ถามผู้รู้ ภาษาเยอรมันKennen, wissen มันต่างกันยังไงคะ

Previous topic - Next topic

เทวี

เทวีเกริ่นไปบ้างแล้วว่าจะเข้ามาสอบถามปัญหาต่างๆ
 เรื่องภาษาเยอรมันที่เทวีไม่เข้าใจและเผื่อคนอื่นไม่เข้าใจด้วย
 เพราะคำบางคำแปลเป็นภาษาไทยได้คำเดียวกัน
  แต่แน่นอนว่ามันไม่เหมือนกัน
 แน่ๆ อย่างเช่นปัญหาวันนี้  
 Kennen, กับ wissen แปลว่า รู้ เหมือนกัน
 แต่ว่ามันไม่เหมือนกันยังไงค่ะ
 รบกวนคนรู้ตอบหน่อยค่ะ  
 เทวีเคยอ่านเจอประมาณว่าตัวไหนสักตัว
 ที่เป็นการรู้ในด้านทักษะต่างๆรู้วิธีการกระทำ
  และอีกตัวหน้าจะรู้จักเฉยๆ แต่ไม่ค่อยเคลียค่ะ
  ช่วยตอบหน่อยนะคะ
  เทวีอาศัยเวปป้าพอลแลกเปลี่ยนความรู้ด้านภาษา
 เพราะยังซะแล้วคนไทยด้วยกัน
 แปลให้กันเองฟังย่อมดีกว่าคนภาษาอื่นแปลให้แน่นอน  
 

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0001 ห้อง learning_german (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

เทวี

มาเพิ่มคำถามอีกสัก2-3คำถามนะคะ  
 
 **abholen-holen **
 
 แปลว่ารับเหมือนกันหรือต่างกันยังไง
 มีวิธีสังเกตุไหมเวลาพูด  
 anschalten-ausschalten-einschalten  
 คำพวกนี้แปลว่าเปิด-ปิด  
 และใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออย่างไรคะ  
 zumachen-aufmachen
 อันนี้ก็แปลว่าเปิดกับปิดอีกเหมือนกัน
 แต่ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช่ไหมเอ่ย  
 schliessen-offen  
 นี่ก็เปิด-ปิดอีก มันหลายเปิดหลายปิดดีจังงงเลย
 เราภาษาไทยมีแค่เปิดกับปิดเทวีเลยงงเต็กค่ะ  
 
 และอีกตัวอย่าง  
 
 Ex.Bitte die Türe zumachen.  
 Bitte die Türe schliessen,
 สองข้อความเนี้ยแปลเหมือนกันหรือต่างกันยังไงคะ  
 รบกวนผู้รู้ตอบหน่อยนะคะ  
 คิดว่าเป็นวิทยาทานให้ผู้ที่ยังไม่รู้ทุกคน ขอบคุณค่ะ
 

st.gallen

kennen แปลว่า รู้จัก เช่น Ich kenne dich  
 wissen แปลว่า รู้ เช่น Ich weiss,dass du kommst(ฉันรู้ว่าคุณมา)

ตุ้ม

คุณ Pall คอมยังป่วยอยู่นะคะ
  ขอตอบแทนแบบงูๆปลาๆแบบคนสวิสฝรั่งเศสก็แล้วกัน  
 ถ้ามีผู้มีความสามารถที่อยู่ทางด้านสวิสเยอรมันมาช่วยอธิบายเพิ่มเติมก็จะดีมากค่ะ  
 
 kennen = รู้จัก to know, be aware of, be acquainted with  
 wissen = รู้แล้ว knowledge, known for certain  
 abholen = เอา to get thing that you know it is there  
 holen = เอา to get, fetch  
 anschalten = เปิดไฟ turn on (electric)  
 ausschalten = ปิดไฟ turn off (electric)  
 einschalten = เปิดไฟ switch on (electric)  
 zumachen = ปิดไฟ close  
 aufmachen = เปิด open (door, window)  
 schliessen = ปิด(ดัวยกุญแจ) lock (door, window)  
 offen = เปิด open (general)  
 Bitte die Türe zumachen = โปรดปิดประตู Please close the door  
 Bitte die Türe schliessen = โปรดปิดประ*ัวยกุญแจ Please lock the door

ศักดา

สวัสดีครับคุณเทวี สบายดีหรือเปล่าครับ  
 เป็นอย่างไรบ้างเรียนสนุกใหมครับ  
 เรียนภาษาก็อย่างนี้ละครับ  
 ยิ่งเรียนยิ่งมีปัญหามาให้แก้เสมอ  
 สองคำนี้บ่อยครั้งที่ผมใช้ผิดเหมือนกัน
  เพราะว่าบ้างครั้งก็ลืมๆไปเหมือนกันว่าใช้อย่างไร  
 เพราะว่าศัพท์เยอะเหลือเกิน  
 จนบ้างครั้งก็ไม่อยากจะจำก็มี  
 สู้สู้นะครับ ถ้าว่างจะมาตอบคำถามที่เหลือต่อนะครับ  
 
 **kennen VS wissen **
 
 จะเห็นได้ว่าคำสองคำนี้
 มีความหมายคล้ายคลึงกันมากเลยนะครับ
  ผมหวังว่าคำอธิบายช้างล่างนี้เกี่ยวกับการใช้
 คงจะช่วยให้คุณ เทวี กระจ่างชึ้น  
 ทั้งหมดนี้แปลมาจาก ดิก Langenscheidts Grosswörterbuch Deutsch als Fremdsprache  
 ที่ผมได้ไปค้นและก็คว้ามาให้อ่านนะครับ  
 jemanden ตามด้วย Akkusativ และ jemandem  
 ตามด้วย Dativ บุพบท von + Dativ an,
  über ใช้ได้ทั้ง สองอย่างท Akk. und Dativ แล้วแต่ประโยค  
 
 NB: kennen betont die Kenntnisse,  
 die man aus persönlicher Erfahrung hat กริยา
  kenn ใช้กับ สิ่งที่เราได้รู้และประสพด้วยตัวเอง,  
 bei wissen geht es um Informationen,  
 die man auch z.B. aus Büchern hat  
 กริยา wissen ใช้กับสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากสื่อต่างๆ
  ที่ได้รับมา เช่นจาก หนังสือ เป็นต้น:  
 Ich weiß den Weg  
 (ich habe auf der Karte nachgesehen)  
 ฉันรู้ทาง (เพราะว่าได้ดูจากแผนที่แล้ว) ;  
 
 Ich kenne den Weg (hier war ich schon mal)
  ฉันรู้จักทาง (เพราะว่าฉันได้ผ่านมาแล้ว)  
 
 ken

ศักดา

สวัสดีอีกครั้งครับ คุณเทวี  
 วันนี้พอว่างหน่อยเลยได้ค้นศัพท์ที่ ที่เหลือ
  มาอธิบายให้อ่าน นี้คัดมาจากดิกไทยครับ  
 ดิกนี้น่าสนใจดีครับ มีคำอธิบายนับว่าดีที่เดียวเลยละครับ เป็นหนังสือพึ่งออกใหม่เมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง  
 มีคำอธิาบายเป็นภาษาไทย และ เกี่ยวกับแกรมม่าภาษาเยอรมัน ด้วยพอทำให้เข้าใจหลายอย่างเลยละครับ  
 ชื่อหนังสือนะครับ
  Wörterbuch Deutsch-Thai  
 ผู้แต่ง Josef Rohrer ของสำนักพิมพ์ หน้าต่าสู่ภาษา WOW Windows on Languages
  หาซื้อได้ที่ห้างขายหนังสือใหญ่ๆครับ
  ที่นี่ก็มีขาย หรือว่าถ้าไปเมืองไทยน่าลองซื้อมาเก็บไว้  
 เล่มขนาดใหญ่และหนักพอสมควรครับ  
 บ้านผมจะเป็นห้องสมุดอยู่แล้ว
  เพราะว่าบ้างครั้งหาคำแปลในดิกไทยไม่มี
 ก็ต้องหากับดิก เยอรมัน อีกที
 และค่อยเทียบกับ ดิกเคลื่อนที่ แปลให้ฟังอีกที...  
 อันนี้ไม่หวงลิขสิทธิ์นะครับ  
 
 abholen, holte ab, hat abgeholt  
 abholen, jemanden holt etwa ab,  
 
 กริยานี้แปลได้ทั้ง สองอย่าง คือ มารับ /ไปรับ  
 Ich möchte meine Fotos abholen.
  ผมจะมารับรูปครับ  
 
 Ich gehe meine Fotos abholen.  
 ผมจะไปรับรูป  
 
 Ich hole ihn vom Bahnhof ab.  
 ฉันไปรับเขาที่สถานีรถไฟ  
 
 holen, holte, hat geholt  
 
 1 jmd. holt etwas/ holt sich (dativ) etwas.  
 ไปเอา/ไปซื้อ  
 Ich hole ein Glas Wasser.  
 ฉันไปเอาน้ำหนี่งแก้ว  
 
 2. jmd. holt jmdn. ไปตาม(เขา)มา  
 Sie müssen den Arzt holen.
  คุณจะต้องไปตามหมอมา  
 
 anschalten, schalte an, hat angeschaltet + Akk.  
 1.jmd. schaltet etwas an.  
 (den Fernseher, das Licht, das Radio)  
 เปิด (เปิดไฟ, วิทยุ,โทรทัศน์) กริยาที่ใช้แทนกันได้ anmachen, einschalten.  
 
 ausmachen, machte aus, hat ausgemacht  
 1jmd. macht etwas aus ดับไฟ/ ดับบุหรี่  
 1.2 ปิดไฟ กริยาที่ใช้แทนกันได้ในความหมายนี้ ausschalten  
 1.3 ขุดมันฝรั่ง  
 1.4 เห็น/ ดู Ich kann nicht ausmachen, was das ist. ผมเห็นไม่ชัด/ดูไม่ออกว่ามันคื่ออะไร  
 (ประโยคนี้คือศัพท์ระดับที่ เรียกว่าสูงครับ
  เพราะใชัคำง่ายๆ ก็ sehen  
 2. Personen machen etwas miteinander aus  
 กำหนดไว้/ บอกกันไว้/นัดวัน/นัดสถานที่  
 3. Personen machen etwas unter sich
  ตกลงกัน  
 Bitte macht das unter euch aus.  
 ไปตกลงกันเอาเองแล้วกัน  
 4. ใช็เป็นคำถามแบบสุภาพ  
 Macht es Ihnen etwas aus, wenn…  
 จะรังเกียจไหมที่ผม/ฉันจะ  
 4.1Macht es Ihnen etwas aus, wenn ich rauche?
  คุณจะรังเกียจไหมครับที่ผมจะสูบบุหรี่  
 4.2 Macht es Ihnen etwas aus,
  wenn ich Sie am Sonntag anrufe?  
 จะเป็นการรบกวนไหมครับที่ผมจะโทรหาคุณในวันอาทิตย์  
 
 zumachen, machte zu, hat zu gemacht
  กริยาตรงกันข้าม aufmachen  
 1ปิด ประตู หน้าต่าง  
 Würden Sie bitte (die Tür) zumachen
  ปิดประตูหน่อยได้ใหมคร้บ  
 2. หุบ ร่ม  
 Du kannst (den Schirm) zumachen.  
 หุบร่มได้  
 
 schliessen, schloss, hat geschlossen  
 1. etwas schliesst  
 1.1 เลิก(ประชุม/ กิจการ)
 Die Versammlung schloss um 11 Uhr.  
 การประชุมเลิกเมื่อเวลาสิบเอ็ด โมง  
 1.2 ปิด (ร้าน/เวลาทำการ)  
 An Sonn- und Feiertagen geschlossen.  
 ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ  
 2. ปิด (ประตู )  
 eine Tür schliess nicht richtig.  
 ประตูปิดไม่สนิท  
 

ศักดา

คิดว่าคุณเทวี เริ่มเรียนเกี่ยวกับคำกริยา
 ที่แยกตัวเองได้ อยู่นะครับ  
 ความพิเศษของภาษาเยอรมันอยู่ตรงนี้ละครับ  
 สามารถ มีคำอุปสรรค (Präfik) มาเติมกริยาได้  
 แล้วความหมายก็เป็นไปจากกริยารูปเดิมด้วย
  การเขียนประโยคนั้นก็ต้องผันไปตามกฎที่เขาวางไว้
  เขียนผิดความหมายก็เปลี่ยนไปด้วย  
 แต่เราก็พอที่จะเดาความหมายจากคำกริยารูปเดิมได้
 อยู่โดยส่วนมากในบางครั้ง  
 คำประเภทนี้ผมคิดว่าภาษาไทยก็มีนะครับ
  แต่ว่าเป็นกริยาที่ต่อด้วยกริยา เช่น  
 ไปมา พาไป ไปรับ ไปส่ง รับส่ง ขึ้นลง ลงมา ไล่ส่ง  
 ภาษาเราบางครั้งเรานึกไม่ถึงเหมือนกันนะครับว่า  
 แกรมม่าบ้านเราก็ยากเช่นกัน  
 เวลาฝรั่งเรียนภาษาไทยเขาก็จะงงๆ เช่นเดียวกันครับ  
 โดยเฉพาะการออกเสียง  
 
 ดีครับที่คุณเทวีตั้งกระทู้ถาม  
 ทำให้ผมได้ทบทวน ในตัวเองได้เยอะเลยทีเดียว
 ในการค้นคว้า เพราะบางอย่างผมก็ลืมๆ ไปบ้างเช่นกัน  
 
 กริยาที่คุณเทวีตั้งคำถามนั้นอยู่ในจำพวก
  กริยาที่แยกตัวได้ และ แยกตัวไม่ได้  
 (Trennbare und untrennbare Verben)  
 กริยา ตอนนี้ก็เพิ่มมาอีก สองตัวแล้ว  
 หลังจากที่เราเคยคุ้นเคยกับกริยาธรรมดา  
 
 กริยาที่ว่านี้มีอยู่สามกลุ่มครับ  
 อันนี้คัดมาแต่ที่สำคัญๆ ไว้เป็นพื้นฐาน  
 กลุ่มที่หนึ่ง เป็นกริยาที่ขึ้นต้นด้วยคำอุปสรรค เหล่านี้
 จะแยกตัวได้ เวลาเขียนประโยค  
 คือการนำคำอุปสรรคไว้ท้ายประโยค  
 ใน ปัจจุบัน และ อดีตช่องสองจะเติม ge
  (ยกเว้นบ้างตัว เวลาเปิดดิก ก็ต้องดูการผันด้วยควบคู่กันไป)  
 Der Unterricht fängt um 9.00 Uhr an.  
 เวลาเรียนเริ่มเวลา 9.00 น.  
 
 Der Unterricht hat um 9.00 Uhr angefangen.
  เวลาเรียนได้เริ่มแล้ว ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ที่ผ่านมา  
 
 กลุ่ม กริยา1
  ab-, an-, auf-, aus-, bei-, ein-, fest-, her-, hin-, los, mit-, vor-, weg-, zu-, zurück-, zusammen-  
 
 กลุ่ม กริยา2 อันนี้แยกไม่ได้  
 be-, ent-, ge, ver-, emp-, er-, miss-, zer-  
 
 กลุ่ม กริยา3 อันนี้ได้ทั้งสองแบบ  
 แล้วแต่ว่าเราจะสื่อความหมายอะไร  
 (ท่องจำดีที่สุดครับจะได้ใช้ถูก  
 อันนี้ชอบออกข้อสอบบ่อยครับ)  
 durch-, hinter-, über-, um-, unter-, voll-, wider-, wieder-

เทวี

ขอบคุณอาจารย์ศักดาเป็นอย่างยิ่งค่ะ  
 เทวีได้ความรู้เพิ่มอีก5ตั้งใหญ่เลย  
 ได้เห็นได้อ่านได้ผ่านตาแบบนี้
 คิดว่าไม่นานคงเรียนดีขึ้นแน่ๆค่ะ  
 เทวีเพิ่งเรียนคอร์สพื้นฐานคอร์สแรกจากโรงเรียนจบค่ะ
 เรียนภาษาเยอรมันจริง
 ก็ประมาณ4เดือนที่โรงเรียน
 ที่เหลือก็เรียนเองงูๆปลา
 เพราะมาอยู่ยังไม่นานค่ะเพิ่งได้11เดือนเอง
 แต่ก็เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  
 หาเรียนทางเวปไซค์ก็มีหลายเวปที่ช่วยๆกันแปล  
 แต่ที่เข้าใจที่สุดก็อาจารย์ศักดาแห่งเวปป้าพอลนี้ละค่ะ
 ขอบคุณมากค่ะ  
 และฝากท้ายไว้ให้ช่วยแปลอีกหนึ่งประโยคนะคะ  
 
 Nicht der trägt die Schuld, dessen PKW im Halteverbot steht, sondern der auf den PKW auffährt  
 
 เทวีแปลเอาเองว่า
  มันไม่ใช่ความผิดของผุ้โดยสารคนนั้น
 ที่ไปยืนในที่ห้ามจอด แต่รถนั้นขับมาชนต่างหาก  
 
 เทวีแปลก็พอทำให้ตัวเองเข้าใจบ้าง
 แต่ก็งงกับกริยา Genitiv ค่ะ
  เพราะยังไม่ได้เรียนสักเท่าไร  
 และก็งงๆกับคำเรียกนามนั้นซ้ำในรูปGenitiv  
 ขอบคุณอีกหลายครั้งค่ะ
 

ศักดา

สวัสดีครับคุณเทวี ด้วยความยินดีครับ  
 ที่มีส่วนทำให้คุณเทวีพอเข้าใจ
 เกี่ยวกับแกรมม่าเยอรมันขึ้นมาอีกนิด  
 คำถามที่คุณถามมานั้น แปลเกือบถูกแล้วละครับ  
 พอดีถามดิกเคลื่อนที่ดู เขาแปลให้ฟังดังนี้ครับ  
 
 Nicht der trägt die Schuld,  
 dessen PKW im Halteverbot steht,  
 sondern der auf den PKW auffährt  
 
 /มันไม่ใช้ความผิดของเจ้าของรถ
 คันที่จอดอยู่ในที่ห้ามจอด  
 ทว่าเป็นความผิดของเจ้าของรถที่ขับมาชน/  
 
 เกี่ยวกับคำศัพท์และการเรียงประโยคเช่นนี้
 จะพบบ่อยมากครับใน หนังสือราชการ  
 หรือตัวบกฎหมาย และหนังสือพิมพ์
 ที่แน้นวิชาด้านวิชาการ ต้องอ่าน  
 และต้องวิเคราะห์แกรมม่า
 และประโยคด้วยว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรถึงจะเข้าใจ  
 ศัพท์ในประโยคที่คุณทีวีอาจจะไม่รู้ก็คือ
 คำย่อของ PKW คือ Personenkraftwagen DE  
 แต่ที่สวิสจะไม่ใช้  
 ที่นี่จะเรียกเพียงว่า Auto หรือ Fahrzeug  
 คำตรงข้ามกันก็คือ DE - Lastwagen  
 รถบรรทุกหนัก Pkw  
 CH บางทีก็ใช้ Camion  
 ครับผมจะอธิบายและแยกแยะประโยค
 ที่คุณถามเลยนะครับว่ามีไรบ้าง  
 
 Nicht der trägt die Schuld,  
 dessen PKW im Halteverbot steht,  
 sondern der auf den PKW auffährt.  
 
 ในประโยคแรก มีประธานที่ไม่เอ่ยชื่อ
 คือใช้ der (Pronomen สรรพนาม) คั่นด้วย ,  
 ต่อด้วย ประพันธ์สรรพนาม  
 dessen (Relativpronomen Genitiv(สัมพันธการก))  
 คั่นด้วย , และท้ายสุดต่อด้วย สันธาน  
 sondern (ประโยคเชื่อม).  
 แยกอีกตามหลักการเขียนประโยคคือ  
 HS+HS+NS  
 (ประโยคหลัก+ประโยคหลัก+ประโยคเชื่อม)  
 
 การผันสรรพนาม  
 (Pronomen mit engender Deklination)  
 นั้นก็เช่นเดียวกับการผันคำนำหน้านำ
  ที่ผันตามกรรม Nom. (กรรตุการก),  
 Akk. (กรรมตรง), Da.(กรรมรอง)  
 G.(สัมพันธ์การก)  
 วันนี้ขอตอบเกี่ยวกับ Genitiv เริ่มเลยนะครับ
 ตามการแต่งประโยค  
 
 1. Subjekt. ประธานในประโยค Wer oder was...
 ใคร หรือ อะไร?  
 Ich arbeite.  
 Harry schläft. Der Lehrer (ประธาน)  
 lobt den guten Schüler.  
 
 2. Prädikat แสดงการกระทำ Was tut...?
  Ich arbeite. Harry schläft.  
 Der arme Hund wird gebadet.  
 (Was wird vom Subjekt ausgesagt?)  
 
 3. Objekt กรรม ขายประธาน  
 3.1 Akkusativ-Objekt Wen oder was...?
  ใคร หรืออะไร?(eng. wohm)  
 การใช้ก็ต้องดูตามกริยาด้วยว่าใช้กับกรรมอะไร  
 Der Lehrer lobt den guten Schüler.  
 ครูชมเด็กนักเรียนที่ดี  
 การตั้งคำถาม Wen lobt den Lerhrer?  
 
 3.2 Dativ-Objekt Wem...?  
 แก่ใคร? (eng. to wohm)  
 Ich schenke meinem Freund ein Buch.  
 ฉันให้หนังสือแล่มหนึ่งแกเพื่อนของฉัน  
 Wem schenke ich ein Buch?  
 schenken + Dativ  
 
 3.3 Genitiv-Obj. Wessen...?
 ของใคร (eng. whose)  
 Wir gedenken der Toten.  
 เราร่วมไว้อาลัยแก่ผู้ตาย  
 gedanken+Genitiv  
 
 การใช้กรรมตัวนี้มีหลายแบบ เช่น
  กริยาที่จะต้องใช้กับ Genitiv. อย่างเดียว  
 หรือ ว่าเราจะแสดงความเป็นเจ้าของของ  
 ประธาน หรือกรรมตรง เช่น  
 Das ist ein Auto meiner Mutter.
  นั่นคือรถของแม่ฉันเอง
 และ อีกอันก็ใช้กับบุพท(Präposition)  
 ที่ต้องตามด้วย Genitiv เช่น anlässlich  
 เนื่องในโอกาส, während ระหว่าง,  
 ausserhalb นอกจากนี้,
  infolge เนื่องด้วย ตามด้วย,  
 aufgrund ด้วยเหตุนี้, wegen เกี่ยวกับ เนื่องจาก เพราะ /  
 
 ประโยค Nicht der trägt die Schuld,
  dessen PKW im Halteverbot steht,  
 sondern der auf den PKW auffährt.  
 ขอให้คุณเทวี สังเกตุนะครับว่า  
 ประโยคที่ขยายประธานและประโยคเชื่อมนันกริยา
 จะอยู่ท้ายประโยคเสมอ  
 
 การผันประโยคสัมพัน
  Relativsätze ตาม Nom. Akk. Dat. G.  
 นั้นการหาดูได้ในหลักแกรมม่า  
 เพราะว่ามีหลายรูปแบบ เกรงว่าจะทำให้งงไปเสียเปล่าๆ
  เลยไม่นำมาแสดงนะครับ  
 ประโยคเหล่านี้นับผมคิดว่ายากมากครับ
  แต่ก็ไม่เกินความสามารถนะครับ  
 ข้างล่างนี้คื่อคำอธิบายของประโยคที่คุณเทวี ตั้งมา  
 
 Relativsätze mit dem Relativpronomen im Genitiv  
 1. Das Relativpronomen im Genitiv
  ist ein Ersatz für ein Genitivattribut:  
 สัมพันธการก นี้ใช้แทนบทขยายนาม  
 die Räume der Bibliothek ห้องในห้องสมุด
  — deren Räume (wessen Räume?)  
 die Motoren der Busse  
 เครื่องยนต์ของรถบัส
 — deren Motoren(wessen Motoren?)  
 
 2. Das Substantiv nach  
 dem Relativpronomen  
 im Genitiv wird ohne Artikel gebrucht;  
 also werden auch die folgenden Adjektive artikellos dekliniert:
  คำนามเชื่อมด้วยสัมพันธ์การก
 ไม่ต้องใช้คำนำหน้านาม
  หรือว่าถ้าต่อด้วยคุณศัพท์ที่ไม่มีคำแสดงเพศ  
 ผันดังเช่น ประธาน Nom. (กรรตุการก)  
 ข้อนี้อย่างพึ่งงงนะครับ
  ระดับเยอรมันเบื้องต้นจะยังไม่เรียน  
 นำมาแสดงให้เพื่อทราบเฉยๆ  
 
 Der Turm, dessen feuchtes Fundament.  
 ฐานที่ชึ้นของ หอคอย  
 Die Busse, deren alte Motoren…
 เครื่องยนต์อันเก่าของรถบัสเหล่านั้น  
 
 3. Das Relativpronomen im Genitiv richtet sich
  in Genus und Numerus nach dem Substantiv,  
 auf das es sich bezieht.  
 Der Kasus des folgenden aritkellosen  
 Substantivs häng von der Struktur des Relativsatzes ab.
  ประโยคสัมพันธ์การก จะผันตามเพศ
 และ จำนวน ของคำนาม ที่จะขยายความ  
 การของคำนามที่ไม่แสดงเพศนั้น
 ขึ้นอยู่กับรูปแบบของประโยคสัมพันธ์ที่ใช้แสดง  
 Das Gebäude(Nom. sg.),
  dessen Keller man renovieren will..,  
 (Man will den Keller des Gebäudes renovieren.  
 คนคิดจะปรับปรุงซ่อมห้องใต้ดินของตึกนี้)  
 
 Wir lieben das alter Haus(Akk. sg.),  
 dessen Bewohnern (Dat. Pl.)  
 eine Räumungsklage droht.  
 (Den Bewohnern des altes Hauses  
 droht eine Räumungslage  
 ผู้คนที่อาศัอยู่ในตึกเก่าหลังนี้จะถูกบังคับให้ย้ายออก)  
 
 ตอนที่ผมเรียนใหม่ๆนั้นเคยแปลหลักแกรมม่าทุกตัวเป็นภาษาไทยหมด  
 แต่ไม่เข้าใจเพราะๆไม่เคยเรียนภาษาต่างประเทศ
 เป็นเรื่องเป็นราว เลย
 ตัวแก้ปัญหาด้วยจำการผันทุกตัวเป็นเยอรมันหมด  
 ไม่ต้องแปลสองรอบ  
 ทำให้จำได้และเข้าใจดีกว่าที่จะแปลหลักแกรมม่า  
 เลยมีเวลาไว้แปลศัทพ์และกริยาดีกว่า ง่ายกว่าด้วย  
 ถ้าคุณเทวีจะนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็ได้นะครับ  
 
 เดี๋ยวพรุ่งนี้ถ้าว่างจะนำประโยคการเชื่อม  
 nebensätze มาอธิบายอีกที่  
 เพื่อจะได้รู้ว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร  
 
 **แก้**
 DE - Lastwagen รถบรรทุกหนัก LKW - CH บางทีก็ใช้ Camion  
 ความหมายเหมือนกันครับ  
 

ศักดา

สวัสดีครับคุณเทวี
  ขอบคุณ คุณเทวีมากเลยครับ  
 ที่ให้เกียรติเรียกอาจารย์  
 แหมผมยังไม่เก่งขนาดนั้นหรอกครับ  
 คิดว่าคงจะมีคนอื่นที่แก่งกว่าผมเยอะเลย
 ที่เขาไม่แสดงออก  
 ผมความรู้พอไปวัดไปวากะเขาได้
  พอที่จะช่วยได้ก็ช่วยด้วยความเต็มใจครับ
  เรียกผมตามอายุว่า พี่ ก็ได้ครับ  
 คิดว่าคุณเทวียังคงไม่ถึง สามสิบนะครับ  
 วันนี้ก็เอา แกรมม่า เกี่ยวกับ อนุประโยคมาฝาก
  เพราะเกียวเนื่องกันกับตอนที่แล้ว  
 หวังว่าคุณเทวีคงจะพอเข้าใจระบบของอนุประโยค
  ในรูปแบบต่างๆ ของภาษาเยอรมันบ้างนะครับ
  คิดว่าคุณเทวีคงจะมีพื้นฐานภาษาอังกฤษมาแล้วนะครับ
  แกรม่าไม่ต่างกันเท่าไรหรอกครับ
  เพราะว่ารากศัพท์ภาษา  
 จาก Indoeuropäer คือมี German
  และ Englisch เช่นเดียวกัน  
 ถ้าไม่มียิ่งดีเราจะได้ไม่ต้องแปลแบบยกกำลังสอง  
 ให้สมองทำงานหนัก...  
 
 แกรมม่านี้คัดและแปลมาจาก  
 เว็บนี้ครับเขาอธิบายดีมากเลยครับ  
 เป็นภาษาเยอรมันล้วน
  ที่ผมนำมาแปลให้อ่านอีก(ตามความสามารถ  
 ตกหล่นอย่างไรขออภัยด้วย)  
 ถ้าคุณเทวีสนใจก็เปิดอ่านได้นะครับ  
 ไม่เข้าใจตรงไหน หรื่อมีคำถามอีก
  ก็โพส์ ถามแล้วกันนะครับ  
 http://members.aol.com/UdoKlinger/Inhalt.html  
 
 แต่คำุเทวีอย่างมัวแต่ท่องแกรมม่าอย่างเีี่ดียวนะครับ  
 ต้องฝึกทักษะอื่นควบคู่กันไปด้วย ดู ฟัง พูด
 (สำคัญที่สุด อย่าอาย ผิดถูกไม่เป็นไร
  คุยกับเจ้าของภาษา ดีที่สุด ไม่เข้าใจก็ถามเลย)  
 อ่าน เขียน  
 ยิ่งถ้านอนหลับฝันเป็นภาษาเยอรมันได้ละ
 ก็ ถือว่ามาถูกทางแล้วละครับ
 ในการเรียนภาษาต่างประเทศ ครูฝรั่งที่สอน
  เคยบอกมาอย่างนี้ครับ  
 
 Nebensätze  
 ประโยคเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่าง
 อนุประโยคพื้นฐานนะครับ  
 ถ้าคุณใช้ได้คล่องละก็จะเป็นการดีมากเลย  
 ที่จะสามารถพลิกผันประโยคให้ได้สละสลวย น่าอ่าน  
 1. Konjunktionalsätze  
 ประโยคสันธาน (ประโยคเชื่อม)  
 Nebensatztyp eingeleitet durch unterordnende Konjunktionen  
 ประโยคข้างล่างเหล่านี้  
 ที่ต่อจากประโยคหลักนั้น
 ส่วนมากจะสังเกตหรือเขียนได้ดังนี้นะครับ:  
 1.1 Temporalsatz ประโยคที่เน้นเวลา (Zeitsatz)  
 als เมื่อ, während ระหว่าง, seit ตั้งแต่,  
 seitdem ตั้งแต่, solange ระหว่างที่ ตราบใดที่,  
 sobald ที่จะมาถึง (เร็วๆนี้)  
 ในประโยคสันธานนี้ที่ทำหน้าที่เป็นอนุประโยค
  คือให้ความสำคัญกับเวลาก่อน
  และต่อจากนั้นก็ตามด้วยประโยคหลัก
  แต่ว่ากริยาขึ้นก่อน แต่ถ้าผู้เขียนไม่แน้นความสำคัญ
 ที่เวลาจะสลับตำเหน่งก็ได้ถือว่าไม่ผิดเช่น  
 Ich hatte viel mehr Freizeit, als ich noch zur Schule ging.
  แต่ในประโยคนี้จะไม่สละสลวยเท่านั้นเอง  
 Als ich noch zur Schule ging, hatte ich viel mehr Freizeit.  
 เมื่อตอนฉันยังไปโรงเรียนอยู่ ฉันมีเวลาว่างมากเลย
  (ตอนนี้อาจจะทำงานแล้วนะ เลยไม่ค่อยมีเวลา)  
 
 Während wir einkaufen waren, wurde bei uns eingebrochen.  
 เมื่อเวลาที่ผ่านมา ระหว่างที่พวกเรากำลังซื้อของอยู่ บ้านของเราถูกโดนงัด  
 
 Seitdem er verheiratet ist, kommt Theo nicht mehr zum Skatabend.  
 ตั้งแต่เขาแต่งงาน Theo ไม่มาร่วมเล่นไผ่
  (เกมแล่นชนิดหนี่งชื่อ Skat) ตอนเย็นอีกเลย  
 
 Solange man im Glashaus sitzt, soll man nicht mit Steinen werfen.  
 ตราบใดที่ คนเรานั่งอยู่ในบ้านกระจก
  คนเราไม่ควรที่จะข้างด้วยหิน(เพื่อที่จะทำลายมัน)  
 
 ประโยคนี้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ คล้ายคำพังเพยบ้านเรานั้นละ คล้ายกันๆ อย่ากินบนเรือน ขี้บนหลังคา หรื่อว่า อยู่บ้านท่านที่ให้ที่อยู่อาศัย อย่าได้ทำลายท่าน ให้รู้คุณท่าน  
 
 1.2 Konditionalsatz (Bedingungssatz)
 อนุประโยคที่แสดงเงื่อนไข  
 wenn, falls  
 ถ้า กริยา จะอยู่ท้ายเสมอในประโยคสันธานนี้
 ที่ทำหน้าที่เป็นอนุประโยค  
 และต่อจากนั้นก็ตามด้วยประโยคหลัก  
 แต่ว่ากริยาขึ้นก่อน แต่ถ้าเราจะเขียนแบบที่บอกข้างต้นนี้
 ก็ได้ แล้วแต่ว่าจะพลิกผันอย่างไร เพื่อที่จะให้สละสลวย  
 
 Ich lasse die Ware wieder abholen, falls sie bis zum Ende des Monats
 (Genitivแล้วนะครับ ขยายคำว่าสิ้น ของเดือนนี้)
  nicht ihre Rechung bezahlen.  
 
 Falls Sie bis zum Ende des Monats nicht ihre Rechnung bezahlen, lasse ich die Ware wieder abholen.  
 ถ้าหล่อนไม่จ่ายบิลจนถึงสิ้นเดือนนี้ ฉันก็จะไปรับของนั้นกลับมาคืน  
 
 Wenn ich mal gross bin, werde ich Rennfahrer.  
 ถ้าฉันโตขึ้น ฉันอยากที่จะเป็นคนขับรถแข่ง  
 
 1.3 Kausalsatz (Begründungssatz)  
 ประโยคสัมพันธที่เชื่อมสาเหตุ  
 weil, da เพราะว่า เวลาถามก็ต้อง warum  
 ถึจะต้องว่าทำไม เพราะว่าเหตุใด  
 
 กริยา จะอยู่ท้ายเสมอในประโยคสันธานนี้
 ที่ทำหน้าที่เป็นอนุประโยค
  และต่อจากนั้นก็ตามด้วยประโยคหลัก
  แต่ว่ากริยาขึ้นก่อน  
 แต่ถ้าเราจะเขียนแบบที่บอกข้างต้นนี้ก็ได้
  แล้วแต่ว่าจะพลิกผันอย่างไร เพื่อที่จะให้สละสลวย  
 
 Sie kommt erst heute Abend an, weil sie den Zug versäumt.  
 อันนี้ก็จะแปลว่า ที่หล่อนมาถึงเย็นวันนี้  
 ก็เพราะว่าเมื่อวานหล่อนตกรกไฟ  
 Weil sie den Zug versäumt hat, kommt sie erst heute Abend an.  
 เพราว่า (เมื่อวาน)หล่อนตกรถไฟ  
 หล่อนเลยมามาเย็นถึงเย็นวันนี้
 (ละไว้ในฐานที่เข้าใจ คื่อ แทนที่จะถึงตั้งแต่เมื่อวานแล้ว)  
 
 Ich habe die Prüfung bestanden,  
 da ich gut vorbereitet war.
 ฉันได้สอบผ่านแล้ว เพราะว่าฉันเตรียมตัวดี  
 
 1.4 Konzessivsatz (Einräumungssatz)
  ประโยคขัดแย้ง  
 กริยา จะอยู่ท้ายเสมอในประโยคสันธานนี้
 ที่ทำหน้าที่เป็นอนุประโยค  
 และต่อจากนั้นก็ตามด้วยประโยคหลัก  
 แต่ว่ากริยาขึ้นก่อน  
 obgleich, obschon, wennschon, auch wenn
  ถึงแม้ว่า ก็ตามแต่  
 
 Ich glaube dir nicht
  (ประโยคธรรมดา กริยาอยู่ตำแหน่งที่สอง),  
 auch wenn du es noch so beteuerst .  
 (อนุประโยค กริยาอยู่ตำแหน่งสุดท้าย)
  ฉันไม่เชื่อแกหรอก ถึงแม้ว่าแกจะย้ำในสิ่งนั้นก็ตามแต่  
 
 Obgleich du so reich bist, glücklich  
 (คุณศัพท์ อันนี้เป็นตำแหน่ง 0) bist du nicht.  
 ถึงแม้ว่าแกจะรวยมากก็ตามแต่ แกก็หาใช่ว่าจะมีความสุข  
 
 
 1.5 Konsekutivsatz (Folgesatz)  
 ผลที่ตามมา  
 dass ว่า, so dass อย่างว่า, ohne dass  
 ถึงแม้ว่า  
 
 Es ist so kalt, dass die Fenster zufrieren.  
 มันหนาวมาก จนกระทั้งหน้าต่าง เย็นจับเป็นน้ำแข็ง  
 
 Der Jäger schoss auf das Reh, ohne dass er es traf.  
 นายพรานได้ยิงกวาง ตัวนั้น แต่ก็หาได้โดนไม่  
 อันนี้ก็เป็นประโยคธรรมดานะครับ  
 คือมีประโยคหลักขึ้นก่อนกริยาอยู่ตำแหน่งที่สอง  
 และตามด้วยอนุประโยค กริยาอยู่หลังสุด  
 
 1.6 Finalsatz (Absichtssatz)  
 ประโยคแสดงความตั้งใจ หรือผลคาดหวังที่ตามมา  
 damit เผื่อที่ว่า หวังว่า, dass ว่า , auf dass หวังว่า  
 
 Ich lerne die Vokabeln, damit ich den morgigen Test bestehe.
 ฉันเรียนคำศัพท์ ด้วยความหวังว่า
 ที่ทำข้อสอบพรุ่งนี้ให้ผ่าน  
 
 Wir müssen Vorsorge treffen dass der Staat keine Schulden macht.  
 พวกเราต้องระวังดูแล(ในการใช้จ่ายของประเทศ)
  เพื่อที่ประเทศจะได้ไม่ก่อหนี้  
 
 Vorsorge treffen  
 อันนี้เป็นสำนวนที่ใช้คู่กัน  
 จะพบบ่อยให้หนังสือวิชาการ  
 กริยาจะเป็นเพียงตัวเสริมไม่มีความหมายอะไร
  แต่จำเป็นต้องใช้คู่กัน  
 นำมาอะธิบายให้อ่านเฉยๆ  
 เพราะว่าอาจจะเคยผ่านตามาบ้างก็ได้  
 
 1.7 Modalsatz (Art- und Weisesatz)
  อย่างไร (การกระทำของประธาน โดยใช้ หรือหวังอะไร)  
 indem อย่างไร;  
 dadurch dass ผ่านอย่างไร,
  ohne dass หาไม่  
 
 Der Tiger fängt seine Beute, indem er sich vorsichtig anschleicht.  
 เสือล่าเหยื่อ ด้วยการที่มันคลานไปอย่างระวัง  
 (โดยไม่ให้เหยื่อรู้ตัว)  
 Ohne dass es das Opfer merkt, nähert sich die tödliche Gefahr.  
 เหยื่อตัวนั้นไม่ทันได้ระวังตัว  
 ว่ามหันตภัยชีวิตที่จะมาใกล้ตัวนั้น
  คืบคลานเข้ามาแล้ว  
 Dadurch dass du vor einer Gefahr die Augen verschliesst, wehrst du sie nicht ab.  
 ถึงแม้ว่ามันจะปิดตาเพื่อที่จะให้พ้นจากภัยร้ายนี้ ก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงให้ พ้นมันไปได้  
 
 Sie tat so, als ob sie schliefe.  
 หล่อนทำท่าปิดตา ราวกับว่าหล่อนนอน  
 
 Der Vergleichssatz ist ein Sonderfall des Modalsatzes  
 ประโยคเปรียบเทียบ.  
 Er wird eingeleitet durch  
 จะใช้สันธาน: als ob ราวกับว่า, wie wenn ราวว่า,
  je ... desto ยิ่ง... เช่น je eher, desto besser  
 ยิ่งเร็ว ยิ่งดี  
 
 Je mehr du nachdenkst, desto klarer erkennst du dein Unrecht.  
 ยิ่งแกคิดทบทวนมากเท่าไร
  ยิ่งจะได้ได้รู้ว่าเจ้านั้นเสียเปรียบมากเท่านั้น  
 
 Ihr tut so, als ob ihr euch verabredet hättet.  
 เขาเหล่านั้นแสดงท่าทาง
  ราวกับว่าได้นั้นกันมาก่อนแล้ว(ที่จริงแล้วไม่ได้นัดกันเลย)  
 
 1.8 Lokalsätze (Ort สถานที่ / Richtung
  จุดหมาย ปลายทาง กำหนดทิศทางใดทางหนึ่ง ) eingeleitet durch  
 ในประโยคนี้ เริ่มด้วย wo ที่, wohin ที่ไหน,
  woher จากไหน:  
 สำหรับการเขียนอนุประโยคนี้  
 กริยาก็อยู่ท้ายของประโยคเสมอ  
 
 Das Geld war versteckt,  
 wo es niemand vermutete.  
 เงินถูกซ่อน ในที่ ที่ไม่มีใครที่จะนึกถึง  
 
 Ich folge dir, wohin du willst.  
 ฉันจะตามเธอไปทุกหนแห่ง ที่เธอไป  
 (เป็นภาษารักในนิยายโรมานติก ได้อย่างดีเลยละครับ)  
 
 2. Relativsätze ประโยคสัมพันธ์  
 eingeleitet durch Relativpronomen  
 ประโยคเหล่านี้จะเชื่อมด้วยสรรพนาม ทั้งหลาย
 ที่ดังเช่นคำข้างล่างนี้  
 การผันนั้นก็ขึ้นอยู่กับกริยาที่นำมาแต่งประโยคด้วย  
 ว่าต้องใช้กับกรรม อันไหน:  
 der, die, das; welcher, welche, welches  
 
 Das alte Haus, das  
 (das นี้คือแทนประโยคสัมพันธ์ Akk. เพราะว่า
  กริยาใช้กับ กรรมตรง Akk.)  
 neulich ausgebrannt ist, wird abgerissen.  
 บ้านหลังเก่า ที่โดนไฟใหม้เมื่อเร็วๆนี้ จะถูกรื้อทิ้ง  
 
 การเขียนในประโยคเช่นนี้ก็เพื่อที่จะได้สละสลวย  
 ไม่ต้องเอ่ยชื่อประธาน หลายครั้ง
  จะเขียนแยก ก็ได้ ดังนี้  
 Das alte Haus. Das Haus ist neulich aus gebrannt. Das Haus wird abgerissen. Das alte Haus, welches(หลังนี้ ที่ใช้ welches เพราะว่า das Haus  
 จะเป็นหลังอื่นไม่ได้)  
 neulich ausgebrannt ist, wird abgerissen.  
 บ้านหลังเก่าหลังนี้ ที่โดนไฟใหม้เมื่อเร็วๆนี้
  จะถูกรื้อทิ้ง  
 
 3. Interrogativsätze (Indirekte Fragesätze)  
 ประโยคคำถาม เกี่ยวกับบุคล  
 eingeleitet durch Interrogativpronomen  
 จะต้องใช้ผ่านโดย สรรพนามบุคล อะไร อย่างไร ทำไม:  
 wer, was; welcher, welche, welches  
 wann; wo; ob; warum  
 
 Der Lehrer kann beim besten Willen nicht entscheiden,  
 wer(ใคร) von wem abgeschrieben hat.
  ครูจนปัญญาจริงๆที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้ ว่า
 ใครลอกใคร(นักเรียน) กันแน่  
 
 Meine Frau fragt mich ständig, welches Kleid  
 (ที่ใช้ welches เพราะ เป็นการเจาะจง ชุด)  
 sie anziehen soll.  
 ภรรยาของผม ถามบ่อยมาก  
 ว่าหล่อนควรจะสวมชุดอะไรดี  
 
 Er fragte mich, wann wir uns treffen.  
 เขาได้ถามฉัน ว่าเมื่อไรเราจะพบกัน  
 
 Sie fragte mich, wo...  
 หล่อน ถามฉัน ที่ไหน....  
 
 Ich fragte ihn, warum ...  
 ฉันถามเขา ว่าทำไม  
 Ihr fragt mich, ob...  
 เขาเหล่านันถามฉันว่า ถ้า....  
 

ศักดา

ลืมบอกไว้ว่าในการฝึกการอ่าน  
 ตอนผมเริ่มต้นใหม่นั้น
  เมื่อก่อน เริ่มจากหนังสือนิทาน ของเด็ก  
 เพราะว่าภาษาอ่านง่าย  
 เริ่มจากเรื่องที่เราคุ้นเคยก่อน เช่น  
 หนูน้อยหมวกแดง (Rotkäppchen) สโนว์ ไวท์(Schneewittchen)  
 เจ้าชายกบ (Der Froschkönig)  
 พอแก่งขึ้นก็ค่อยอ่านเรื่องยากๆ ต่อไป  
 
 คิดว่าแถบที่คุณเทวีอยู่  
 ถ้ามีเวลาน่าจะไปห้องสมุดประชาชนดูนะครับ
  เราสามารถเช่าหนังสือมาอ่านได้
  มีหนังสือหลายประเภทให้เลือก  
 หรือถ้าจะให้ดีลองเข้าไปในห้องสมุดของมหาวิทยาดู
  ตรงหมวด ภาษาต่างประเทศ
  หรือ เยอรมันสำหรับนักศึกษาต่างชาติ  
 จะดีมากเลยละ บางแห่งสามารถยืมออกมาได้
  เสียค่าธรรมเนียมไม่มากหรอกครับ  
 
 การฟังนั้นฟัง ควรฟังวิทยุที่พูดภาษาเยอรมัน
  ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น
  จะฝึกได้ดีมากกว่าการดูโทรทัศน์  
 จะฟังทางเน็ตก็ได้นะครับ เช่นวิทยุของสวิส http://www.drs.ch/drs.html เป็นข่าวประจำวัน
  หรือเรื่องที่เราสนใจ เ
 ข้าไปที่ Nachrichten ฟังกี่รอบก็ได้
  ถึงแม้บางครั้งอาจไม่เข้าใจหมดเลยทีเดียว
 แต่ได้ฝึกประสาทการฟัง ได้อย่างดี  
 
 เขียนนั้นก็พยายามเขียนจดหมาย  
 หรือว่าเป็นไดอารี่ของตัวเอง
  แล้วลองให้คนรอบข้างที่รู้ภาษาเยอรมันแก้ให้  
 หรือว่าเขียนแล้วมาแก้ทีเดียวตอนที่เราแก่งแล้วก็ได้
  จะช่วยได้เยอะเลยละครับ

เทวี

ขอบคุณมากค่ะพี่ศักดา
 (เรียกตามที่พี่บอกเพราะเทวีอายุยังไม่ถึง30ค่ะ
 กำลังจะ26ในอีก2อาทิตย์ค่ะ)
 เทวีว่าเทวีมาถูกทางแล้วละคะ  
 เพราะเทวีฝันเป็นภาษาเยอรมันบ่อยมากๆ
 แต่ ตอนนี้อาจจะข้ามไปข้ามมา
 เพราะโรงเรียนยังไม่เปิด
 แล้วภาษาเยอรมันที่เทวีเรียนแล้วเป็นเยอรมันพื้นฐานจริงๆ แต่หลังจากจบคอร์สแรกช่วงที่เทวีรอโรงเรียนเปิดเทวีก็เรียนเองแบบเป็นสเต็ปบ้างไม่เป็นสเตปบ้างก็ตอนที่ไม่เจก็จะหาคำตอบจากเน็ตละค่ะแต่ก็ดีค่ะรู้เพิ่มขึ้นอาจจะไม่เป็นขั้นตอนแต่ก็เข้าใจ และอย่างที่พี่บอกเนี้ยเทวีนั่งจนจนตาลายหมดแล้วเพิ่งเสร็จไปก็เข้าใจดีค่ะแต่แน่นอนว่าคงไม่100เปอร์เซ็นอาจจะแค่90เพราะเทวียังใหม่อยู่ ส่วนคำแนะนำที่พี่บอกเทวีทำก่อนล่วงหน้า(ยังกะรู้ว่าพี่จะบอก)คืออ่านนิทานเด็กๆที่บ้านมีเยอะมากๆ เพราะสามีเอามาให้จากที่บริษัท นิทานพวกนี้ส่วนใหญ่เน้นเรื่องในอดีตค่ะ ก็เพลินดี แล้วเทวีก็ดูทีวี ฟังเยอรมัน ฟังทุกอย่างที่ได้ยินส่วนใหญ่จับใจความได้ค่ะ ตอนนี้เริ่มเข้าใจภาษาสวิสเยอรมันเยอะขึ้นแล้ว เทวีถือว่าทุกอย่างที่นี่เป็นครูทั้งนั้น เพราะครูจะสอนเราหลายๆอย่างทั้งถูกและผิด ที่เหลืออยู่ที่เราวิเคราะห์และจะใช้แบบครูคนไหนเท่านั้นเอง แต่ตอนนี้เทวีเดินรอยตามครูศักดาอยู่นะคะ ขอบคุณค่ะ