News:

ยินดีต้อนรับ สู่ Pall Swiss เว็บบอร์ดตัวใหม่



***...ALPABZUG IN AESCHI....***

Previous topic - Next topic

pall




**17.Sept.05**
 
ลุงกับป้าได้นัดกันกับน้องเขยว่าจะไป AESCHIเพื่อดูประเพณีเก่าแก่ของสวิสคือการพาวัวลงเขา
AESCHIเป็นเมืองที่ลุงเติบโตมาเรียกว่า30ปีที่มาอยู่ที่สวิตฯนี้สถานที่แห่งนี้ป้ารู้จักดีที่สุด
และจะมาเดินที่นี่ทุกปี   AESCHI เป็นเมืองที่มีธรรมชาติสวยงามและสงบมาก
เหมาะสำหรับมาพักผ่อนที่นี่มาก จะเห็นวิวทะเลสาปThunและเขา Niesen
ลุงชอบมาที่นี่เพราะรู้จักคนเก่าแก่และเพื่อนเก่าหลายคน
ระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาคนเก่าแก่เพื่อนหลายคนที่ลุงรู้จักคุ้นเคยตายไปแล้วเป็นจำนวนมาก
ช่วงหลังเราจะแวะมาเที่ยวที่นี่น้อยลง ระยะหลัง AESCHIได้เปลี่ยนแปลง
มีบ้านเรือนสร้างใหม่แต่ก็ยังน้อยกว่าที่อื่นมาก การคมนาคมที่นี่ไปมาสะดวกสบาย
และมีความเจริญมากกว่าเดิมมีโรงแรมและการจัดนำเที่ยวหลายอย่าง
และที่นี่จะจัดประเพณีสำคัญที่เก่าแก่และสำคัญหลายอย่าง เช่นประเพณีพาขบวนวัวลงจากเขาสูง
ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่17 Sept.05
thunersee berner oberland aeschi tourismus aeschiried thunersee berneroberland tourismus Schweiz Switzerland Suisse - Tourismus Thunersee Berner Oberland Schweiz Aeschi Tourismus Thunersee  Tourismus Schweiz


**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0850 ห้อง pallswiss (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall

#1


**ซ้ายมือคือ Fritz....ขวามือคือKäthi...**
ประเพณีเก่าแก่เกี่ยวกับการพาวัวลงเขาครั้งนี้ คนที่เรารู้จักดีพาฝูงวัวเดินขบวนซึ่งทำกันทุกปี
แต่ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ35ปีที่เป็นชาวนาเลยจัดเป็นงานของคนทั้งสอง
คือ Fritz และKäthi Wittwer  เลยจัดให้เป็นงานใหญ่
Käthi..เป็นผู้หญิงที่ขยันมากและมีฝีมือในการทำเนยแข็ง
เราไปบ้านของคนทั้งสองและซื้อเนยแข็งมากินอร่อยมาก ช่วงหลังไม่ค่อยได้ไปเท่าไร
 
พูดถึงชาวนาที่นี่รักอาชีพชาวนาอย่างฝังในสายเลือด ถ้าพูดถึงเรื่องนี้บางคนอาจจะไม่เข้าใจ
ป้าเองยังรู้สึกชอบชาวนามาก และเข้าใจถึงความรู้สึกดี..ชาวนาเป็นคนที่รักทุ่งนาอันกว้างใหญ่
รักความอิสระและภูเขาสูงธรรมชาติอันเงียบสงบ
ดินทุกก้อนที่เขาสัมผัสคือวิญญาณและความรักที่ถ่ายทอดสู่กัน

Fritz  และKäthi  Wittwerสมัยก่อนมีวัวมากกว่านี้
ตอนนี้ลดลงไปหน่อยเห็นจากการเดินขบวนมีฝูงวัวแค่9ตัว ลูกวัว17ตัว,แพะ12และหมู
และรับเลี้ยงแกะให้คนอื่นอีก300ตัว ชาวนาที่นี่มีการรับจ้างเลี้ยงดูวัวให้คนอื่นด้วย
ซึ่งจัดเป็นอาชีพเสริม ราคาการเลี้ยงดูแล้วแต่จะตกลงกันเอง
เรียกว่าการเป็นชาวนานอกจากจะได้รับเงิน ช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว
ถ้าขยันก็สามารถหารายได้พิเศษได้ จากการทำเนยแข็ง,รับเลี้ยงดูวัว
และแกะจากเพื่อนชาวนาด้วยกันที่มีเนื้อที่ไม่พอ
นอกจากนี้ Fritz  และKäthi  ก็จะบริการคนเดินเขา
ขายเครื่องดื่มสำหรับนักเดินเขาที่เหนื่อยกระหาย
อยากดื่มพวกเครื่องดื่มกาแฟและนมสดที่รีดออกมาจากเต้าใหม่ๆ
 
ป้าชอบลูกของ Fritz  และKäthi มาก เรียกว่าทั้งคู่เป็นคนมีบุญที่ได้ลูกดีมากเลย
และมีสายเลือดชาวนาตกได้รับจากพ่อแม่ Fritz  และKäthi  มีลูก5คน
ลูกชาย3และลูกสาว2คนบางคนโตเป็นหนุ่มสาวแล้ว และยังเล็กอยู่ก็มีลูกทั้ง5คนคือ
Johann, Annarös, Fritz, Julia และ Toni

pall

#2


**ภาพกระดิ่งและระฆังผูกคอวัว**
ประเพณีเก่าแก่โบราณของสวิสเกี่ยวกับวัวนี้ จะทำกัน2ครั้งต่อปี...ทำติดต่อกันมานาน
และทำตกทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานแล้ว
 
***A.การพาวัวขึ้นเขาครั้งแรก...****
การพาฝูงวัวขึ้นเขานี้เราจะเรียกกันว่า**ALPAUFZUG**
สนในเข้าไปอ่านได้ที่นี่เพราะเคยเขียนไว้
**ALPAUFZUG**
 
***B.การพาวัวจากการขึ้นเขาครั้งแรกนำลงมาข้างล่าง...****
การพาฝูงวัวกลุ่มที่นำไปเลี้ยงบนภูเขา  บางแห่งที่นำไปเลี้ยงบนภูเขาสูง2000เมตร
จะนำฝูงวัวลงจากภูเขาประมาณสิ้นเดือนสิงหา  หลังจากนั้นก็จะพากันนำฝูงวัวลงมาเรื่อยๆ
จนกระทั่งสิ้นเดือนกันยายนก็เป็นอันว่าฝูงวัวลงมาอยู่ข้างล่างกันแล้ว
และข้างล่างตอนนี้มีหญ้าแห้งที่ชาวนาได้ตัดเก็บไว้ให้วัวกินตลอดช่วงฤดูหนาวอย่างอุดมสมบูรณ์
(...การทำหญ้าแห้งจะเล่าถึงวิธีทำภายหลังว่าทำกันอย่างไร...)
ประเพณีการนำฝูงวัวลงมาจากเขาแบบนี้ คนที่นี่เรียกประเพณีเก่าแก่นี้ว่า *** ALPABZUG***
 
ประเพณี ALPABZUG
คนที่อยู่สวิตฯจะเห็นและเคยดูประเพณีสำคัญอันนี้กันแล้ว นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสวิตฯช่วงนี้
บางคนอาจจะโชคดีได้ดูมาแล้ว คนสวิสรักประเพณีนี้มาก
ถ้าจัดงานเมื่อไรคนจะไปยืนดูกันถึงแม้ฝนจะตกฟ้าจะร้องแค่ไหน
 
**เกี่ยวกับการจัดประเพณี ALPABZUG**
การจัดประเพณีเก่าแก่นี้มีมานานหลายร้อยปีแล้ว การจัดเป็นการแสดงถึงความขอบคุณต่อพระเจ้า
ที่ได้ให้การเลี้ยงดูวัวบนเขาผ่านไปอย่างปลอดภัย ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น
และชาวนาได้ผลผลิตดีคือการทำเนย และหญ้าที่มีพวกสมุนไพรให้น้ำนมที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย
ทำไมเนยแข็งบนภูเขาถึงมีราคาแพงกว่าเนยข้างล่าง นี่คือเหตุผลหนึ่ง.
 
**ทำไมชาวนาถึงต้องใช้กระดิ่งหรือระฆังผูกคอวัว**
การจัดประเพณีแบบนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี1900 โดยดั้งเดิมชาวนาผูกระฆังวัวบนภูเขา
เพื่อฟังเสียงและจะได้รู้ว่าฝูงวัวของตัวเอง และเล็มหญ้าอยู่ตรงไหน
และบางแห่งที่มีความเชื่อต่อสิ่งเร้นลับ ต่างเชื่อว่าเสียงดังของกระดิ่งคอวัว
จะขับไล่สัญญาณสิ่งชั่วร้ายที่จะมาทำร้ายวัวให้หนีไป

ระฆังที่นำมาใช้ผูกคอวัวจะมี2แบบคือ
*****......Gloche   และ Treichel.....***
รูปร่างจะไม่เหมือนกัน

pall

#3


**วัวในขบวนจะประดับด้วยดอกไม้และกระดิ่งที่เห็นเรียกว่าTreichel**
 
***การจัดประเพณี ALPABZUG***
การพาฝูงวัวไปเลี้ยงบนภูเขาสูงนี้ การเริ่มพาไปเลี้ยงแล้วแต่เขต
การอยู่บนภูเขาจะเป็นช่วงสั้นๆประมาณ85หรือ90วันเท่านั้น
พอถึงเวลาหมดหน้าร้อนแล้ว ชาวนาก็จะเริ่มจัดของเตรียมย้ายลงมาอยู่ข้างล่าง
จะเริ่มเคลื่อนย้ายนำรถมาขนพวกสัตว์เล็กๆก่อน
เพราะการเดินทางลงจากเขานี้สัตว์ที่อดทนและรักการเดินเขา จนเข้าสายเลือดคือฝูงวัว
 
ใครที่เติบโตและอาศัยอยู่ในเมือง จะไม่เข้าใจและรู้ถึงความรู้สึกของคนที่อยู่ตามบ้านนอกใกล้ภูเขา
ชาวนาเหล่านี้และวัวสามารถถ่ายทอดความรู้สึกถึงกันได้
ตัวอย่างเช่นวัวที่พาขึ้นภูเขาสูง ถ้าถึงเวลากำหนดที่จะขึ้นหรือลงจากภูเขาสูง
วัวพวกนี้จะกระสับกระส่ายมาก วิ่งพล่านร้องมอๆๆๆๆๆดังลั่นก้องเขา และรอเวลาที่เจ้าของ
จะนำกระดิ่งหรือระฆังใหญ่มาผูกแขวนคอ และจะภาคภูมิใจกับการเดินลงเขา
ป้าเคยรู้จักเพื่อนเก่าแก่ของลุงคนหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ตายไปแล้ว  เขาพาฝูงวัวไปเลี้ยงบนเขา
เราจะไปหาและเอาอะไรไปปิ้งกินกับเขาบ่อย ตอนถึงเวลาที่จะต้องนำวัวลงจากเขา
วัวพวกนี้จะคอยฟังเสียงระฆังจากเจ้าของ  พอเขาหยิบระฆังออกมาลงน้ำมันขัดและส่งเสียงดังเท่านั้น
พวกวัวจะส่งเสียงดังวิ่งกระโดดหน้ากระโดดหลังดีใจมาก
 
**การจัดเตรียม**
ชาวนาจะล้างทำความสะอาดวัวให้สะอาด แล้วนำกระดิ่งมาขัดลงมันจนขึ้นเงาปลาบ
ทั้งข้างนอกและข้างในนำมาผูกคอวัว  หลังจากนั้นจะนำดอกไม้ประดับมามัดบนไม้กลมเล็กๆ
ดอกไม้บางแห่งจะใช้ดอกไม้สดที่ปลูกไว้  หรือบางแห่งจะใช้ดอกไม้พลาสติก
ดอกไม้พวกนี้จะต้องทำให้ติดแน่นบนแผ่นไม้กลม
เวลาวัววิ่งหรือกระโดดจะไม่หล่นหรือเอียงปิดตาวัวตอนเดิน
นำแท่นดอกไม้นี้มาผูกมัดบนเขาวัวทั้งสองข้างให้แน่น
พอวัวแต่งตัววัวทุกตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะพาวัวเดินลงมาจากภูเขากัน
ชาวนาเหล่านี้จะแต่งกายชุดประจำชาติของรัฐที่ตัวเองอยู่
ในมือจะมีไม้ไว้กันวัวตอนเดินลงเขา  วัวจะเหมือนคน..บางตัวจะชอบหยุดเดิน
หรือชอบแวะกินหญ้าข้างทางต้องคอยใช้ไม้ตีก้นเบาๆ
การจัดงานประเพณีเหล่านี้ทางเขตที่อยู่ของแต่ละเขต
จะประกาศให้คนเขตนั้นรู้เพราะถือว่าเป็นประเพณีใหญ่
คนจะพากันมายืนดูด้วยหัวใจที่เอิบอิ่มดื่มด่ำกับความสวยงาม
การประดับดอกไม้บนหัววัวและจำนวนฝูงวัวจำนวนมากมาย หลายร้อยหรือร่วมพันตัว
ป้ากับลุงชอบดูประเพณีนี้มากเพราะชอบวัวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
อย่างวันที่ป้ามาดูประเพณีพาวัวลงเขาที่ AESCHI นี้
มีคนมาชมมากมายและมีคนสำคัญมาเป็นประธานในพิธีด้วย คนนั้นคือ
SVP-Nationalrat Hermann Weyeneth

pall

**การเริ่มการแสดงพิธี**

pall

#5



บนเวทีใหญ่จะมีภาพเขียนของ Fritz  และKäthi   ลูกชาย2คนเดินนำหน้า

pall

****การแสดงบนเวที***

pall




 
 เริ่มการแสดงด้วยพิธีเป่าแตรยาว
 รูปที่เห็นมีดอกไม้ประดับนั้นคือถังใส่นมที่ชาวนาใช้ใส่นมสดที่รีด
 
 **ประวัติความเป็นมาของประเพณีนี้อ่านได้ที่นี่**
 
 http://www.pallswiss.com/about/index.htm
 

pall




 
 การเป่าแตรแบบนี้ต้องเรียนการเป่า

pall




 
 ข้างๆแตรยาวที่เป่าจะมีหนุ่มโยนธงชาติสวิสไปมา

pall




 
 การโยนธงต้องฝึกการโยนธงไปบนอากาศและรับให้ได้
 ห้ามทำหล่นบนพื้นบางครั้งต้องเหวี่ยงเข้าหว่างขา
 การฝึกนี้ต้องฝึกอย่างดี
 

pall




 
 พอจบการเป่าแตรและเหวี่ยงธงแล้ว
 ก็เป็นการแสดงเต้นรำพื้นเมืองของเด็ก
 พอเด็กแสดงเสร็จลงจะมีกลุ่มนักร้องเขย่าลูกคอเสียงทอง
 วัยขบเผาะของสมาคมร้องเพลงสวิสประจำเขตที่ตัวเองอยู่
 จะมาประสานเสียงร้องเพลงลูกทุ่งสวิสและการขยับลูกคอกัน
 ดูกลุ่มนักร้องเหล่านี้คงจะรู้ว่าเขย่าลูกคอกันมานานแค่ไหนแล้ว
 คนซ้ายมือเป็นเพื่อนลุงที่เรียนมาด้วยกัน
 

pall

#12



**น้องสะใภ้ใส่เสื้อแดง,หลานสาวเสื้อสีน้ำเงิน,น้องชายลุงเสื้อสีเขียว**
 
เห็นกลุ่มคนดูกลุ่มนี้แล้วกลุ้มใจ ต่างคนต่างคุยกันไม่ยอมสนใจฟังเพลง
น้องชายกับลุงคุยกันจนน้ำลายแตกฟอง ถามว่าทำไมไม่ฟังเพลง
ลุงบอกว่ากลุ่มนักร้องกลุ่มนี้ร้องเพลงยานมาก
แบบคุยกันจนจบหลายเรื่องยังร้องเพลงไม่จบเพลงเลย

pall




 
 อนาคตนักร้องเพลงเขย่าลูกคอสวิส
 เด็กชอบเพลงมากนั่งอยู่ตรงข้าม
 สองคนเป็นพี่น้องกัน
 

pall




 
 **ผู้ชายซ้ายมือคือ SVP-Nationalrat Hermann Weyeneth**
 คนนี้คือหัวหน้าของพรรคนี้ของรัฐBernเป็นบุคคลที่สำคัญพอควร
 **ผู้ชายขวามือคือผู้ทำหน้าที่ดูแลการท่องเที่ยวของ AESCHIและเป็นพิธีกรวันนี้**
 
 
 หลังจากที่ Hermann Weyenethพูดเล่าความเป็นมา
 และความสำคัญของชาวนาพอจบแล้วก็ได้รับของชำร่วยจากพิธี
 เป็นอันว่าจบพิธีให้แยกย้ายไปดูขบวนวัวที่จะเดินวันนี้