News:

ยินดีต้อนรับ สู่ Pall Swiss เว็บบอร์ดตัวใหม่



<<<...Kartoffeln ...>>>

Previous topic - Next topic

ป้าพร Stockholm

หวัดดี น้องชาดำ ป้าพรหนะ ก็เขียนเหมือนที่เราอยากจะคุย จะพูด และก็ใช้คำพูดแบบ ตัวตัวของเรา ไม่ใช่ เขียนแบบ นักขงนักเขียนอะไรหลอกจ๊ะ ป้าพรเองก็ชอบเข้ามาอ่านทุกคน ที่เขียนมาคุย เพราะว่า คุยแล้ว รู้สึก ว่าการคุยของแต่ละท่าน เป็นธรรมชาติดี  
 
 พวกเราว่าไหม จริงๆที่เมืองไทยเราเนีย มีมัน อยู่หลายชนิดทีเดียวหนะ ไม่รู้ไปเอาพันธ์ มาจากไหนกัน อย่างเช่น มันหัวเสือ,มันแกว,มันต่อเผือก (จะมีสีม่วงผสมอยู่ด้วยรสชาติหวานทีเดียว) สมัยเด็กๆป้าพรชอบซื้อ แม่ค้าเข้าต้มมาขาย แล้วก็มีมันสำปะหลัง,มันเทศที่เอามาทอดขาย กับ กล้วยแขกนั่น แถมเอามาผสมแป้งทำ ขนมไข่นกกะทา ก็ได้  
 เอาไปเชื่อมก็ได้ เอาไปต้มน้ำตาลใส่น้ำแข็งใสก็ได้อีก แล้วก็มีมันอะไรหนะจำชื่อไม่ได้ หัวเล็กๆ แม่ค้าปอกเปลือกแล้วเอาไปแช่น้ำปูนใส ก่อนนำไปเชื่อมขาย พอเชื่อมออกมา แล้วเจ้ามัน ชนิดนี้จะมี สีเหลืองทองเข้ม ดูน่ารับประทานมาก และเจ้ามันชนิดนี้ ที่สวีเดน  
 และ ทางยุโรปเนีย ก็มีขาย ที่สวีเดน เรียกว่า มันหวาน แหมต้องเป็นการปรุงอาหาร แบบชนิดพิเศษ มาก ถึงจะใช้เจ้ามันชนิดนี้ทำ เพราะราคา แพงมากกิโลละ 30-40 โครนทีเดียว ปกติราคามันฝรั่งที่ สวีเดน นี่จะเสนอราคา กิโลกรัมละ 5-8 โครน กันทีเดียว ราคาแต่ละร้าน ก็ต่างกันไป แต่สูงต่ำ ไม่เกินราคานี้  
 
 แล้วก็ยังมีมันสำปะหลัง ที่พวกผิวดำ ชาวอัฟริกา เขารับประทานกันเป็นประจำ อยู่แล้ว ที่สวีเดนมีขายประจำ แต่คุณภาพ สู้มันสำประหลัง ของเมืองไทยไม่ได้ เพราะมันที่ว่านี้จะแข็ง และไม่ค่อยมีน้ำเท่าไหร่ ป้าพรเคยซื้อมา กะว่าจะมาทำขนมมันสักหน่อย โฮ้ไม่ได้เรื่องเลย มันไม่มีน้ำมากทำให้ขนมไม่เหนียวนิ่ม ตามที่ต้องการ  
 ป้าพร เคยเห็น รายการอาหารทางทีวี ก็นำเจ้ามันสำปะหลังเนีย  
 มาต้ม กินกับ อาหารเหมือนกัน แต่ไม่ได้รับความนิยม เท่าไหร่  
 
 แล้วที่เมืองไทยเรายังมี หัวกอย อีก ที่เอามามูลผสมกับ ข้าวเหนียวมูล แล้วเจ้าหัวกลอยเนีย มันจัดอยู่ใตตระ*ลไหน กัน หละป้าจ๋า ป้าจ๋ารู้จัก หรือเปล่า ถ้าป้าจ๋ารู้จัก มาเล่าให้ฟังหน่อยซิจ๊ะ  
 เขาว่า มันคันด้วย เจ้าหัวกอย เนีย ป้าพรเองก็ยังไม่เคยเห็น ตอนที่ยังเป็นหัว ก่อนจะนำมามูลกับ ข้าวเหนียวสักที มาเห็นอีกทีก็ตอนที่ ไปสั่งแม่ค้า ใส่ห่อ ลาดกะทิ โรยด้วยมะพร้าวขูด และน้ำตาลทรายผสมงาคั่ว โป๊ะหน้าไปแล้ว หนะจ๊ะ อิ อิ  
 
 เดี๊ยวนี้คนที่เมืองไทย เขากินหัวอะไรต่อมีอะไรกันหลายอย่างเพราะ ช่วงนี้สมุนไพรไทย กำลังดังมาก ป้าพรเคยได้ยินเขาเรียกว่า หัวบุก หัวบุบ อะไรเนีย ไม่รู้ใครเคยได้ยิน และ รู้เรื่องราวบ้าง เอามาเล่าสู่กันฟัง เป็นความรู้รอบตัวหน่อยซิจ๊ะ

black tea

อ่านป้าพรเขียนไป น้ำลายยืดไปด้วยค่ะ  
 ป้าพรว่าไหมคะว่า มันเทศ(หรือเปล่า) ที่หัวโตๆ น่ะค่ะ สีม่วงๆด้วย  
 พอต้มแล้ว เขาก็ทำบักให้มันเป็นร่องๆ (เรียกถูกไหมเนี่ย) แล้วก็เชื่อม  
 น้ำเชื่อมข้นๆ หน่อย โอ๊ยชาดำชอบกินมากค่ะ  
 แล้วก็*หัวกอยอีกนะคะป้าพร ชาดำก็ไม่เคยเห็นตอนเป็นหัวเหมือนกัน  
 เห็นแต่ตอนที่เขาเอามาล้างเสร็จแล้ว สมัยเป็นเด็กยายจะทำให้กิน  
 แต่เพราะตอนนั้นไม่ได้สนใจหรอกว่าทำยังไง เลยไม่เคยเห็นหัวกอยซักที  
 ยายบอกว่ามันคันมาก ต้องล้างน้ำมากๆ หลายๆ น้ำ แล้วก็แช่น้ำค้างคืนไว้อีก  
 ถ้าล้างไม่ถึง มันจะเป็นพิษเอา คนเลยไม่ค่อยทำกินกันค่ะ เพราะเสียเวลาและยุ่งยากมาก  
 สมัยนี้ก็ยังเห็นทำกันอยู่ แต่ชาดำว่าสู้คนสมัยก่อนทำไม่ได้ค่ะ เพราะรสชาติจะต่างกัน  
 จากที่เขาทำขายกันตามท้องตลาด ตอนนี้ยายแก่เกินไป ทำให้กินไม่ไหวแย้ว เลยต้องซื้อเขาพอหายอยาก  
 หัวกอยแค่เอามานึ่งแล้วผสมน้ำตาลออกหวานนิดหน่อย ก็สุดยอดแล้วค่ะ

pall

#17
https://www.google.ch/search?q=%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=Nwg2U9jkFoqFhQeps4H4Dg&sqi=2&ved=0CAYQ_AUoAQ&biw=1120&bih=537

เอาหัวกลอยมาให้ดูจ๊ะน้องพร กลอยเป็นไม้เถา  
ลำต้นกลมหัวอยู่ใต้ดิน  
เปลือกสีเทาหรือสีฟาง เนื้อสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน  
มีชื่อเรียกแล้วแต่ท้องถิ่นมากมาย  
เช่นกลอยข้าวเหนียว, กลอยนก, กลอยหัวเหนียว, กอย, ครี้, มันกลอย  
 
ป้าชอบกินมากเหมือนกันกลอยแต่ทำยากมากนะ  
เพราะกลอยถ้าทำไม่เป็นจะมีพิษต้องคนทำเป็นและชำนาญ  
คนแก่ๆนบ้านนอกนี่เก่งมาก  
ป้าชอบมากถ้ายายทำขนมใส่กลอย  
หรือทำกล้วยแขกทอดแบบคนโบราณอร่อยมาก  
หากินไม่ได้แล้วมีแต่กล้วยทอดแบบสมัยใหม่  
 
ตอนเป็นเด็กมากๆเคยเห็นคนกินกลอยแล้วเป็นพิษป่วยมาก  
มีอาการอาเจียน วิงเวียน คลื่นไส้  
พออาเจียนจนหมดท้อง อาการจึงเริ่มดีขึ้น  
แต่ก็มีนะคนตายเพราะการกินกลอย  
 
 
กินกลอยนี่ต้องระวังให้มากๆ หากรับประทานหัวกลอยมาก  
จะกดระบบทางเดินหายใจ และทำให้ตายได้  
ดังนั้น การนำหัวกลอยมาใช้ประโยชน์เป็นอาหาร  
ต้องใช้ความชำนาญและเวลามาก โดยมีการหั่นเป็นชิ้นบางๆ  
นำไปล้างในน้ำไหล หรือต้มในน้ำเกลือ  
โดยเปลี่ยนน้ำล้างหลายหน  
รวมทั้งการทดสอบในขั้นตอนสุดท้าย  
ก่อนนำไปใช้ประโยชน์ให้แน่ใจว่าไม่มีสารพิษเหลืออยู่

pall

#18
https://www.google.ch/search?q=%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=Nwg2U9jkFoqFhQeps4H4Dg&sqi=2&ved=0CAYQ_AUoAQ&biw=1120&bih=537#q=%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81&tbm=isch

บุก(Glucomannan)จัดว่าเป็นพืชสมุนไพร  
เรามีชื่อเรียกมากมายแล้วแต่ชื่อเรียกตามท้องถิ่น  
เช่น  
ภาคกลาง เรียกว่า บุกบ้าน มันชูรัน  
ปัตตานี เรียกว่า หัวบุก  
สกลนคร เรียกว่าบักกะเดื่อ  
บุรีรัมย์ เรียกว่า กระบุก  
แม่ฮ่องสอน เรียกว่า เบีย  
ภาคอีสาน เรียกว่า อีลอก  
 
ในบ้านเราก็กำลังเป็นที่นิยมในรูปของ ผลิตภัณฑ์อาหาร  
เพื่อสุขภาพ โดยเค้าจะนำหัวบุกนี้มาสกัดเอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้น  
ที่เรียกว่า "กลูโคแมนแนน" (Glucomannan) ออกมา  
ซึ่งวุ้นนี้เองเป็นสารประกอบระหว่าง  
น้ำตาลกลูโคสกับน้ำตาลแมนโนส ในหัวบุก  
 
บุกนับเป็นพืชที่ มีปริมาณใยอาหารมากกว่าผลไม้บางชนิด  
สาหร่ายหรือว่านหางจระเข้เสียอีก ใยอาหารที่พบ  
ในหัวบุกนั้นเป็นชนิดที่สามารถ ละลายน้ำได้  
มีลักษณะเป็นวุ้น ตอนแห้งจะเป็นผลึกคล้ายเม็ดทราย  
แต่เมื่อโดนน้ำจะพองตัวออกถึง 30-40 เท่า  
 
คนเอเชียนำพืชชนิดนี้มารับประทานทั้งในรูปของ  
หัวบุกและวุ้นบุก ชาวญี่ปุ่นและชาวจีนนิยมทานกันมากทีเดียว  
ข้อดีของใยอาหารจากบุกนี้ คือ  
จะช่วยทำให้การดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง  
ในขณะเดียวกันยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย  
คุณสมบัติพิเศษดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับจากวงการแพท  
ย์แล้วว่า สามารถช่วยรักษาโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ  
อย่างในกรณีของ โรคเบาหวาน โรคอ้วน  
และโรคมะเร็งลำไส้ได้ด้วย  
ดังนั้นหากเราจะลองประยุกต์หัวบุกหรือวุ้นบุก  
ในการทำอาหารว่าจะได้อาหารจานเด่นที่ทั้งอร่อย  
ทั้งมีประโยชน์มาก  
 
จากนิตยสารในครัว

ป้าพร Stockholm

โฮ้ยป้าจ๋า ขอบคุณมากเลย ที่เอาข้อมูล และ ภาพมาประกอบให้เห็น กันด้วย น้องพร เกิดมาก็เพิ่งเคยเห็น หัวกลอย เป็นครั้งแรก เลยจ๊ะป้า อื่มดูหัวมันก็ไม่น่ากินสักหน่อย แต่ทำไมอร่อยก็ไม่รู้  
 
 แถมเจ้า บุกเนียก็เหมือนกัน น้องยังไม่เคยได้ลิ้ม ชิมรส สักที และก็เพิ่งเคยเห็น เป็นครั้งแรก อีกเหมือนกัน ไปเมืองไทยเที่ยวนี้จะต้องหาโอกาสทดลอง ชิมเจ้าหัว บุก เนียให้ได้ ดูสรรพคุณมากมาย ด้วย  
 แต่อย่างไรก็จะไม่ไปหากิน แถวจังหวัด สกลนครแน่ป้าจ๋า เห็นชื่อแล้ว ไม่ค่อยกล้ากิน ป้า "บักกะเดื่อ" อิ อิ  
 
 น้องชาตำ เราคุยเรื่องมันกัน เราก็เลยได้รู้จัก มัน พันธ์ ต่างๆ เพิ่มขึ้นมาอีก เน้อ แต่เจ้า " มันยกร่อง" เนีย ก็ไม่รู้ รูปร่างหน้าตามันเป็นอย่างไร อิ อิ
 

นี่นะ

ป้าจ๋า นี่นะเพิ่งรู้ว่ากินมันแล้วไม่อ้วน  
 ความรู้ใหม่ เปลี่ยนจากกินข้าวไปกินมันติดเหงือกดีกว่า

black tea

ป้าจ๋า.....โห นี่ยังอุตส่าห์นำเรื่องมาเล่าอีกแน่ะ บอกว่าให้พักก่อนๆ ดื้อนักเดี๋ยวให้ลุงกักบริเวณซะเลย  
 ขอบคุณมากกกกกกกกกกกก ค่ะสำหรับความรู้และรูปประกอบการเรียนการสอน  
 เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นหัวกอย หน้าตาคล้ายมะพร้อมแห้งชอบกลนะคะ  
 แต่อร่อยมาก สมัยนี้หากินยากมากแล้วด้วยค่ะ  
 ป้าพรคะ.....มันยกร่องนี่ สงสัยจะเป็นพันธุ์พิเศษหรือเปล่าคะ อิอิ  
 หวัดดีนี่นะด้วยค่ะ.....มารายงานสภาพอากาศแถวบ้านนี่นะหน่อยจิจ๊ะ

นิด




หัวบุก กะบุก มันบุก มันหัวช้าง แล้วแต่จะเรียกตามความถนัดเคยชินในแต่หล่ะท้องถิ่น เป็นพื้นหัว ล้มลุกพื้นเมืองแถบเอเชีย มีรูปร่างอันกลมแป้น ใหญ่กว่าหัวเผือกหัวมันหลายเท่านัก จัดเป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางด้านสายพันธุ์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า elephant yam, elephant bread จำแนกพันธุ์บุกจากท้องถิ่นทั่วโลกพบว่ามีประมาณ 170 ชนิด  
 

นิด




ส่วนของไทยเรานั้น แทบทุกภาคมีหัวบุกอยู่ราว 20 ชนิด แต่มีอยู่ 2 ชนิด ที่ชาวบ้านนิยมนำมาบริโภค.  
 1. บุกโคราช ใช้ได้ทั้งหัวทั้งต้นอ่อน  
 2. บุกด่างมีปลูกอยู่แถบตะวันตกของไทย  
 บุกโคราชนอกจากยังนิยมกินหัวใต้ดินแล้ว ส่วนของต้นอ่อนชาวบ้านยังนิยมมาเก็ฐมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก

นิด


นิด




บุกแปรรูป เส้นบุก วุ้นบุก

black tea

หวัดดีค่ะคุณนิด........แหม...มีวิชาการในตัวก็ไม่ยอมนำมาให้พวกเราได้ชื่นชม  
 อย่างงี้ซิ่ถึงจะเรียกรักกันจริง...นะป้าจ๋านะ....  
 พอเห็นต้นบุก.....ความทรงจำก็บังเกิดค่ะ ว่าเคยเห็นผ่านตามาบ้างเหมือนกัน  
 ตอนเป็นเด็กยังเคยไปเก็บในป่าเลยค่ะ....แต่ไม่แน่ใจว่าเขาเรียกบุกหรือเปล่า  
 แต่หน้าตาคล้ายๆ แบบนี้เลยค่ะ ลำตัวลายๆแบบนี้เด๊ะเลย
 คุณนิดขา.............ชาดำเคยชิมวุ้นบุกค่ะ  
 แต่ไม่รู้บุกจริงหรือเปล่า ไม่เห็นลดไขมันเลยอ่ะ  
 แค่ชิมแต่จะให้ลดไขมัน เหอ เหอ