เยอรมันวันละนิด บทที่ 3 การใช้กริยาแต่งประโยคในรูปกาลต่างๆ ของ อดีต ปัจจุบัน อนาคต Verb Tempora

Previous topic - Next topic

ศักดา

เยอรมันวันละนิด บทที่ 3 การใช้กริยาแต่งประโยคในรูปกาลต่างๆ ของ อดีต ปัจจุบัน อนาคต Verb Tempora  
 
 สวัสดีครับ มาแล้วครับ มาส่งรายงานการสอนก่อนที่จะไปเที่ยว... อาทิตย์หน้าค่อยว่ากันใหม่... วันนี้เริ่มบทที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องของกริยา ว่าจะใช้เมื่อไรอย่างไร อันนี้ได้แรงดลใจจากคุณเทวี ที่ตั้งกระทุ้ถามอีกที น่าสนใจครับ เพราะว่า ตอนผมเรียนใหม่ๆ ก็งงเช่นเดียวกันครับ  
 บทนี้ จะขอเสนอ เกี่ยวกับ อดีตกาล ปัจจุบัน และ อนาคต ในรูปแบบต่างๆ เริ่มเลยนะครับ (เนื้อหาเยอะมาก... อย่าเพิ่งเบื่อกันก่อนนะครับ เพราะว่าการเรียน ภาษานั้นไม่ได้เรียนได้ภายในวันเดียวแล้วเป็นเลย... ได้วันละคำก็ยังดี...)  
 
 ขอให้สังเกตประโยคดังต่อไปนี้  
 Ich heisse Sakda. Jetzt bin ich in der Schweiz. Früher war ich in Thailand. In zehn Jahren werde ich wahrscheinlich in Thailand leben.ผมชื่อศักดา ตอนนี้อยู่ที่ประเทศสวิสฯ เมื่อก่อนอยู่ที่ประเทศไทย อีกสิบปีข้างหน้า ผมอาจจะกลับไปอยู่ที่เมืองไทย  
 (ก็ได้... อนาคตเป็นของไม่แน่นอน...)  
 
 จะเห็นได้ว่า ประโยคที่ผมเขียนแนะนำตัวนี้นั้น มี ด้วยกัน สาม เวลาคือ ปัจจุบัน(Präsens) อดีต(Präteritum) และ อนาคต(Futur).  
 การเขียนประโยคเหล่านี้ดังตัวอย่าง อยู่ที่ผู้สื่อว่าจะสื่อถึงเหตุการณ์ช่วงใด อาจจะมีรูปของเหตุการณ์ในปัจจุบัน หรือ อดีตอย่างเดียว  
 หรือเป็นการคาดการณ์ ก็สามารถสื่อ ใน การสื่อสารแต่ละครั้งไม่มีกฏตายตัว ว่าทั้งหน้าหรือในขณะที่ผูดจะต้องเป็น กาลเวลาเดียว เสมอไป...  
 
 การใช้ กริยาในรูปปัจจุบันกาล มีดังนี้  
 -*สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือเป็นเรื่องจริงในระหว่างที่พูดอยู่ เช่น  
 Das Essen schmeckt gut. อาหารนี้รสชาตดี  
 Die Studenten diskutieren. นักศึกษากำลังสนทนากันอยู่  
 
 -สิ่งที่เกิดหรือเริ่มขึ้นเมื่อในอดีตและยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เช่น  
 Ich lerne seit vier Monaten Deutsch. ฉันเรียนภาษาเยอรมันมาได้สี่เดือนแล้ว (ยังเรียนต่ออยู่ในขณะนี้)  
 Bern ist die Hauptstadt der Schweiz.  
 เบริน์เป็น เมืองหลวงของประเทศสวิสเซอแลนด์  
 Bangkok ist die Hauptstadt von Thailand.  
 กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย  
 
 -สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอานาคต (ไม่กำหนดเวลาว่าเมื่อใด) เช่น  
 Ich fahre nächste Woche nach Hause.  
 ฉันจะไปบ้านอาทิตย์หน้านี้  
 Nachher gehe ich einkaufen. หลังจากนี้ฉันจะไปซื้อของ  
 
 -สิ่งที่เป็นจริง เช่น  
 Ich heisse Müller. ผมชื่อ มูลเลอร์  
 Sie heisst auch Müller หล่อน ชื่อมูลเลอร์ เชนกัน  
 
 -บางสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นประจำ เช่น  
 Wir fahren jedes Jahr nach Thailand.  
 พวกเราไปประเทศไทยทุกปี  
 
 **-เหตุการณ์ที่ไม่กำหนดเวลาในปัจจุบัน เช่น  
 Wo sind die Kinder? เด็กๆ อยู่ที่ใหนตอนนี้  
 Im Wohnzimmer. อยู่ในห้องนั่งแล่น  
 Und was machen sie da? แล้ว เด็กๆ ทำอะไรอยู่ที่นั่น  
 Sie sehen fern. ดูโทรทัศน์  
 
 หรือว่าจะถามถึงเหตุการณ์จากอดีต จนถึงปัจจุบัน เช่น  
 Ich wusste nicht, dass du jetzt in Köln wohnst.  
 ฉันไม่รู้ว่าคุณอยู่ เมือง โคโลนญ์  
 Doch, schon seit drei Jahren wohne ich hier.  
 ใช่แล้ว ผม อยู่มาสามปีแล้วละ  
 Arbeitest du dort? คุณทำงานที่นั่นหรือ?  
 Nein, ich studiere noch. ไม่ใช่ ผมยังเรียนอยู่  
 
 
 ***การผันกริยาตามประธานในรูปของกาลปัจจุบัน(Präsens) นั้น  
 จะกระจายกริยาตามสรรพนาม การกระจายกริยานี้ จะเป็นแบบธรรมดา และ ไม่เป็นไปตามแบบธรรมดา(regelmässigen und unregelmässigen Verben) การกระจายนั้นจะ ต้องแยก กริยาก่อน คือ รากศัพท์กริยา และคำลงท้ายกริยา ตัวอย่างเช่น  
 
 กริยา fragen, gehen, machen…: frag, geh, mach… เหล่านี้เรียกว่า รากศัพท์ของกริยา (der Stamm des Verbs)  
 ส่วน ...en นั้นเรียกว่า คำคำลงท้ายของกริยา(die Endung des Verbs) เวลาที่เราจะเขียนหรือพูดก็จะเป็นไปตามกฏนี้เสมอนะครับ  
 ผู้เรียนสามารถที่จะท่องจำได้ (Sg. เอกพจน์, Pl. พหูพจน์)  
 
 1. Pers. Sg.: -e  
 2. Pers. Sg.: -st  
 3. Pers. Sg.: -t  
 
 1. Pers. Pl.: -en  
 2. Pers. Pl.: -t  
 3. Pers. Pl: -en  
 
 ตัวอย่างเช่น  
 1. Pers. Sg. ich frage  
 2. Pers. Sg.: du fragst  
 3. Pers. Sg.: er, sie, es fragt  
 
 1. Pers. Pl.: wir fragen  
 2. Pers. Pl.: Ihr fragt  
 3. Pers. Pl: sie, Sie fragen  
 
 หมายเหตุ กริยาบางตัวจะไม่กระจายเป็นไปดังกฏข้างบนนี้ อย่างเช่น  
 
 1. รากศัพท์ของกริยา (Der Stamm des Verbs)ที่มี —d หรือ —t ตอนท้าย จะกระจาย ต่างจากข้างบน คือหลัง —d หรือ —t ใน Sg. ที่ 2, 3 และ Pl. จะต้องเติม -e ก่อนที่จะกระจายตามกฏข้างบน  
 
 เช่น กริยา reden. พูด  
 du redest, er redet, ihr redet  
 
 arbeiten ทำงาน  
 du arbeitest, er arbeitet, ihr arbeitet  
 
 2. รากศัพท์ของกริยา (Der Stamm des Verbs)ที่มี -s, -ss, -x หรือ -z ตอนท้าย จะกระจาย ต่างจากข้างบน  
 คือคำลงท้ายเหล่านี้ ใน Sg. ที่ 2 (du) จะต้องจะไม่ใส่ -s ตามการกระจายตามกฏข้างบน เช่น du rast, du grüsst,  
 du mixt, du heizt (rassen ดายหญ้า, grüssen ทักทาย, mixen ผสม, heizen ทำให้ร้อน)  
 
 3. ถ้ากริยารูปเดิม (Infinitiv) ลงท้ายด้วย - eln เวลากระจายกริยา Sg.  
 
 1 รากศัพท์ของกริยา -eln จะต้องตัด-e ออก  
 เช่น handeln เป็น ich handle, klingeln เป็น ich klingle  
 ในทางตรงกันข้าม ถ้ากริยารูปเดิม (Infinitiv) ลงท้ายด้วย - eln และ -ern ใน Pl. 1 และ 3 จะเติมเพียง —n  
 (หรืออาจจะเรียกว่า ไม่กระจาย คงไว้ตามกริยารูปเดิม(Infinitiv)) เช่น  
 wir handeln, Sie handeln ต่อรอง  
 wir paddeln, Sie paddeln พายเรือ  
 wir wechseln, Sie wechseln แลก  
 wir rudern, Sie rudern พาย (แจว) เรือ  
 wir feiern, Sie feiern ฉลอง  
 
 
 Präteritum การใช้ กริยาในรูปอดีตกาล ช่อง 1 มีดังนี้  
 1. ในงานเขียนเช่น เรื่องเล่า นิทาน เรื่องสั้น นิยาย และรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต (ข้อเขียน) เช่น  
 
 Rotkäppchen หนูน้อยหมวกแดง  
 
 Es war einmal eine kleine süße Dirne, die hatte jedermann lieb, der sie nur ansah,  
 am allerliebsten aber ihre Großmutter, die wußte gar nicht, was sie alles dem Kinde geben sollte.  
 อันนี้คัดมา ถ้าใครสนใจเปิดอ่านนิทานเรื่องนี้ ได้ที่ http://www.udoklinger.de/Deutsch/Grimm/Rotkaeppchen.htm  
 
 2. บางทีจะใช้ตอบในเวลาสนทา ถึงอดีตเช่น  
 Was hast du gestern Abend gemacht? เมื่อวานคุณทำอะไร  
 Ich war nur zu Hause.  
 ฉัน อยู่บ้าน (อาจจะเป็น เมื่อวานนี้ คือเล่าถึงอดีต)  
 
 Hallo Peter, leider konnte ich gestern nicht anrufen. Ich war krank.(ฝากข้อความ) สวัสดี Peter ขอโทษด้วยนะที่ฉันไม่สามารถโทรหาคุณได้ ฉันป่วย (เมื่อวานนี้)  
 
 **การกระจายกริยาตามประธานในรูปของกาลอดีตช่อง 1 (Präteritum)  
 
 กริยา ที่กระจายตามกฏ regelmässiges Verb  
 
 1. Pers. Sg.: -te  
 2. Pers. Sg.: -test  
 3. Pers. Sg.: -te  
 
 1. Pers. Pl.: -ten  
 2. Pers. Pl.: -tet  
 3. Pers. Pl: -ten  
 
 ตัวอย่างเช่น  
 1. Pers. Sg. ich fragte  
 2. Pers. Sg.: du fragtest  
 3. Pers. Sg.: er, sie, es fragte  
 
 1. Pers. Pl.: wir fragten  
 2. Pers. Pl.: Ihr fragtet  
 3. Pers. Pl: sie, Sie fragten  
 
 แต่กริยาบางตัว ที่ลงท้าย ด้วย อักษร -t, จะต้องมี อักษร —e ต่อท้าย แล้วจึงกระจายกริยาดังรูปข้างบนเช่น  
 
 กริยา arbeiten ทำงาน  
 1. Pers. Sg. ich arbeitete  
 2. Pers. Sg.: du arbeitetest  
 3. Pers. Sg.: er, sie, es arbeitete  
 
 1. Pers. Pl.: wir arbeiteten  
 2. Pers. Pl.: Ihr arbeitete  
 3. Pers. Pl: sie, Sie arbeiteten  
 
 ส่วนกริยาทีèกระจายไม่เป็นไปตามกฏ unregelmässiges Verben ในช่องอดีต ที่ 1 ตัวอย่างเช่น gehen ไป,  
 denken คิด, bleiben อยู่, giessen รดน้ำ... นั้นขอไม่นำกล่าวถึงนะครับ ในบทนี้ เพราะว่า ยาวมาก… มีหลาย รูปแบบ  
 ถ้ามีท่านใดสนใจ จะแยกบท ใหม่ให้อ่านต่างหาก  
 
 **การกระจายกริยาตามประธานในรูปของกาลอดีตช่อง 2 (Perfekt)  
 การใช้กาลนี้ ก็จะคล้ายกับ กาลใน ช่อง 1 คือ สื่อถึงเหตุการในอตีด ที่ผ่านมาแล้ว โดยส่วนมากจะใช้ในภาษาพูด เช่น  
 
 Ich habe früher in Thailand gelebt.  
 เมื่อก่อนผมใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทย  
 19.. bin ich in die Schweiz gekommen.  
 ปี พศ. 19... ผมย้ายมาอยู่ที่ประเทศสวิสเซอแลนด์  
 
 การกระจายกริยา ในกาลนี้ จะใช้กริยาช่วย sein, haben มาทำหน้าที่ในการกระจาย (รายละเอียด ดูได้จากบทที่แล้ว ระหัส 0392 เรื่องหน้าที่และการใช้ กริยาพื้นฐาน sein, haben, werden)  
 
 การกระจายกริยในรูป กาล Perfekt นั้นทำได้โดย การนำกริยาช่วย ในช่อง Präsens และตามด้วย กริยา กระจายตามกฏ ในรูปของ Partizip II  
 
 คือ เติม หน้ากริยา ด้วย ge- และลงท้ายด้วย-t เช่น  
 Sie ist zu Hause geblieben. หล่อนอยู่บ้าน (ไม่ออกไปไหน)  
 Ich bin krank gewesen. ฉันป่วย (ในอดีต)  
 Er hat gestern ein neues Auto gekauft.  
 เมื่อว่านนี้เขาได้ซื้อรถคนใหม่  
 
 ส่วนกริยาที่กระจายไม่เป็นไปตามกฏนั้น ขอไม่นำเสนอเช่นกันในบทนี้ นะครับ เพราะว่ายาวมาก… มีหลาย รูปแบบ แต่ถ้ามีท่านใดสนใจ...  
 จะแยกบทใหม่ให้อ่านอีกต่างหาก ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร...  
 
 เช่นกริยา gehen, studieren, einkaufen เหล่านี้... ตัวอย่าง  
 Ich bin gestern spät nach Hause gegangen.  
 เมื่อวานนี้ฉันกลับบ้านช้าไปหน่อย  
 Vor vier Jahre hat sie an der Uni. Bern studiert.  
 เมื่อสี่ปีที่แล้ว หล่อนได้ศึกษาที่ มหาวิทยาลัย เบริน์  
 Er hat gestern viel eingekauft.  
 เขาได้ซื้อของเยอะมากเมื่อวานนี้  
 
 
 อดีตกาลสมบรูณ์ (อดีตช่อง 3) Plusquamperfekt  
 กริยาช่องนี้จะไม่ค่อยได้ใช้บ่อยนัก เวลาใช้จะ แสดงถึงเหตุการณ์เมื่ออดีตก่อนหน้านี้ คือ เล่าเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา  
 ถ้าเปรียบเป็นภาษาไทยก็ อาจจะ เล่าถึงอดีต  
 ดังตัวอย่าง เมื่อก่อน... สิบปีที่แล้ว ฉันเคยอยู่ที่เมื่องไทย และ หลังจากนั้นฉันได้ย้ายมาอยู่ที่นี่…  
 Früher vor zehn Jahre hatte ich in Thailand gelebt, danach kam ich hierher.  
 
 อาจจะทำให้งงนะครับ ว่าทำไมต้องเป็นอดีตกาลสมบูรณ์ด้วย คือ ประโยคนี้จะแสดง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานานแล้ว  
 จากจุด Aไปยังจุด B ที่อธิบายอดีตที่เกิดขึ้นก่อนและหลัง คือจะต้องมีการเปรียบเทียบลำดับเหตุการณ์นะครับ ดังอีกหนึ่งตัวอย่างเช่น  
 
 *A. Der Regen hatte schon aufgehört, als ich gestern in Rom ankam. B.  
 ฝนได้หยุดตกแล้ว ตอนผมมาถึงกรุงโรม เมื่อวานนี้  
 A. Plusquamperfekt ส่วน B. Präteritum  
 จะเห็นได้ว่าลำดับเหตุการทั้งสองนี้เป็นอดีตทั้งคู่แต่จะเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนและหลังของอดีตกาล  
 
 
 การกระจายกริยาในรูปของ อดีตกาลสมบูรณ์ (Plusquamperfekt) นั้นก็เพียงแต่นำ กริยาช่วย sein, haben จากช่อง อดีตที่ 1 (Präteritum) และตามด้วย Partizip II เช่น  
 
 Ich war dort gewesen. ฉันได้ผ่านที่นั่นมาก่อนหน้านี้  
 Er hatte vor zehn Jahre in Thailand gelebt.  
 เขาเคยใช้ชีวิตอยูที่ประเทศไทยเมื่อสิบปีทีèแล้ว  
 
 
 อนาคตกาล Futur  
 *โดยส่วนมากแล้วเวลาเราสร้างประโยคในรูปของอนาคต เรา สามารถที่จะนำประโยค กาลปัจจุบัน บวกคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb)  
 แต่งประโยคอนาคตได้ โดยไม่ต้องใช้ กริยา werden  
 เช่น พรุ่งนี้ วันนี้ตอนเย็น อาทิตย์หน้า เร็วนี้…  
 (morgen, heute Abend, nächste Woche, bald…) ตัวอย่างเช่น  
 
 Morgen gehe ich nach Bern. พรุ่งนี้ฉันจะไป เบริน์  
 หรือ Bald kommt sie nach Hause wieder zurück.  
 หล่อนจะกลับมาในเร็วๆนี้ละ หรือจะใช้เป็นคำถามก็ได้ เช่น  
 Kommst du am nächsten Samstag zu meiner Party?  
 คุณมาเที่ยวงานผม วันเสาร์หน้าไหม  
 Tut mir Lied, aber ich fahre am nächsten Wochenende zu meiner Eltern. ขอโทษด้วย แต่ฉันไปบ้านพ่อแม่ ตอนวันหยุด(เสาร์ อาทิตย์) หน้านี้พอดี  
 
 
 ส่วนในรูปแบบที่คุณคุ้นเคย กับ อนาคตกาลช่อง 1 คือ กริยา werden + Infinitiv (Futur I)  
 นั้นจะสื่อความหมายว่าจะ ส่วน Futur II นั้นไม่อธิบายนะครับ เพราะว่าใช้น้อยมากในระดับพื้นฐาน...นี้  
 (รายละเอียด ดูได้จากบทที่แล้ว ระหัส 0392 เรื่องหน้าที่และการใช้ กริยาพื้นฐาน sein, haben, werden)  
 ผมขออธิบายเพื่มเติมการใช้อีกดังนี้  
 
 -ใช้ในรูปของอาคต ที่แสดงถึง คำมั่นสัญญา เช่น  
 Ich werde dich in deiner neuen Wohnung besuchen.  
 ฉันจะไปเยี่ยมเธอในที่อยู่ใหม่  
 Wir werden das heute Abend noch einmal besprechen.  
 พวกเราจะ สนทนากันถึงเรื่องนี้อีกครั้งในตอนเย็นของวันนี้  
 
 -ใช้ ตามความหมายตรงตัวว่า จะ ตั้งใจ เช่น  
 Ich werde in die USA fliegen.  
 ฉันจะบินไป อเมริกา  
 Wir werden bestimmt eine Lösung finden.  
 พวกเรามั่นใจว่าจะพบหนทางแก้ใขปัญหานี้ได้  
 
 
 หมายเหตุ เมื่อบทก่อนหน้านี้ ผมเรียก การกระจายกริยา เป็นการผันกริยา ในบทนี้ผมได้ใช้การเรียกตาม  
 หนังสือของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหัส GN 101 แต่งโดย อาจารย์ รศ. เสาภาค ธาระวานิช และคณะ  
 เพื่อให้ถูกตามหลักหนังสือวิชาการต่อไป จึงเรียนมาให้ทราบ และหากถ้าผมพิมพ์ผิดตก หรือความหมายผิดอย่างไร ขอเชิญทุกท่านที่อ่าน แจ้งให้ทราบด้วยนะครับ จะได้ทำการแก้ใข ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ  
 
 บทที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้  
 0392 เยอรมันวันละนิด Verb เรื่องหน้าที่และการใช้ กริยาพื้นฐาน sein, haben, werden  
 0365 เยอรมันวันละนิดครับ วิธีสังเกตเพศของนาม der, die, das  
 0405 เยอรมันพื้นฐาน สบายๆ บทที่ 1 ในร้านอาหาร Restaurant  
 
 คัดย่อ และอ้างอิงจาก  
 *(Vgl.)Monika Reimann, Grundstufen-Grammaitk, Heuberverlag  
 **(Vgl.)Esther Naef, Doris Vogel und Hermann Funk, Michael Koenig,  
 EuroLingua Deutsch Referenzbuch , MGB- Koordinationsstelle der Klubschulen, Zürich  
 ***(Vgl.) Helbig/Buscha, Deutsche Grammatik, ein Handbuch für den Ausländerunterricht  
 S. 25- 26, Langendscheidt  
 

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0007 ห้อง learning_german (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall

ขอบคุณมากค่ะคุณศักดา
 สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจการกลับไปอ่านบทเรียน
 ที่ผ่านมาจะง่ายขึ้นแล้วตอนนี้
 

Z&G

คุณศักดาค่ะ  ดิฉันตามไล่อ่านทุกกระทู้ที่คุณตั้งไว้เลยค่ะ  ก็พอเข้าใจคร่าว ๆ น่ะค่ะ บางอย่าง  หลักการก็คล้าย ๆ กับภาษาเนเธอแลนด์ที่ดิฉันกำลังเรียนอยุ่  แต่ว่า  ดิฉันยังไม่เข้าใจอะไรหรอกค่ะ  แต่ก็ดูหลักเอาไว้ก่อน   ออกเสียงก็ยังไม่เป็นสักตัว ไม่รุ้ออกผิดหรือถูก  อยากรุ้หลักในการเรียน อย่างเช่น  ถ้ามีกิริยาสามช่อง  ก็อยากมีมานั่งเปรียบเทียบดุเป็นคำ ๆ ไม่ทราบว่าเค้ามีเหมือนภาษาอังกฤษหรือป่าว  ยังไรก็ตาม  ดิฉันพอได้หลักคร่าว

Z&G

พอได้หลักคร่าวๆ  ไว้ทำความเข้าใจค่ะ ขอบคุณมากน่ะค่ะ  จะตามอ่านทุกกระทู้เลยค่ะ   ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับดิฉันล่ะค่ะ  กับเว็บนี้ ขอบคุณค่ะ

ศักดา

สวัสดีครับ คุณZ&G สบายดีนะครับ
 ขอบคุณมากครับที่ติดตามอ่าน  
 
 เข้าใจครับว่าการเรียนภาษาต่างประเทศใหม่ๆ  
 ขณะที่เราไม่มีพื้นฐานเลย จะงงๆ กว่าจะเข้าใจก็ต้องใช้เวลานาน
 โขอยู่...  อย่างเช่นผมเคยเป็นมาก่อน และทุกวันนี้ก็ยังฝึกอยู่...
 ไม่ต้องกังวลนะครับ ดังคำพังเพยของไทยที่ว่า  
 *ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ทีนั่น
 (ถ้าไม่หมดความพยายามและกำลังใจเสียก่อน)*  
 
 การกระจายกริยา ตามกาลนั้น อยู่บทนี้ละครับ  
 ภาษาเยอรมันมีกริยาแตกต่างออกจากภาษาอังกฤษครับ
 คือมีอดีต สามช่อง และปัจจุบัน ส่วนอนาคตอีกสองช่องครับ  
 
 ไม่ต้องกังวลนะครับ การเรียนภาษาเยอรมัน  
 ต้องเรียนควบคู่กับการ ใช้ด้วยคือการพูด  
 ตอนเผมเรียนใหม่ๆนั้น วันแรกครูไม่ได้สอน แกรมม่าเลยครับ  
 เริ่มต้นด้วย บทการแนะนำตัวเลย  
 เช่น Guten Tag(*ดท์ เท็น ท้าก) สวัสดีทักทายทั่วไป
 Guten Abend (*ดท์ เท็น อาเบ็นด์) สวัดีตอนเย็น  
 Ich heisse... (อิกค์ ไหส์ เซ่) ฉันชื่อ...  
 **ภาษาอ่านที่ผมลองสะกด นั้นตามความเข้าใจ
 ของผมนะครับ ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วย**
 
 พอนักเรียนเริ่มคุ้นเคยกับประโยคง่ายๆแล้ว ก็ค่อยมีแกรม่า  
 ตามมาทีละนิดๆ... แกรมม่านั้้นเรียนได้เป็นปีเลยละครับ  
 ไม่จบง่ายๆ ดีออกจะได้ไม่ต้องท่องจำหมดทีเดียว  
 ค่อยๆเป็นค่อยๆไป...
 
 การออกเสียงนั้น รอสักนิดหนึ่งนะครับ  
 เดือนหน้า ตอนนี้ยุ่งมากเลยครับ...  
 ยังไม่มีเวลาค้นคว้า คัดมาให้อ่านครับ  
 พอเป็นแนวทางการสะกดและออกเสียงนะครับ  
 และอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับ
 ผู้สนใจภาษาเยอรมันบ้าง
 
 **แต่ถ้าคุณมีโอกาสได้เข้าเรียนในโรงเรียนสอนภาษาเยอรมัน  
 ละก็โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมใช้วิธีจำ น้ำเสียงเวลาครูสอน แล้ว  
 จด สะกดหรือท่องเป็นภาษาที่เราเข้าใจเอง  
 ว่าครวจะออกเสียงอย่างไร เพราะว่าบางเสียงในภาษาเยอรมัน  
 ไม่สามารถเทียบให้ตรงกับภาษาไทย...
 บางครั้งผมลองย้อนนึกดู ตอนเรียนภาษาอัีงกฤษ ใหม่ๆ  
 ไม่ว่่าจะชั้นประถม หรือมัธยม ที่เคยเรียนมา  
 คุณครูที่สอนภาษาอังฤษ(ตามสำเนียงคุณครู)  
 ไม่มีการเขียนเสียงในฟลิม์ให้...  
 นักเรียนแต่ละคนก็ใช้ความสามาถพิเศษ
 เวลาสอบอ่านออกเสียงให้คุณครูฟังผ่านมาได้  
 ส่วน เรื่อง accent นั้นแต่ละคนจะมีหลักการออกเสียง
 ของตัวเองแตกต่างกันไป ขอเพียงแต่ว่าผู้รับฟังเข้าใจ
 ในสิ่งที่เราต้องการสื่อ ก็นับว่าผ่านแล้วละครับผมว่า...
 
 เหมผมร่ายซะยาวเลยวันนี้ อย่าเบื่อกันนะครับ...
 เพียงแต่อยากเล่าประสบการณ์ สู่กันอ่านเฉยๆ
 ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ ในการเรียนภาษาเยอรมัน
 
 แต่วันนี้ผมมีเว็บดีๆ มาฝากครับ เป็นของ BBC UK  
 เ็ว็บเรียนภาษาเยอรมันที่มีคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ  
 เทียบด้วย ที่สำคัญเราสามารถฟังเสียงได้ด้วยบางบท  
 พอเป็นแนวทางในการฟังและ ออกเสียงได้ดีทีเดียวเลยละครับ
 
 **http://www.bbc.co.uk/languages/german/
 

kritBern

สวัสดีครับ  ไม่ได้เข้ามานาน  ขอบคุณคุณศักดานะครับ  เขียนได้ละเอียดดีจังเลยครับ   ว่าแล้ว ก็ต้องย้อนไปอ่านตอนแรก ๆ ซะแล้ว  สำหรับ web  ของ BBC  น่าสนใจมากเลยครับ  เข้าไปลองทดสอบแล้วติดใจ  ต้องแวะไปอีกรอบเหมือนกัน
 
 ขอบคุณครับ