ลูกถือพาสไทยมีสิทธิ์เหมือนคนไทยทุกอย่างไหมถือต้องถือบัตรประชาชนไทยด้วย

Previous topic - Next topic

เทวี

มาทุกวันค่ะมาแต่เช้าด้วยเพราะอยากเรียนภาษาเยอรมันตอนเช้าสมองปลอดโปร่งคือว่าสงสัยอีกแล้วค่ะป้าพอล ถ้าลูกเราถือพาสไทยตามแม่แต่ว่าไม่ได้แจ้งชื่อในทะเบียนบ้านเพราะไม่ต้องการให้เขาเป็นทหารที่เมืองไทย แล้วลูกไม่ได้บัตรประชาชนไทยนี่ เขาจะมีสิทธ์เหมือนคนไทยทุกอย่างไหมคะ แล้วถ้าแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านแล้วมีหมายทหารเรียกมาเราแจ้งว่าลูกอยู่ต่างประเทศเหตุผลนี้ฟังขึ้นไหมคะ ส่วนตัวเราเองหลังจากถือพาสสวิสด้วยแล้วแต่พาสไทยก็ยังถือ เราจะเสียสิทธิ์บางอย่างที่เมืองไทยไหมคะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0011 ห้อง lifestyle (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

อร

สวัสดีคะเทวี เราก็ขี้สงสัยเหมือนกันและมีคำถามมากๆๆเลยถามแฟนก็ไม่ค่อยรู้เท่าไหร..ขอถามคนที่มาอยู่ก่อนนี้เหละคะ.
 
 ในกรณีที่เราแต่งงานกะคนสวิส นานแค่ไหนถึงได้พาสปอรต์ของสวิสคะ ได้ยินว่า 5 ปี จริงหรือปล่าวคะ.....ของอังกฤษนี้แค่ 3 ปีเอง จริงหรือปล่าว แล้วของเยอรมันละคะกีปี..เพราะแต่ละประเทศกฎหมายไม่เหมือนกัน..............
 
 ในกรณีที่ผู้หญิงไทยแต่งงานแล้วเปลียนมาเป็นพาสปอรต์สวิส เขาสามารถถือ 2 พาสได้หรือคะ ไทยพาส และสวิสพาส จริงหรือปล่าวคะ......เพราะสงสัยกะการเยอรมันนีสามารถถือได้แค่พาสเดียว จะต้องสละพาสไทย...
 
 ในกรณีที่เรามีลูก...ลูกเราได้เงินจากรัฐบาลสวิส จริงหรือคะแล้วได้เดือนละเท่าไหร่คะ..จึงถึง 18 ปี ใช่ใหม่คะ...
 
 เราขี้สงสัยและอยากรู้เราก็ยังไม่เคยมีลูกหรอกคะแต่คำถามมีมากมายอยากจะถามคนที่เขามีลูกแถวนี้ก็เดียวจะหาว่าอยากรู้มากก็เลยต้องถามคนที่รู้และที่มีลูก....ขอบคุณนะคะ

เทวี

เทวีกับคุณอรรอคนมีความรู้มาตอบอยู่ค่ะ ป้าพอล คุณแม่น้องติ๊ดตี่มาตอบให้หายสงสัยหน่อยค่ะ หรือใครที่มีความรู้ก็ได้ขอบคุณค่ะ

pall




การจะยื่นขอมีSwiss Passportก่อนอื่นจะต้องยื่นคำร้องขอ
 Einbürgerung(ขอสัญชาติสวิสก่อน)
 เมื่อได้สัญชาติสวิสมาแล้วจึงจะมีสิทธิ์ขอSwiss Passport
 และIdentitaetskarte(บัตรประจำตัวประชาชนสวิส)
 (เราสามารถทำได้พร้อมกันเลย)
 การยื่นคำร้องขอสัญชาติสวิสจะมีกฎระเบียบเหมือนๆกัน
 การยื่นคำร้องขอทำPassportแล้วแต่Gemeinde
 เขตมณฑลที่ตัวเองพักอยู่
 เพื่อความแน่นอนควรไปสอบถามทางGemeinde
 อำเภอที่พักอาศัยว่ามีระเบียบอย่างไรบ้าง
 
 ***การยื่นขอ Einbürgerung(สัญชาติสวิส)***
 มีกฎระเบียบดังนี้
 หญิงแต่งงานกับชายชาวสวิสและอยู่อาศัยด้วยกันอย่างน้อย 3 ปี
 และอาศัยอยู่ในSwitzerlandอย่างน้อย 5 ปี
 ถ้าแต่งงานกับคู่สมรสเดิมครบ3ปี
 ก็สามารถยื่นGesuchsformularคำร้องขอ Einbürgerung(สัญชาติสวิส)
 ได้เลยเพราะการทำใช้เวลานานพอสมควร
 เพราะต้องยื่นเรื่องผ่านเข้ายื่นเรื่องขอสัญชาติไปทางศูนย์ใหญ่ที่ Bern
 และทางเขตGemeindeเป็นผู้รับรอง
 เราต้องรอจนกว่าทางเขตGemeindeจะเรียกเราไปสัมภาษณ์
 เขตGemeindeแต่ละเขตจะมีระเบียบไม่เหมือนกัน
 
 
 **เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบ**
 ใบNiederlassungsausweis(ใบสำมะโนครัว)
 
 แล้วแต่เขตบางแห่งต้องการใบสำเนาภาษี
 ว่าจ่ายครบติดค้างจ่ายภาษีหรือเปล่า
 บางเขตอาจจะแตกต่างกันไป
 ทางที่ดีควรไปสอบถามเพื่อความแน่ใจ
 ทางเขตGemeindeที่อยู่จะบอกมาว่าต้องการเอกสารอะไรบ้าง
 
 **การยื่นคำร้องขอ Einbürgerung(สัญชาติสวิส)**
 ต้องแน่ใจว่า
 1.ไม่ติดค้างภาษีใดๆ กับทางรัฐฯ (จ่ายภาษีครบ)
 และไม่เคยขอการสงเคราะห์ช่วยเหลือใดๆ จากรัฐฯ
 2.ไม่เคยทำผิดกฎหมายร้ายแรงคดีอาญา
 3. อาศัยอยู่ในเขตGemeindeอำเภอปัจจุบันอย่างน้อย 1 ปี
 แต่ถ้ามีความจำเป็นในการย้ายไปอยู่เขตGemeindeอื่น
 ซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบัน
 (เขตGemeinde เก่าที่เคยอาศัยอยู่ก็จะรับรองแทนได้)
 4.ไม่มีหนี้สินใดๆ ,มีเงินเดือนรับรอง
 
 การชี้แจงเตรียมเอกสารต่างๆ Gesuchsformular
 คำร้องขอ Einbürgerung(สัญชาติสวิส)
 ไม่ยุ่งยากแต่การรอเรียกไปสัมภาษณ์กับทางเจ้าหน้าที่
 จากเขตGemeindeจะนานพอสมควรขึ้นอยู่กับเขตที่อยู่
 
 การสัมภาษณ์จะเหมือนการพูดคุยธรรมดา
 จะถามเรื่องต่างๆ ....ว่าเรายอมรับหรือเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณี
 และความเป็นอยู่ของชาวสวิส เข้าใจสิทธิหน้าที่พลเมือง
 และระเบียบปฎิบัติทั่วไปของประเทศสวิตฯ
 เราไม่ต้องตกใจหรือกลัว
 ขอให้เราตอบแบบมั่นใจ
 ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างผ่านเรียบร้อยเราก็ได้ Einbürgerung(สัญชาติสวิส)
 

pall


pall




ด้านหลังจะมีตัวอักษร M และ F
 ตัวอักษร M  หมายถึงเพศชาย
 
 ตัวอักษร Fหมายถึงเพศหญิง
 
 **CH Passและ Identitaetskarte**
 มีอายุ10ปี
 
 Pass + ID  ถ้าทำพร้อมกันราคา CHF 138
 
 

pall

เมื่อเราได้Einbürgerung(สัญชาติสวิส)
 ก็ยื่นเรื่องขอทำCH Passได้เลย
 และเราสามารถถือได้2Pass
 คือCH PassและThai Pass
 

อร

สวัสดีคะ ป้าพอล ขอเรียก ป้าพอล แบบกันเองแล้วกันนะคะ. และเทวี.
 ได้ความรู้และความกระจ่างเยอะเลยขอบคุณจากใจจริงคะ.........พอดีอรก็พยายามอ่านกระทู้เก่าๆๆ และเรื่องต่างๆๆ เกี่ยวกะสวิสทางเว็ปของป้าพอล....ขอบคุณอีกครั้งคะเป็นประโยชน์อย่างมาก....
 ถามแฟนแฟนเป็นคนสวิสแท้ๆยังไม่รู้เลยนะคะว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง....นอนหลับผันดีนะคะ

pall

Kinderzulagen เงินค่าเลี้ยงดูบุตร
 ขึ้นอยู่กับอาชีพและเงินเดือน
 และขึ้นอยู่Kantonen
 อาชีพส่วนตัวจะไม่ได้รับเงิน
 Kinderzulagen ค่าเลี้ยงดูบุตรส่วนนี้
 Kantonenแต่ละแห่งจ่ายKinderzulagen ค่าเลี้ยงดูบุตร
 มากน้อยแตกต่างกันไป
 บางเขตอาจจะจ่ายถึง16ปีหรือจ่ายจนถึงอายุ25ปี
 ถ้ายังอยู่ระหว่างการศึกษาอยู่Ausbildungszulagen
 เงินKinderzulagen ค่าเลี้ยงดูบุตรส่วนนี้
 บางคนอาจจะได้100กว่าหรือ200กว่า
 และขึ้นอยู่กับจำนวนลูกในครอบครัวประกอบด้วย
 
 รอให้คนอื่นๆเข้ามาช่วยตอบด้วย
 ยอมรับว่าไม่ค่อยมีความรู้ส่วนนี้เท่าไร
 อีกอย่างลุงทำอาชีพส่วนตัวเราไม่เคย
 ได้รับเงินKinderzulagen เงินค่าเลี้ยงดูบุตร
 ส่วนนี้เลย

pall

สวัสดีจ๊ะอร
 ป้ากำลังเขียนอยู่เลยสวนกันพอดี
 ป้าพยายามตอบเท่าที่พอจะตอบได้และตอบเท่าที่พอจะรู้
 ขอบใจมากจ้า
  ขอตอบแค่นี้ก่อนเพราะต้องไปดูแลลุงก่อน
 รอคนอื่นๆเข้ามาช่วยตอบด้วย
 คนอื่นอาจจะมีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้
 

อร

สวัสดีคะ ขอบคุณอีกครั้งนะคะทีให้ความกระจ่าง.. ถามแฟนก็ไม่ค่อยรู้เพราะไม่เคยมีลูก และเข้าไม่ได้สนใจเรีองแบบนี้
 
 และอรพึ่งรู้นะคะเนี้ยว่าอาชีพส่วนตัวไม่ได้รับเงินค่าเลี้ยงดูบุตร......แล้วถ้ามีลูก 2 คน จะได้รับประมาณเท่าไหร่.............
 
 ถามเพิ่มนะคะ พอดีได้ยินว่าถ้าเราเคยทำงานและตอนหลังท้องแล้วออกจากงาน ทางบริษัทจ่ายเงินเดือนเราประมาณกีเปอร์เซ็นคะ และนานกีปีคะ
 ขอบคุณคะ รอคำตอบอยู่นะคะ ใครมีลูก ใครมีประสพการณ์ช่วยกรุณาให้ข้อมูลหน่อยคะ

ตุ้ม

เงินค่าเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 25 ปีถ้าบุตรยังเป็นนักเรียนเต็มเวลาของบุคคลที่เป็นลูกจ้างแต่ละรัฐจะได้ไม่เท่ากัน  ตัวอย่างเช่น
 
 เจนีวา  วันที่ทารกตลอดหรือวันที่ได้รับโอนผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมได้รับ 1000 ฟรังค์ต่อคน  จากแรกเกิดถึง 15 ปี 200 ฟรังค์ต่อเดือน 15 ปีถึง 18 ปี 200 ฟรังค์ต่อเดือน 18 ปีถึง 25 (ต้องนำใบรับรองจากสถาณศึกษามาแสดงว่าเป็นนักเรียนเต็มเวลา)  เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 16 ปีถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศสวิสฯแต่บิดาหรือมารดาเป็นลูกจ้างในประเทศสวิสฯก็มีสิทธิ์ได้รับเงินนี้
 
 วาลิส  วันที่ทารกเกิด(ต้องเกิดในสวิสฯ) 1500 ฟรังค์แต่ป็นการคลอดเด็กแฝดบิดามารดาจะได้แค่ 2250 ฟรังค์เท่านั้น  ลูก 2 คนแรกจากแรกเกิดจนอายุ 16 ปี 260 ฟรังค์ต่อเดือนต่อคน (ถ้าบิดาหรือมารดาเป็นนักศึกษา 360 ฟรังค์)  ลูกคนที่ 3 ได้ 344 ฟรังค์ต่อเดือนต่อคน (ถ้าบิดามารดาเป็นนักศึกษา 444 ฟรังค์ต่อเดือน)
 
 การติดต่อสอบถามให้ดูเลขโค๊ดที่ในหมายเลขของเคสที่นายจ้างจ่ายเงินสังคมสงเคราะห์ที่หักออกจากเงินเดือนเราไปทุกๆเดือนจาก AVS/AHV การ์ดสีเทาของสามีหรือภรรยาในกรณีที่ทำงานทั้งคู่ ควรจะขอเงินจากผู้ที่ทำงานเต็มเวลาเพราะจะได้เงินเต็มส่วน (ถ้าเป็นนายจ้างที่ใหญ่มากๆมีคนงานมาก  เค้ามีสิทธิ์ที่จะเป็นผู้จ่ายดัวยตนเอง) และหาเบอร์โทรศัพท์ของเคสนั้นๆที่ในสมุดโทรศัพท์หน้าสุดท้าย  Adressen der AHV-Ausgleichkassen

สวัสดีค่ะ

สวัสดีค่ะ ป้าพอล คุณเทวี คุณอร คุณตุ้ม
 
 ขอตอบคำถามคุณอร ที่ว่า `` พอดีได้ยินว่าถ้าเราเคยทำงานและตอนหลังท้องแล้วออกจากงาน ทางบริษัทจ่ายเงินเดือนเราประมาณกีเปอร์เซ็นคะ และนานกีปีคะ``
 ขอบคุณคะ รอคำตอบอยู่นะคะ ใครมีลูก ใครมีประสพการณ์ช่วยกรุณาให้ข้อมูลหน่อยคะ
 
 แต่ไม่แน่ใจว่าถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์หรือเปล่าเพราะไม่มีประสบการณ์ แต่ได้ฟังมาอ่ะค่ะ
 เมื่อตั้งครรภ์เรามีสิทธิ์ลาคลอดได้ สามเดือน ได้เงินเดือนเต็มหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่คิดว่าน่าจะ แต่ถ้าลาเพิ่มจากสามเดือนก็ไม่ได้รับเงินเดือนนะค๊ะ และเค้าก็อาจจะนำมาเป็นข้อที่่จะให้ออกจากงานได้ถ้าลานานมาก ๆ     และนายจ้างไม่สามารถนำเรื่องที่เราท้องมาไล่เรา
 ออกจากงานได้ค่ะ นอกจากเราจะลาออกเอง
 
 เงินที่จะได้รับหลังจากออกจากงาน ก็คือเงิน
 ประกันการตกงาน ที่จะจ่ายให้เรา  อันนี้ได้ไม่แน่ใจว่านแต่ละอำเภอท้องที่จะเหมือนกันหรือเปล่า
 
 ตัวอย่างมีเพื่อนของแฟนบริษัทเค้าเลิกจ้าง ในขณะที่เค้ายังไม่ได้งานใหม่ และหรือ
 หลังจากถูกเลิกจ้างจนถึง 18 เดือน ทางประกันสังคมเค้าจะจ่ายให้ 80% เปอร์เซนต์ของเงินเดือนที่เคยได้รับ แต่ก็ต้องถูกหักภาษีและประกันต่าง ๆ ด้วยนะค๊ะ

pall

สวัสดีจ๊ะอร
 สวัสดีจ๊ะเทวี
 สวัสดีจ๊ะสวัสดีค่ะ(อิอิชักงง)
 สวัสดีค่ะคุณตุ้ม
 สวัสดีค่ะทุกๆคน
 
 เป็นทู้ที่น่าสนใจมากและมีประโยชน์จริงๆ
 ที่ทุกคนนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน ยอมรับว่าอยากเข้ามาเขียน
 ให้มากกว่านี้แต่เวลาไม่ค่อยอำนวยเท่าไร
 ขอตอบเทวีก่อนเลยนะไม่มีเวลาตอบคราวที่แล้ว
 
 **คำถามของเทวี**
 ถ้าลูกเราถือพาสไทยตามแม่แต่ว่าไม่ได้แจ้งชื่อในทะเบียนบ้านเพราะไม่ต้องการให้เขาเป็นทหารที่เมืองไทย แล้วลูกไม่ได้บัตรประชาชนไทยนี่ เขาจะมีสิทธ์เหมือนคนไทยทุกอย่างไหมคะ แล้วถ้าแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านแล้วมีหมายทหารเรียกมาเราแจ้งว่าลูกอยู่ต่างประเทศเหตุผลนี้ฟังขึ้นไหมคะ ส่วนตัวเราเองหลังจากถือพาสสวิสด้วยแล้วแต่พาสไทยก็ยังถือ เราจะเสียสิทธิ์บางอย่างที่เมืองไทยไหมคะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ
 
 
 **คำตอบ**
 ถ้าเราไม่ได้ยื่นคำร้องนำชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านในเมืองไทย
 เขาไม่สามารถทำบัตรประชาชนได้
 เพราะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
 ลูกจะมีสิทธิได้ถือแต่Passไทยเท่านั้น
 เขาจะไม่มีสิทธิเทียบเท่าคนไทยที่ถือบัตรประชาชนทั่วๆไป
 ไม่ได้เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์เพราะเขาไม่มีบัตรประชาชน
 ซึ่งมีความสำคัญมาก ซึ่งเรารู้กันอยู่เกี่ยวกับ
 ความสำคัญของบัตรประชาชนที่ต้องใช้
 
 **แต่ถ้าอยากให้เขาเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์**
 โดยการนำชื่อเข้าไปลงในทะเบียนบ้าน
 เขาก็สามารถทำบัตรประชาชนได้และมีสิทธิทำอะไรได้
 ทุกอย่างในเมืองไทยเหมือนคนไทยทุกคน
 
 **ถ้าลูกเป็นผู้ชาย**
 ถ้าครบอายุต้องโดนเรียกไปเป็นทหาร
 นี่คือปัญหาใหญ่สำหรับเด็กผู้ชาย
 ที่เราต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย
 ถ้าเด็กโตและไม่อยากเป็นทหารที่เมืองไทย
 แต่แม่แจ้งชื่อลูกไว้แล้วลูกจะหลีกเลี่ยงไม่ได้
 เมื่อครบเกณฑ์ทหารจะต้องกลับไปเมืองไทย
 อย่าลืมว่าเด็กเกิดที่นี่และโตที่นี่
 ความนึกคิดจะต่างกว่าเรา
 
 **ถ้าถูกเรียกไปเป็นทหาร**
 
 เด็กสามารถขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารได้
 โดยไปขอใบรับรองสถานภาพนักเรียน/นักศึกษา
 จากสถาบันที่เรียนอยู่ (จากที่นี่)
 หลังจากนั้นก็นำไปยื่นต่อสถานทูตไทยที่Bern
 ให้แปลเป็นภาษาไทยและให้สถานทูตไทย
 ออกใบรับรองให้ว่าเด็กยังอยู่ในสภาพนักเรียน/นักศึกษา
 ยังเรียนหนังสืออยู่ และนำใบรับรองของสถานทูต
 ไปยื่นขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารกับหน่วยงานในไทย
 คิดว่าไม่มีปัญหาอะไร
 
 **สำหรับคนไทยที่แต่งงานและถือPassสวิสและไทย**
 เราไม่ได้สละสัญชาติไทยเรายังคงถือสัญชาติไทยเหมือนเดิม
 ดังนั้นเราไม่มีปัญหาอะไรกับการซื้อทรัพย์สินในเมืองไทย
 
 ***แต่........จะแตกต่างกัน.....!!!!!!***
 1.ถ้าเราไม่ได้แจ้งการจดทะเบียนสมรส
 ลงในทะเบียนบ้านที่เมืองไทย
 ชื่อของเราในทะเบียนบ้านยังเป็นนางสาวและ
 บัตรประชาชนยังเป็นนางสาวอยู่
 เราสามารถซื้อบ้านที่ดินได้โดยใช้ชื่อตัวเองได้เลย
 ไม่ต้องมีการยืนยันเกี่ยวกับเงินที่ซื้อ
 หรือความยินอยมจากใคร
 เพราะสถานภาพยังโสดอยู่
 
 2.ถ้าจดทะเบีนนสมรสและแจ้งเข้าลงในทะเบียนบ้าน
 ที่เมืองไทยจะมีสถานภาพเปลี่ยนไปเป็นนาง....
 จะมีปัญหาเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์สิน ในเมืองไทย
 ต้องมีการยืนยันเกี่ยวกับเงินที่นำมาซื้อบ้านหรือที่ดินนั้น
 เป็นทรัพย์สินส่วนตัวหรือสินสมรส ถ้าเป็นสินสมรส
 สามีต้องยินยอมด้วย
 
 **ขอนำคำถามคำตอบจาก**
 
 http://www.dol.go.th/
 
 นำมาให้อ่านน่าสนใจมาก
 เป็นประโยชน์สำหรับคนที่สนใจปัญหาการซื้อบ้านและที่ดิน
 ที่เมืองไทย
 
 **ถาม**
 คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ?
 **ตอบ **
 ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้ คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใส่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ขอให้ผู้นั้นส่งหนังสือยืนยันแก่กรมที่ดินทางไปรษณีย์ได้โดยตรง
 
 *** คนต่างด้าวกับที่ดิน **
 **ถาม **
 คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้เพียงใด ?
 ***ตอบ **
 คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระ*ลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่) นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่
 
 **ถาม **
 คนไทยที่สมรสกับคนต่างชาติจะถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือห้องชุดได้หรือไม่ ?
 **ตอบ**
 ได้ หากว่าการซื้อที่ดิน หรือห้องชุดนั้นเป็นการจัดซื้อเพื่อให้เป็นสินส่วนตัวของตนเอง แต่ทั้งนี้คนไทยผู้ขอซื้อ และคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้อนั้นเป็นสินส่วนตัวของคนไทยผู้ขอซื้อ มิใช่สินสมรส ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลทั้งสองจะจดทะเบียนฯ หรือไม่ก็ตาม
 
 **ถาม**
 บุคคลสัญฃาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างชาติและพำนักอยู่ในต่างประเทศ จะขอซื้อที่ดิน หรือขอรับโอนที่ดิน หรือ ขอซื้อห้องชุด ได้หรือไม่ ?
 **ตอบ**
 ได้
 
 **ถาม**
 ทำอย่างไร ?
 **ตอบ**
 ให้คู่สมรสที่เป็นคนต่างชาติไปติดต่อสถานทูตไทยเพื่อบันทึกถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษร และรับรองว่าบุคคลที่ทำหนังสือรับรองนั้นเป็นคู่สมรสของบุคคลสัญชาติไทยจริง และนำหนังสือรับรองนี้มามอบให้เจ้าพนักงานที่ดินที่จะทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยไม่ต้องใช้สำเนา
 
 
 

เทวี

ขอบคุณป้าพอลกับคุณตุ้มมากๆค่ะ ถึงบางอ้อแล้วตอนนี้ ขอบคุณจริงๆค่ะ ความรู้ทั้งนั้นเลย