัย
- การเลือกประกอบอาชีพต้องพิจารณาถึงครอบครัวเป็นหลัก
- ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่อยู่บ้านหรือทำงานบ้านเลี้ยงและดูบุตร มีสิทธิไดรับค่าตอบแทนตามความเหมาะสม หรือมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนเมื่อช่วยดำเนินธุรกิจของคู่สมรส
- หนี้สินส่วนตัวของผู้ใดผู้นั้นต้องเป็นผู้ชำระหนี้ แต่คู่สมรสต้องรับผิดชอบร่วมกันเมื่อเป็นหนี้สินการดำเนินชีวิตประจำวันเช่าค่าบริโภคและอุปโภคที่จำเป็น หรือเมื่อมีการลงนามในหนี้สินร่วมกัน
- คู่สมรสมีสิทธิรับรู้เรื่องรายได้ทรัพย์สินและหนี้สินของแต่ละฝ่าย

 

การทำสัญญาเรื่องทรัพย์สิน

ถ้าไม่มีการทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินก่อนหรือหลังสมรส ตามกฎหมายให้ใช้หลักทรัพย์สินทั่วๆไปเป็นหลัด
(Ordentliche Gueterstand)คือแยกทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายเป็นสินส่วนตัว(Eigengut) หมายถึงทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายมีก่อนการสมรส หรือมรดก ที่ได้มาระหว่างสมรส และสินสมรส(Errungenschft)คือเงินเดือนและทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายที่หามาได้ระหว่างดำเนินชีวิตมาร่วมกัน เมื่อมีการหย่าร้างจะต้องแบ่งครึ่ง

ที่มาของข้อมูลและเอกสาร
- Schweizerisches Zivilgesetzbuch
- Ehe-und Erbrecht
- Ein Leitfaden fuer Braut-und Eheleute(Herausgeben vom Eidgenoessischen Jutiz-und Polizeidepartment)

Copyright © 2003 Pallswiss All Rights Reserved