เยอรมันวันละนิดบที่ 01 อักษร สระ และการเทียบเสียงในภาษาเยอรมัน

Previous topic - Next topic

ศักดา

สวัสดีครับ มารายงานตัวแล้วครับ หลังจากที่ลางานไปนาน…
 เริ่มบทใหม่ที่สำคัญมากครับ เพราะว่าเป็นพื้นฐานในการออกเสียง และสะกดคำผมได้ค้นคว้า นำเสนอมาพอเป็นแนวทางเท่านั้นนะครับ  สำหรับการออกเสียงภาษาเยอรมัน ให้ได้ถูกหลักนั้นจะต้องฝึก
 กับเจ้าของภาษา ที่มีความรู้ด้านนี้โดยตรง ถึงจะเรียนได้ดี
 
 แต่ถ้าท่านใดเริ่มเรียนหรือสนใจ สามารถนำบทที่นำเสนอนี้  
 ไปเป็นพื้นฐานได้ ในการออกเสียง ของ สระและอักษรใน
 ภาษาเยอรมัน ตามหลักวิชาการในการเรียนภาษานั้น แบ่งได้ดังนี้
 ทางภาคทฤษฏี จะเน้นไปที่ ระบบโครงสร้างของประโยค  
 และ รากศัพท์ ภาคปฏิบัติ จะเน้นด้านการสื่อสาร  
 เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และนำซึ่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม  
 ต่างๆ ด้วยเหตุฉะนี้ บทนี้อาจจะสื่อสารทางด้านวิชาการเยอะหน่อย เพราะว่าผมได้ค้นคว้ามาจากหนังสือของระดับมหาวิทยาลัย  
 อย่าเครียดและเบื่อที่จะอ่าน ก่อนจบ ค่อยเป็นค่อยไป นะครับ
 
 ดังสุภาษิตฝรั่งที่ว่า
 «Rom wurde nicht an einem Tag gebaut. De»  
 « Rome wasn’t built in a day. Eng.»
 และ
 «Ohne Fleiss kein Preis.De»
 «There is no pleasure without pain.Eng»
 «There is no such thing as a free lunch.Eng»
 
 ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะช่วยท่านได้บ้างนะครับในการเรียนภาษาเยอรมันได้ไม่มากก็น้อย พิมพ์ตกหรือผิดพลาดประการใด
 ยินดีรับคำแนะนำติชมเสมอครับ ขอขอบคุณยิ่ง
 
 
 ตอนที่ 1
 
 Das Alphabet อักขระเรียงตามตัวอักษร
 
 a อา
 b เบ
 c เซ  
 d เด  
 e เอ  
 f เอฟ  
 g เก
 h ฮา  
 i อี  
 j ยอท  
 k คา  
 l เอล  
 m เอ็ม  
 n เอ็น
 o โอ  
 p เพ  
 q คู  
 r แอร์  
 s เอส  
 t เท  
 u อู  
 v เฟาว์
 w เว  
 x อิกซ์  
 y อิปซิลอน  
 z เซ็ท
 
 ä เอ ö เออ* ö อู* (อักษรทั้งสามตัวนี้เรียกว่า umlaut)
 ภาษาเยอรมันที่ใช้ในประเทศสวิสฯ จะไม่ใช้อักษร
 ß (แบบที่ประเทศเยอรมัน) แต่จะใช้ ss แทน
 
 

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0013 ห้อง learning_german (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

ศักดา

ตอนที่ 2 Vokal สระ
 
 -า a เช่น an
 -า-า aa เช่น Haar เสียงยาว
 แ- ä เอร์ เช่น Ärger
 เ- e เช่น Ende
 เ-เ- ee เช่น leer เสียงยาว
 -ี i เช่น mit
 -ี ie เช่น wieder เสียงยาว
 โ- o เช่น Tor
 โ-โ- oo เช่น Moos เสียงยาว
 เออ ö เช่น Öle
 -ุ ü เช่น dünn
 -ู u เช่น Uhr
 -ื ü เช่น süss *ซืส*
 ใ- ai เช่น Mais
 ไ- ei เช่น Eier เสียงยาว
 เ-า au เช่น Maus
 ออย au เช่น Bäume  เสียงยาว
 ออย eu  เช่น Heute เสียงยาว

ศักดา

ตอนที่ 3 Konsonanten พยัญชนะ
 p พ เช่น Pass, Papier, Peter
 b บ เช่น bin, bitte, aber
 t ท เช่น Tee, tun, Thron
 d ด เช่น Dame, oder, die
 k ค เช่น kommen, Café, Christ, Qualität
 g ก เช่น gut, Geld, fliegen
 m ม เช่น Mann, Lampe, am
 n น เช่น Name, wohnen, Köln
 nag ง เช่น  singen, bringen, Anfang
 l ล เช่น leben, spielen, Mal
 r ร เช่น rennen, Reise, Ferien
 f ฟ เช่น Vater, Frau
 v ว* เช่น wo, Antwort
 s ซ เช่น Tasse, Hals, Fuss, City
 z ส* เช่น Sonne, Hase, sehen
 s ช* เช่น Schule, sprechen, Stunde
 c ช* เช่น Chemie, Mädchen, ich (แน้นเสียง ch)
 g จ* เช่น Genie, Orange (เสียงยาว ออกเสียงคล้าย G แช แจ)
 j ย เช่น ja, Juni,  
 x ค* เช่น machen, doch, auch (แน้นเสียง ch)
 h ฮ เช่น Haus, haben, wiederholen
 pf พฟ เช่น Pfeffer, Apfel, Kopf
 ts ทซ เช่น Zug, zu, Platz
 ts ทซ* เช่น tschüs, klatschen, deutsch (แน้นเสียง tsch)
 dz คจ* เช่น Dschungel, Manger (เสียงหนักที่ dsch, g)
 
 ตอนที่ 4 หลักการออกเสียง
 1. r ออกเสียงด้วยการกระดกปลายลิ้น (ออกเสียง ร ชัดๆ*
  ผมคิดว่าถ้าออกเสียงนี้ได้จะทำให้พูดภาษาเยอรมันได้ชัดทีเดียว)
 2. qu ออกเสียงเหมือน qw(คว*) เช่น Quelle, Quittung
 3.  v ออกเสียงเหมือน f (ยกเว้นในบางคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ)
 4.  g ในพยางค์ท้าย —ing, -igst, -igt จะออกเสียงเหมือน ch, c ช*
 5.  b, d, g เมื่อเป็นตัวสะกด จะออกเสียงเป็น  p, t, k g เช่น gab(เหมือน gap) Kind (เหมือน Kint) Tag (เหมือน Tak)
 6.  ch หลังสระ e, i, ö, ä, ü ออกเสียง ช* c* เช่น ich,  
 rechnen, Löcher, lächeln, Bücher  
 แต่ ch หลัง a, o, u, au จะออกเสียง ค* x เช่น Bach, noch,  
 Buch, rauchen
 7.  s หน้า p และ t ออกเสียงเหมือน sch เช่น sprechen, studieren, Stadt
 8.  t+i+สระ เสียงตัว t ออกเสียงหมือน z เช่น Nation, Patient
 

ศักดา

ตอนที่ 5 Wortbetonung เสียงหนักเบาในคำ
 1. คำภาษาเยอรมันโดยปกติจะเน้นเสียงหนักที่พยางค์แรก  
 เช่น leben, kommen, Fräulein, Urlaub, Antowort etc.
 2. ในบางกรณีจะเน้นเสียงหน้กที่พยางค์ที่สอง แต่กรณีนี้น้อยมาก เช่น zurück, zuerst, zunächst, zufrieden, lebendig, allein etc.
 3. จะไม่เน้นเสียงหนักที่ präfix(คำอุปสรรค์ ดูกระทู้ บทที่ ว่าด้วยเรื่อง präfik) be-, emp- , ent-, er-, ver-, zer- เป็นอันขาด เช่น befehlen, empfehlen, erhalten etc. แต่มีข้อยกเว้น เช่น bekommen, entkommen, gekommen etc.
 4. เน้นเสียงหนังที่พยางค์ท้าย —ei, -ieren เช่น Bäckerei, studieren
 5. คำที่มาจากภาษาอื่น ไม่มีหลักเกณฑ์ทการเน้นเสียงที่แน่นอน แต่ส่วนมากจะเน้นเสียงหนักที่พยางค์ท้าย  
 เช่น Nation, Student, Sympathie, Telegramm,  
 Programm, Ingenieur, Restaurant, Büro
 6. ch เช่น acht *เป็นเสียงลมผ่านเพดานปาก
  คล้ายกับว่าจะออกเสียง  ค ไม่ไหว)
 7. sch เช่น falsch *ฟาลช์  (เป็นเสียงลมหนี)
 
 ตอนที่ 6 การแยกคำ
 แยกตามคำพูดเช่น
 Rei-se, Man-tel, Buch-sta-be
 Ge-sund-heit, A-bend
 Mor-gen, un-re-gel-mä-ssig
 ge-hen, kau-fen
 
 ตอนที่ 6 เสียงสั้น
 เมื่อมีพยัญชนะตามสระสองตัว สระเป็นเสียงสั้น เช่น
 Blatt, fell, Himmel, Topf, Butter, Öffnung, Wasser,  
 Russland, Kunst.  
 *a, e, i, o, u, ö ในคำเหล่านี้เป็น สระ
 
 ตอนที่ 7 เสียงยาว
 เมื่อมีพยัญชนะตามสระตัวเดียว หรือเมื่อมีตัว  h ตามหลังสระ  
 หรือมีสระตามกัน สองตัว คำนั้นเป็นเสียงยาว ตอนพูด
 ต้องลากเสียงสระ เช่น
 Brot, Fuss, gross, stehen, schön, Plural, Jahr,  
 Lehrer, Kohl, Uhr, Schuhe, Meer, Liebe, Moor.
 *o, u, e, ö, a, i ในคำเหล่านี้เป็น สระ
 
 นามในภาษาเยอรมัน เขียนเป็นคำใหญ่ทุกตัว
 ดูรายละเอียดได้จากบท นาม der die das
 

ศักดา

ข้อเขียนทั้งหมดนี้คัด ย่อ และอ้างอิงมาจาก
 *หนังสือ ภาษาเยอรมันระดับมูลฐาน  
 หน้าที่ 3 - 7 ระหัส GN101
 แต่งโดย รศ.เสาวภาค ธาระวานิช และ คณะ
 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
 *พจนานุกรมเยอรมัน- ไทย แต่งโดย เอลิมาร์ อนุวัฒน์ ร็อคก้า  
 หน้าที่ 12 - 15, บริษัทสำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด
 
 ขอขอบคุณไว้ณ. ที่นี้ด้วยครับ