วิธีสังเกตเพศของนาม der, die, das

Previous topic - Next topic

ศักดา

สวัสดีครับคุณป้าPall ที่เคารพ  
 วันผมพอว่างหน่อย เลยคิด ลองหาอะไรเกี่ยวกับภาษาเยอรมัน  
 (ที่ชอบเรียน) มาโพส์ ดีกว่า  
 คิดเกือบทั้งวันว่าจะลงเกี่ยวกับเรื่องอะไรดี  
 เพราะว่าเยอะเหลือเกิน(แกรม่า)
  เลยนึกถึงตอนเรียนใหม่ๆไม่เข้าใจคำนำหน้านาม
 ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร  
 จนบัดนี้ก็ยังเป็นปัญหาโลกแตกอยู่ดี  
 กว่าจะเข้าใจจับจุดได้ก็เสียเวลาเรียนนานมาก...  
 ดีที่ตอนเรียนได้เจอครูดี แนะนำพื้นฐานดีๆเหล่านี้ให้ใว้
  คิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับ คนที่ชอบเรียน
 (ภาษาเยอรมัน) บ้างไม่มากก็น้อย  
 วิธีสังเกตเหล่านี้คัดและแปลมาจาก  
 หนังสือ Grundstufen-Grammatik  
 ของสำนักพิมพ์ Hueber  
 และจากประสบการณ์ ที่เรียนมาตามความสามารถนะครับ
  พิมพ์ผิดหรือตกหล่นข้อมูลอย่างไร ก็ขออภัย
  และรบกวนผู้รู้ท่านอื่นๆ แก้ไขให้เพื่อความกระจ่าง ต่อไป  
 ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ  
 
 **วิธีสังเกต เพศของนาม ในภาษาเยอรมัน **
 
 ท่านเคยสงสัยบ้างใหมครับว่า
 ทำไม ภาษาเยอรมันถึงได้มีเพศนำหน้านาม
 ทำให้ปวดหัวอยู่เสมอเวลาเรียนภาษานี้...  
 อาจจะเป็นเพราะว่าคุณคนที่คิดค้นภาษานี้ขึ้นมา
  ไม่อยากให้น้อยหน้าภาษาอื่นในแถบเดียวกัน
  เช่นในภาษาอังกฤษ ก็จะมีa an  the  
 ส่วนฝรั่งเศส de la les
  และอื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยถึง หลายภาษาที่มีใช้...  
 ด้วยเหตุฉะนี้ หรืออะไรก็ตาม
 แต่ ทำให้ผู้เรียนอย่างเช่นผมเป็นต้น  
 คิดว่าผู้ที่คิดค้นภาษาเยอรมันขึ้นมานั้น  
 อาจจะคิดว่า ภาษาของเราชาว German  
 ต้องไม่น้อยหน้าไปกว่าใครเขา  
 เดียวจะง่ายไปสำหรับคนเรียน...  
 และอาจจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง  
 จึงมี เพศให้กับคำนามทุกตัว  
 ที่คิดค้นขึ้นมาได้นามว่า der die das  
 และยังต้องมีการผันอะไรอีกให้วุ่นวายและพิเศษพิศดารหน่อย
  เดียวน้อยหน้า...  
 
 ผมเคยอ่านจากหนังสือพิมพ์ Die WELTWOCHE  
 เจอคอลัมล์หนึ่งเขียนเกี่ยวกับ เรื่องของ เพศของนาม
  ตัดตอนโพส์มาให้อ่านเกริ่นๆก่อนดังนี้  
 «Nie werde ich begreifen,  
 warum die Milch weiblich,  
 der Käse männlich und
  das Jogurt vorzugsweise sächlich ist,  
 obwohl doch alle drei von  
 der Femininen Kuh stammen»  
 ฉันคงจะไม่มีวันเข้าใจ ว่าทำไม
  นม เป็นเพศหญิง ชีส เป็นเพศชาย  
 และ นมเปรี้ยว ไม่มีเพศไปเสียนี่  
 แม้ว่า สามสิ่งเหล่านี้ ก็มาทำมาจาก แม่วัว เช่นเดียวกัน...  
 
 ครับมาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
 เดี๋ยวจะเบื่อก่อนที่จะอ่านให้จบ หาว่าให้แต่น้ำ ไม่มีเนื้อ(หา)เลย...
  ไม่มาอ่านอีกแล้ว...  
 
 **วิธีสังเกตุนะครับ**
   
 **นามในภาษาเยอรมันมี ดังนี้ **
 
 **เอกพจน์ der ( Maskulinnum คำนามเพศชาย,  
 **die (Femininumคำนามเพศหญิง),  
 **das (Neutrum อลิงค์นาม(แต่ผมเรียกเองว่านามไม่มีเพศ  
 หรือว่านามที่เป็นกลาง  
 เพื่อความเข้าใจดีกว่าที่จะแปลตามภาษาแปล อีกที))  
 **ส่วนพหูพจน์ die (คือมากกว่าสองขึ้นไป)  
 
 **การสังเกตคำนาม เพศชาย der (Maskulinnum) **
 - นามที่บ่งบอกว่าเป็นเพศชาย และ สัตว์ชนิดต่างๆ เช่น
  der Vater, der Affe, der Vogel  
 - วัน และ เดือนต่างๆ ฤดูทั้งสี่ เวลา  
 der Montag, der Mai, der Winter, der Morgen  
 - อากาศ ทิศทาง  
 der Regen, der Osten, der West  
 -เอลกอฮอล์ ชนิดต่างๆ (ยกเว้น เบียร์ das Bier)
  der Wein, der Schnaps  
 - ภาพพจน์ของนามที่บ่งบอกว่าเป็นอาชีพของ เพศชาย
  der Arzt, der Lehrer, der Maler...  
 ถ้าจะเติมคำนามเหล่านี้ให้เป็นสตีรเพศละก็  
 เพียงแต่เติม —in ต่อท้ายไปเช่น
  die Lehrerin,  
 die Malerin,  
 die Ärztin  
 (อันนี้เพิ่มจุดข้างบนบนสระอีก พิเศษหน่อย ต้องจำเอา เป็นนามเฉพาะตัว)...  
 
 **การสังเกตคำนามเพศหญิง die (Femininum) **
 -นามที่บ่งบอกว่าเป็นเพศหญิง  
 die Tante, die Mutter  
 (ยกเว้น das Mädchen เด็กผู้หญิง)  
 -พืช (บางอย่าง) die Rose,  
 die Tulpe  
 -ภาพพจน์ของนามที่บ่งบอกว่าเป็นอาชีพของเพศหญิง
  เพียงเติมต่อท้าย—in เข้าไปเช่น  
 die Lehrerin,  
 die Malerin /  
 die Ärztin (อันนี้เพิ่มจุดข้างบนอีกพิเศษหน่อย
  ต้องจำเอา เป็นนามเฉพาะตัว),  
 แต่ยกเว้นอาชีพแม่บ้านนะครับ คือ  
 die Hausfrau  
 ไม่ต้องเติมจุดอะไรทั้งสิ้น เติมใจและความรักอย่างเดียว  
 - นามที่มีรากศัพท์มาจากกริยา และ ที่ต้องเติม t ต่อท้าย fahren
  เป็น die Fahrt  
 
 **การสังเกตุคำอลิงค์นาม das (Neutrum)  
 -การทำกริยาให้เป็นนามนั้น ถ้าอยู่ในรูปเดิม  
 ( Infinitiven )และจาก คุณศัพท์ (Adjective)  
 จะ เป็น das ตลอด เช่น
  กริยา essen  
 เป็น das Essen , Adj. gut เป็น Gute...  
 
 หลัการสังเกตอีกวิธีหนึ่งก็คือ  
 ดูคำลงท้ายของนามว่าลงท้ายด้วยตัวอะไรบ้าง อย่างเช่น  
 Maskulinnum คำนามเพศชาย der  
 -ismus, -ling, -or, -us, -ant, -är, -eur,
  -ist, -log, -teil ,-mus  
 
 Femininumคำนามเพศหญิง die  
 -ung (die Rechnung), -heit (die Freiheit),
  -keit (die Freundlichkeit des Thais
  (ชาวสยามที่มีแต่น้ำใจครับ ดังเช่นในแว็บแห่งนี้),  
 -schaft (die Thaisgemeinschaft), -ion, -ei, -ie, -ur  
 
 Neutrum คำอลิงค์นาม das  
 -chen, -lein, -tel, -o(das Auto),-ium (das Studium)  
 
 และคำนามที่ลงท้ายบ่อยครั้งด้วย -er  
 จะ เป็น der / -e จะเป็น die (die Lampe, die Suppe)/ -um (das Zentrum) ment (das Appartement)  
 จะเป็น das  
 
 ส่วนการ ทำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์นั้น
 ก็มีวิธีสังเกตและกระบวนการอีกในการขยายนาม เช่นเดียวกัน  
 -นามที่ลงท้ายด้วย —er, -en, -el, -chen, -lein  
 เพียงแต่เติม die นำหน้านามเข้าไปก็จะเป็นพหูพจน์ทันที  
 แต่บางตัว อย่างเช่น  
 der Apfel  
 จะต้องแต้มจุด จุดสองตัวให้ด้วย เป็น
  die Äpfel  
 -คำนามเพศชาย der หลายตัว  
 ที่เพียงแต่เติม e หลังนามก็จะ เป็น พหูพจน์ ทันที เช่น  
 der Tisch- die Tische  
 -คำนามเพศชาย der บางตัว
  จะต้องแต้มจุดสองตัวให้ด้วย (กลัวน้อยหน้า) เช่น
  der Mann — die Männer  
 -คำนามเพศหญิง die และ คำอลิงค์นาม das  
 ที่มีพยางค์เดียว จะเติมจุดสองจุด ..
 ให้กับสระและลงท้ายด้วย -e เช่น  
 die Maus /die Mäuse  
 คำนามเพศหญิง die โดยส่วนใหญ่แล้ว  
 ที่ เวลาเป็นเอกพจน์ ลงท้ายด้วย —e  
 เป็นพหูพจน์ ก็เพียง เติม —n อย่างเดียวเท่านั้น  
 (เห็นใหมง่ายนิดเดียว)  
 - และ นามท่านสตรี die  
 บางท่านนะครับที่ไม่ลงท้ายด้วย -e
  ก็เติมเพียง —en ลงท้าย เท่านั้นก็เป็นพหูพจน์  
 
 คำอลิงค์นาม das  
 ที่ลงท้ายด้วย —a, -i, -o  
 และที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอื่นหลายตัว  
 ก็เพียงเติม —s ต่อท้าย เช่น
  das Auto/ die Autos  
 -คำอลิงค์นาม das ที่มีพยางค์เดียว(อีกแล้ว)  
 จะเติม —er ลงท้าย เช่น  
 das Kind- die Kinder  
 
 สระ a, o, u  
 ในนามพหูพจน์ ก็โดยส่วนมากจะเปลี่ยนรูป
  เป็น ä, ö, ü  
 และสุดท้ายของวันนี้ นามที่ผันแบบที่สอง
  Deklination Tzp 2 (n-Delination)  
 นั้นวันนี้ไม่ขอกล่าวถึงมานะครับ
 เพราะว่านี้หาเยอะ และ ต้องจำอย่างเดียว
  ถ้ามีใครถามถึงก็ยินดีครับที่ค้นและคว้ามาให้อ่าน
 ในคราวต่อไป สวัสดีครับ ขอบคุณที่อ่าน...  
 

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0003 ห้อง learning_german (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall

สวัสดีค่ะคุณศักดา  
 ขอบคุณมากเลยค่ะป้าก็นั่งอ่านเรียนไปด้วย  
 ดีค่ะอยากให้สอนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานแบบนี้เลย  
 เพราะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เริ่มเรียนภาษาเยอรมัน  
 เกี่ยวกับพหูพจน์นี้ยอมรับค่ะว่า  
 สมัยก่อนหรือบางครั้งสมัยนี้ป้าจะใช้ผิดมากและงงมาก  
 เพราะไม่มีคนสอนและไม่ได้ไปโรงเรียนนอกจากถามลุง  
 ภาษาเยอรมันยากมากและมีบางคำที่สับสน  
 ถ้าคนไม่เคยชินจะงงยกตัวอย่างเช่น  
 **ตัวอย่าง**  
 das Tischchen...(เอกพจน์).....โต๊ะเล็กตัวเดียว  
 die Tischchen...(พหูพจน์)..โต๊ะเล็กหลายตัว  
 
 และอีกค่ำหนึ่งที่บางคนอาจะเห็นการเขียนที่แตกต่างกัน  
 ยกตัวอย่างเช่นค่ำว่า  
 ü ....ue  
 ทั้งสองคำเหมือนกันอย่างแท่นพิมพ์ของป้าไม่สามารถเขียนคำว่า  
 ü ...ได้ต้องเลี่ยงมาใช้....ue ...แทน  
 ขอบคุณอีกครั้งนะคะถ้าไม่ค่อยมีคนเข้ามาแจมหรือเขียนอะไร  
 อย่าน้อยใจนะคะว่าเขียนเมื่อยมือไม่มีคนเข้ามาคุยดัวย  
 คุณมีลูกศิษย์ธิอย่างน้อยป้าคนหนึ่งค่ะ
 ที่จะตามอ่านของคุณตลอด

ศักดา

ขอบคุณมากครับคุณป้าPall  
 สำหรับกำลังใจ ที่ให้มา
  ผมคิดว่าไม่น้อยใจแน่นอนครับ  
 เพราะทำด้วยใจรัก  
 ไม่ได้หวังสิ่งผลหรือสิ่งตอบแทนใดๆทั้งสิ้น  
 ต้องขอขอบคุณคุณป้ามากครับที่เปิดโอกาส  
 ให้ใช้เนื้อที่ที่นี่
 คุณป้าครับผมตรวจดูแล้ว กับคำนามว่า
  der Tisch นั้นดูในดิก  
 Langenscheindts Deutsch als Fremdsprache นั้น
  คำนามเป็นเพศชายครับ คัดมาดังนี้ครับ  
 Tisch der; -(e)s(Gen.), -e(Pl.);  
 1 ein Möbelstück aus einer waagrechten Platte  
 und meist vier Stützen (Beinen),  
 auf das man Dinge legt, an dem man isst usw  
 (c) 1999 Langenscheidt

pall

สวัสดีค่ะคุณศักดา  
 ภาษาเยอรมันข้างบนที่ป้ายกมานั้นจะไม่มีคนใช้หรอกค่ะ  
 เป็นคำศัพย์ที่คิดว่าคงใช้ในหนังสือเทพนิยายซึ่งเป็นโต๊ะตัวเล็กมาก  
 เดินไปถามลุงมาแกบอกว่าใช่คำที่ป้าเขียนนั้นเขียนถูก  
 แกพูดเสร็จแล้วก็ออกไปทำงานถ้าป้าเขียนผิดถูกต้องขอโทษด้วยนะคะ  
 

ศักดา

เติมศัพท์เพิ่มอีกตัวครับ
 เกี่ยวกับการทำนามให้เป็นสิ่งแล็กๆ
  กับคำลงท้ายของคำนาม ว่า
  -chen DE VS -lein CH  
 ดังเช่นที่คุณป้าเขียนมาว่า  
 das Tischen die Tischen โต็ะตัวแล็ก  
 ผมคัดมาจากดิก  
 Langenscheindts Deutsch als Fremdsprache
  ที่ใช้อยู่ดูแล้วถึงได้รู้ว่าที่มาที่ไปเป็นดังนี้ครับ
  ครูที่สอนเคยบอกว่า ถ้าคำนามที่ ลงท้ายด้วย
  -chen, / -lein นั้น เป็น das โดยส่วนใหญ่ครับ  
 
 -chen das; -s, -; sehr produktiv;  
 verwendet, um die Verkleinerungsform eines Substantivs zu bilden (meist in Verbindung mit Umlaut des betonten Vokals) -lein; Bäumchen, Bildchen, Häuschen, Hündchen, Pferdchen, Tännchen  
 คำว่า -chen นี้ใช้เพื่อที่จะ ทำให้นามนั้นมีความหมาย
 ว่าเป็นสิ่งที่เล็กลง เวลาสร้างนาม  
 (โดยส่วนมาแล้วจะเติมจุด สองจุด  
 นี้ ¨ ที่เรียกว่า อุมเล้าท์ Umlaut ที่สระ ที่จะเน้นเสียง)  
 ดังตัวอย่างที่ปรากฏนี้ โดยปรกติแล้ว  
 der Baum ต้นไม้  
 แต่ถ้าเป็นต้นไม้เล็กก็ต้อง
  das Bäumchen,  
 Bildchen รูปเล็ก,
  Häuschen บ้านหลังเล็ก,
  Hündchen หมาตัวเล็ก  
 
 || NB: nicht nach Substantiven auf -ch:
  Bächlein, Büchlein  
 -lein(c) 1999 Langenscheidt  
 กฏข้างต้นนี้ไม่เป็นไปตามการสร้างรูปนาม  
 ในภาษาเยอรมันที่ใช้ในสวิสฯ นะครับ
  ในภาษานี้จะใช้ คำว่า -lein บ่อยมาก
  มีความหมายคล้ายกันกับ -chen ครับ  
 
 แต่ถ้าเราจะใช้คำนามที่เราเข้าใจกันโดยปกติแล้ว
 ก็จะเรียกแบบธรรมดาๆ เช่น  
 บ้าน das Haus,  
 der Hund  
 ก็จะเป็นที่เข้าใจได้ดี แต่ถ้าเราสามารถใช้ คำ
 ให้เห็นถึงความแตกต่างได้  
 ก็จะทำให้ภาษานั้นสละสลวยขึ้นไปอีก
  แต่ก็ต้องดูถึงความเหมาะสมด้วยว่า
 จะใช้ได้หรือเปล่าแล้วแต่สถานการณ์และการสื่อ...
  ครับทุกวันนี้ผมก็ยังฝึกๆ อยู่เช่นกันครับ  
 

pangya

สวัสดีค่ะคุณศักดา
  น่าสนใจจัง จริงๆแล้วปังไม่ชอบและไม่อยากเรียนเลย  
 รู้สึกว่าทำไมยากจัง แต่อย่างว่าแหละ โดนบังคับ  
 กำลังจะเริ่มเรียนวันจันทร์นี้ค่ะ  
 ตอนนี้รู้สึกกลัวๆ ยังไงไม่รู้  
 ถ้ายังไงขอฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ด้วยคนนะคะ
  ห้ามปฏิเสธด้วย 555555  
 
 ยินดีที่ได้รู้จักคนเก่งค่ะ

krit von bern

สวัสดีครับ ศักดา ...
 .ขอบคุณมากสำหรับ ข้อสังเกตุเรื่อง der die das
  ตามหามานาน ไม่มีใครเคยให้คำตอบได้อย่างคุณเลย เพราะทุกคนจะบอกแต่ว่า ยากต้องจำเอาเอง  
 ได้ข้อสังเกตุอย่างนี้ก็มีประโยชน์หลายหละครับ .....
 ว่าง ๆ จะตามมาอ่านอีกนะครับ  
 ตอนนี้กำลังเริ่มฟิตภาษาด้วยความจำเป็น
  ยังไม่รู้เลยว่าจะได้แค่ไหน

ศักดา

สวัสดีครับคุณ krit von bern  
 ขอบคุณครับที่ผ่านมาอ่าน ครับ
 ถ้าหากผมว่างอีกเมื่อไรจะหาแกรมม่า  
 ที่คิดว่าน่าสนใจมาโพส์ให้อ่านอีกครับ  
 ดีใจที่ข้อเขียนพอเป็นประโยชน์ให้คุณบ้าง
 ในการเรียนภาษาเยอรมัน เป็นกำลังใจครับ  
 ขอให้คุณเรียนภาษานี้ให้ได้ดีดังที่หวังและตั้งใจนะครับ  
 
 ถ้าคุณมีคำถามเกี่ยวกับภาษาเยอรมัน...
  ที่ผมพอช่วยได้ตามความรู้ความสามารถ
 ที่มีอยู่บ้างละก็ ผมยินดีตอบเสมอ
  เชิญถามมาได้เลยนะครับ  
 

น้องต่ายค่ะ

มีประโยชน์มากค่ะ คุณศักดา นั่งอ่านไปเพลินๆ สนุกกว่าครูสอนอีกนะคะ จะติดตามอ่านตลอดค่ะ

แม่จิ๋วจิ้ว สยิวกิ้ว

สวัสดีค่ะคุณศักดา  ดีจังคุณป้าเปิดห้องเรียนให้แล้ว
 
 ที่มิโกร  ครููก็บอกวิธีสังเกตเพศจากอักษรท้ายคำเหมือนกัน  เหมือนที่คุณศักดาเขียนบอก  แต่มีบางคำเป็นคำยกเว้น  เป็น der die หรือ das โดยไม่มีเหตุผล  ไม่ทราบว่าคุณศักดาพอจะมีตัวอย่างคำเหล่านี้บ้างไหมคะ  คือครููเคยยกตัวอย่างให้ดูู  แต่จดทันบ้างไม่ทันบ้างอ่ะค่ะ  แบบว่าบางทีเรียนไม่ทันเพื่อน  มัวแต่เปิดดิกฯ
 
 วันนี้ครููสอนเรื่อง adj. และการเปรียบเทียบค่ะ  เช่นคำว่า ดี ( gut ) ดีกว่า ( besser ) ดีที่สุด ( am besten ), เล็ก ( klein ) เล็กกว่า ( kleiner ) เล็กที่สุด ( am kleinsten ) น่ะค่ะ  แต่ยังไงแม่จิ๋วจิ้วฯก็จะรออ่านจากคุณศักดาอีกทีนะคะ เพื่อทบทวนบทเรียน
 
 ขอเสนอบทเรียนเกี่ยวกับเวลา ( วันนี้ เมื่อวานนี้ พรุ่งนี้ มะรืน เมื่อวานก่อน สัปดาห์หน้า ปีก่อน ฯลฯ ) และเครือญาติ ( สามี ภรรยา พ่อ แม่ พ่อสามี แม่สามี ลูกเขย ลูกสะใภ้ หลานชาย ฯลฯ ) ด้วยค่ะ แล้วแต่คุณศักดาจะมีเวลาจัดให้นะคะ  ขอบคุณล่วงหน้าค่า  

แม่จิ๋วจิ้ว สยิวกิ้ว

แหะๆว่าจะนินทาเกี่ยวกับภาษาเยอรมัน  เกือบลืม
 
 เวลาท้อเรื่องเรียนภาษา  แม่จิ๋วจิ้วฯจะบ่นกับคนข้างตัวประจำว่า  ภาษาอะไรก็ไม่รู้  ช่างยากเย็นเสียจริงๆ กลุ่มคนที่คิดภาษานี้เขาคิดกันได้ยังไงนะเรื่องหาเพศให้คำนามเนี่ย  ฉันล่ะเครียดๆๆๆมากเีื่รื่องหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำไมอันนี้ต้องเป็นเพศหญิง  อันโน้นต้องเป็นเพศชาย อันนั้นต้องเป็นเพศกลาง  มีวิธีเดียวคือท่องจำๆๆๆ ใช่ไหม  แล้วถ้าจำไม่ได้ประโยคทั้งประโยคก็ผิด เพราะกริยาผันตามนาม  แถมพวกคนต้นคิดภาษาเยอรมันนี้ ยังอุตส่าห์ทำให้มันยุ่งยากขึ้นไปอีก โดยการเปลี่ยนผันคำนำหน้านามให้ต่างออกไป เวลาคำนั้นทำหน้าที่เป็นกรรมตรง หรือกรรมรอง die Frau ( ผู้หญิง ) อยู่ดีๆ  พอเป็นกรรมรอง ไหงเปลี่ยนเป็น der Frau ซะงั้น
 
 ฉันล่ะอยากให้คนในโลกนี้หันมาพูดภาษาไทยกันจัง  ภาษาำไทยของพวกฉันไม่มีทั้ง verb ไม่มีทั้ง article ไม่มี tense ด้วย  ฉันจะ "ไป" ไหนวันนี้ หรือ "ไป" วันพรุ่งนี้ ก็ "ไป" ตัวเดียวกัน  ไม่เห็นต้องเปลี่ยนจาก gehen เป็น gegangen เหมือนภาษาเยอรมันหรือ go เป็น went เหมือนภาษาอังกฤษเล๊ยยยย  ทำไมพวกคุณชอบพูดภาษาอะไรที่มันช่างยุ่งยากขนาดนี้  
 
 บ่นแบบนี้เกือบทุกวันค่ะ  แต่สุดท้ายก็ต้องยอมทนเรียนต่อไป  เพราะทำไงได้  ก็มาอยู่บ้านเมืองเขาแล้ว มันก็ต้องพยายามพูดภาษาเขาให้ได้อ่ะ  เพื่อความอยู่รอดต่อไป

แม่จิ๋วจิ้ว สยิวกิ้ว

ขอแก้คำผิดจาก "กริยาผันตามนาม" เป็น "กริยาผันตามประธาน" ค่ะ แหะๆ พิมพ์เพลินไปหน่อย

ศักดา

สวัสดีครับคุณแม่จิ๋วจิ้ว สยิวกิ้ว
 เข้าใจครับว่าการเรียนภาษานี้บางครั้งก็ท้อเหมือนกันครับ
 อย่างผมตอนนี้ก็จะเริ่มเรียนอีกแล้ว... ยิ่งเรียนสูงเนื้อหาก็จะยากขึ้นไปอีก ตอนเรียนความรู้ทั่วสำหรับผู้ใหญ่ที่ผ่านมานั้น ได้เรียนหลายอย่าง กฏหมายเบื้องต้น การเมือง เศฐษสาตร์ วัฒนธรรม ทั้งห้องมีนักเรียนต่างชาติอยู่แค่ สามคน นักเรียนทั้งหมด 18 คนที่เหลือชาวสวิส เคยท้อที่จะไม่เรียนมาแล้วก็มีว่าทำไมมันยาก... เสียเหลือเกิน แค่ภาษาก็จะยังไม่รอดแล้วยิ่งเจอวิชา เหล่านี้ด้วย...
 แต่ก็ดำดิน จบกับเขามาได้ ดีที่ได้เพื่อนดีคอยช่วยเหลือและอธิบายเวลาผมไม่เข้าใจ ในบางครั้ง...  ที่สำคัญกำลังใจจากที่บ้านครับช่วยได้มากเลย...
 
 สำหรับคำถามที่คุณแม่แม่จิ๋วจิ้ว สยิวกิ้ว ตั้งมานั้นขอตอบเป็นแนวๆ ตามนี้เลยนะครับ (อาจจะยาวไปหน่อยนะครับ แต่ ละเอียดมาก...)
 ส่วนบทอื่นๆที่แนะนำมา หลังจากไปเที่ยวมาแล้ว ผมจะนำมาเสนอต่อไปนะครับ ขอบคุณครับที่แนะนำ
 
 ***คำนามบางตัวที่ไม่ใช้คำนำหน้านาม Nullartikel มีวิธีการใช้ดังนี้
 
 * พหูจน์ที่มาจาก นามไม่เฉพาะเจาะจง  
 (Plural von unbestimmtem Artikel  
 >Z.b. ein, eine, ein รูปนี้จะไม่มีพหูพจน์) เช่น  
 Haben Sie Kinder?คุณมีลูกหรือเปล่า ครับ?
 Haben Sie Wein? คุณมี ไวน์หรือเปล่าครับ?
 แต่ถ้าตอบ จะเป็น Ich habe keine.  ฉันไม่มี
 
 *  ชื่อของบุคล เช่น
 Ich heisse Sakda. ผมชื่อศักดา
 Das ist Khun แม่จิ๋วจิ้ว สยิวกิ้ว.  
 นี่คือคุณแม่จิ๋วจิ้ว สยิวกิ้ว (ใช้เป็นการแนะนำตัว)
 
 * ชื่อเมือง ประเทศ ทวีป
 Ich lebe in Bern. ผมอาศัยอยู่เบริน์
 Ich komme aus Thailand. ผมมาจากประเทศไทย
 Wir leben in Europa. พวกเราอาศัยอยู่ทวีปยุโรป
 
 **แต่ มีบางประเทศที่จะต้องมีคำนำหน้านาม  เช่น
 die Schweiz, die Türkei, die Vereinigten Staaten(von Amerika) (USA), die Nierlande...
 เวลาแต่งประโยคก็จะต้องใช้คำนำหน้านามควบคู่ไปเช่น
 Ich komme aus der Schweiz. ฉันมาจากประเทศสวิสฯ
 Ich gehe in die Türkei. ฉันจะไปประเทศ ตุรกี
 
 * แสดงถึงเวลาที่ไม่ใช้ร่วมกับ คำบุพบท  
 (Zeitangaben ohne Präposition)
 โดยปกติแล้วเราจะเขียนบอกเวลา จะใช้คำบุพบทด้วยเช่น
 Am nächsten Montag gehe ich  nach Zürich. วันจัทรหน้าฉันจะไป ซูริค แต่ ถ้าเราไม่ใช้ คำบุพบท ไม่ต้องใช้คำนำหน้านาม เช่น
 Ich komme nächste Woche.  ฉันมาอาทิตย์หน้า
 
 * บอกอาชีพ
 Er ist Arzt.  เขาเป็นหมอ
 Sie ist Leherin. หล่อนเป็นครู
 Er ist Schreiner. เขาเป็นช่างไม้
 
 * แสดงถึงสัญชาติ
 Ich bin Thailänder. ผมเป็นคนไทย  
 หรือจะเขียนเป็นกลางก็ได้ ว่าThai  
 Sie ist Schweizerin. หล่อนเป็นคนสวิสฯ
 Sie ist Engländerin. หล่อนเป็นคนอังกฤษ
 
 * แสดงถึง มาตราการตวง ขนาด น้ำหนัก เช่น
 Geben Sie mir bitte zwei Kilo Kartoffeln mit.  
 ขอให้คุณนำมันฝรั่งมาให้ฉันด้วย สองกิโล
 Ich hätte gern ein Liter Milch. ฉันต้องการนมหนึ่ีงลิตร
 
 *  ไม่แสดงถึงจำนวน เช่น
 Ich brauche mehr Geld. ฉันต้องการเงินเพิ่ม
 Brauchst du noch Geld? คุณต้องการเงินเพิ่มอีกไหม?  
 (Ja, grene...)
 Möchten Sie noch merh Reis. คุณต้องการข้าวเพิ่มอีำกไหมครับ?
 
 * วัตถุ สสาร สาร ผ้า เช่น
 Die Bluse ist aus Baumwolle. เสื้อ(ผู้หญิง)ตัดเย็บมาจาก ผ้าฝ้าย
 Diese Münze sind aus Silber. เหริยญเหล่านี้ทำมาจาก แร่เงิน
 
 * คำสำนวน เช่น
 Ende gut, alles gut.  ตอนจบดี ดีหมด  
 
 *** อ้างอิงจาก(Vgl.)Monika Reimann, Grundstufen-Grammaitk, S. 107, Heuberverlag  
 
 

ศักดา

แก้ประโยคนี้นะครับ พิมพ์สลับตำแหน่งอีกแล้ว...  
 จาก merh แก้เป้น mehr  
 
 *  Möchten Sie noch mehr Reis.  
 คุณต้องการข้าวเพิ่มอีำกไหมครับ?

pall

สวัสดีค่ะคุณแม่แม่จิ๋วจิ้ว  
 พอดีฝ่านกำลังอยู่ในช่วงหยุดเรียนเลยรีบเรียกตัวมาเปิดห้อง
 ให้ใหม่ก่อนที่จะไม่มีเวลาอีก..และป้าเองคิดว่าต่อไป
 คงจะไม่มีเวลาเข้ามาทักทายเหมือนเดิม
 ช่วงนี้เลยรีบๆทำอะไรให้เสร็จก่อนที่จะไม่มีเวลาเลย
 ดีใจค่ะที่คุณศักดาเสียสละเวลาส่วนตัวอันมีค่า
 เข้ามาสอน..ให้ข้อมูลภาษาเยอรมัน
 
 
 สวัสดีค่ะคุณศักดา
 ป้าอ่านที่คุณเขียนแล้วเกิดความสนใจมากจริงๆ
 ที่คุณเขียนว่า...
 
 ***ตอนเรียนความรู้ทั่วสำหรับผู้ใหญ่ที่ผ่านมานั้น  
 ได้เรียนหลายอย่าง กฏหมายเบื้องต้น การเมือง เศฐษสาตร์ วัฒนธรรม **
 
 ถ้าคุณมีข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับ
 กฏหมายเบื้องต้น การเมือง เศฐษสาตร์ วัฒนธรรม  
 
 ป้าคิดว่าจะดีมากเลยค่ะถ้าคุณเข้ามาเขียน..
 หรือให้ข้อมูลแบ่งปันความรู้อันมีประโยชน์..
 เป็นวิยาทานแก่คนไทยอื่นๆ....
 นับว่าเป็นวิทยาทานอันมีค่าอย่างยิ่ง...