การดำรงชีวิตในสวิตเซอร์แลนด์

Previous topic - Next topic

นิด( แม่ลูกหมูสามตัว)

ขอบใจเกตุมาก ที่นำความรู้ดีๆมาฝากเพื่อนๆจ้า

เกตุ

หวัดดีจ้าพี่นิด คิดตึ๋ง คิดตึ๋งพี่ชาดำโด่ย  
 
 ***การแยกอยู่อย่างเป็นทางการ***
 เมื่อคู่สมรสมีปัญหา ก่อนอื่นควรพยายามอย่างยิ่งที่จะพูดคุยแก้ปัญหา
 ชีวิตคู่เสียก่อน พูดแบบเปิดใจและต้องไม่ลืมที่จะรับฟังความคิดเห็น  
 ความรู้สึกของตนเองและของอีกฝ่าย พยายามหาทางพบกันครึ่งทางดี
 กว่า แต่ถ้าหากยังไม่เกิดผลดีขึ้นก็ควรขอคำแนะนำจากศูนย์ที่ให้คำ
 แนะนำและรับปรึกษาปัญหาครอบครัว และถ้าหากยังไม่สามารถแก้
 ปัญหาที่มีอยู่ได้คู่สมรสก็ควรแยกกันอยู่ การแยกกันอยู่ถือว่ายังไม่
 ขาดจากการเป็นสามีภรรยา แต่เป็นการแยกกันอยู่เพื่อให้เวลากับทั้ง
 สองฝ่ายในการจัดการชีวิต ทบทวน ปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเอง  
 อย่าลืมว่าการแยกกันอยู่อาจเป็นการยุติปัญหาชีวิตคู่บางประการ แต่ก็
 จะมีสิ่งอื่นหลาย ๆ อย่างตามมาที่ทำให้เราต้องมีความรับผิดชอบเพิ่ม
 ขึ้น ซึ่งต้องจัดการด้วยตัวเอง เช่นการต้องอยู่คนเดียว การอยู่กับบุตร  
 การดูแลบุตรตามลำพัง เรื่องที่อยู่อาศัย การเงิน ภาษี การประกัน
 สุขภาพ เบี้ยประกันต่าง ๆ สัญญาเงิน*้ เป็นต้น
 
 ...สิ่งที่สำคัญที่ต้องนึกถึงเมื่อแยกกันอยู่อย่างเป็นทางการคือ...
 สัญญาแยกอยู่เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาภายหลังจากการแยกที่
 พักอาศัย ควรทำสัญญาแยกอยู่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยผ่านทนาย
 ความ หรือศูนย์บริการและรับปรึกษาปัญหาครอบครัวในสัญญานี้จะมี
 การระบุรายละเอียดในเรื่องต่าง ๆ เอาไว้ เช่นสิทธิปกครองบุตร ที่อยู่
 อาศัย ค่าเลี้ยงดู ทรัพย์สิน และหนี้สิน ดังนั้นถ้าเกรงว่าจะไม่เข้าใจ
 ภาษาก็ควรมีผู้แปลไปด้วย หากอีกฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการแยกกันอยู่  
 หรือไม่เห็นด้วยกับสัญยาแยกอยู่ ก็อาจยื่นคำร้องต่อหน่วยงานคุ้ม
 ครองสถานบันครอบครัวได้ ซึ่งจะมีผู้พิพากษาพิจารณาคำร้องและ
 ตัดสินเพื่อให้คู่สมรสได้รับความยุติธรรม การยื่นคำร้องนี้อาจทำได้
 ด้วยตนเอง โดยติดต่อศาลในเขตที่อยู่หรือเขียนคำร้องเป็นจดหมาย
 ระบุถึงความต้องการแยกอยู่กับคู่สมรส
 
 ...ค่าใช้จ่ายศาล...
 โดยปกติแล้วผู้ยื่นคำร้องจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายล่วงหน้าแก่ศาล
 ส่วนใหญ่ศาลจะเรียกเก็บประมาณ 200-300 ฟรังก์สวิส เมื่อศาล
 ตัดสิน ศาลก็จะกำหนดว่าฝ่ายใดควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเท่าใด ค่าใช้
 จ่ายในศาลนี้ไม่รวมกับค่าทนายความ ในกรณีที่ผู้ร้องขัดสนด้านการ
 เงินควรติดต่อกับอำเภอที่อาศัยอยู่ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อความความช่วย
 เหลือเรื่องค่าใช้จ่าย
 
 ...ค่าครองชีพระหว่างแยกกันอยู่...
 ส่วนใหญ่ศาลจะพิจารณาจำนวนค่าครองชีพที่แต่ละฝ่ายสมควรจะได้
 รับตามมาตรฐานค่าครองชีพขั้นต่ำที่ทางรัฐกำหนดไว้ให้และตามความ
 ต้องการของแต่ละฝ่ายเป็นหลักเช่น ค่าเช่าบ้าน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
 
 ...สิทธิในการปกครองบุตร...
 อย่าลืมว่าขณะแยกกันอยู่นั้นกฎหมายถือว่า พ่อ แม่ ลูก พร้อมที่จะ
 กลับคืนมารวมเป็นครอบครัวได้อีกครั้ง ฉะนั้นถึงแม้ว่าตกลงได้แล้วว่า
 ลูกจะอยู่กับฝ่ายใดก็ตามทั้งพ่อและแม่ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ดูแลบุตร
 เท่า ๆ กัน เพียงแต่ฝ่ายที่ได้สิทธิดูแลลูกมีหน้าที่รับผิดชอบชีวิตความ
 เป็นอยู่ประจำวัน แต่ในกรณีเช่นลูกป่วยหนักหรือเลือกโรงเรียน ต้อง
 ปรึกษาปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน ถ้าพ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แม่
 จะมีสิทธิ์ดูแลลูก ยกเว้นแม่จะยินยอมให้พ่อมีสิทธิปกครองบุตรร่วม
 กัน

เกตุ

...ปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าใครจะดูแลลูกให้มีความสุข และมีประโยชน์กับการพัฒนาของเด็กมากกว่ากัน....
 ความผิดหรือสถานะภาพทางการเงินจะไม่มีผลต่อการตัดสินและถ้า
 หากทั้งพ่อและแม่ขาดสมรรถภาพไม่สามารถปกครองลูก ศาลจะให้
 เด็กอยู่ในความปกครองของผู้ปกครองซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐ พ่อ
 แม่สามารถร้องเรียนขอสิทธิ์คืนเมื่อเวลาผ่านไปแล้วหนึ่งปี ฝ่ายที่ได้
 สิทธิปกครองบุตรถือว่าเป็นตัวแทนของเด็กทุกด้านตัดสินปัญหาต่าง  
 ๆ แทนเด็ก จัดการทรัพย์สินของเด็กได้ อีกฝ่ายออกความเห็นได้ แต่
 ตัดสินใจไม่ได้
 
 ...สิทธิการเยี่ยมบุตร...
 ขณะที่พ่อแม่แยกกันอยู่อย่างเป็นทางการ ฝ่ายใดที่ไม่ได้รับสิทธิ
 ปกครองบุตรก็มีสิทธิ์จะไปเยี่ยมได้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ใน
 สัญญาแยกอยู่ และต้องพากลับตามเวลาที่กำหนดไว้เช่นกัน ในทาง
 ปฏิบัติผ่อนปรนกันได้ ระยะเวลาที่ได้เยี่ยมก็สามารถพาลูกออกไป
 เที่ยวพักผ่อนได้ โดยให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก มิฉะนั้นอาจถูกเพิก
 ถอนสิทธิ
 
 ...เงินเลี้ยงดูบุตร...
 ศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้จ่ายค่าเลี้ยงดู โดยยึกหลักตาม
 ความเหมาะสมของรายได้แม่และพ่อและประโยชน์ของเด็ก การจ่าย
 ค่าเลี้ยงดูนั้นต้องทำต่อเนื่องไม่มีการเว้นระหว่างปิดเทอมและเงิน
 สวัสดิการช่วยเหลือบุตรที่ได้รับจากนายจ้างนั้นก็ต้องนำไปจ่ายกับผู้
 มีิสทธิปกครอง เงินจำนวนนี้ไม่นับรวมกับเงินเลี้ยงดูบุตร
 
 ****หากมีการบิดพริ้วไม่ยอมจ่ายค่าเลี้ยงดู จ่ายไม่ครบ จ่ายล่าช้า อีกฝ่ายยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์และปกป้องสิทธิเด็กและ
 เยาวชนได้ศาลมีสิทธิ์ที่จะขอให้นายจ้างหักเงินเดือน และจ่ายให้ผู้รับ
 โดยตรง กรณีที่ไม่ได้รับเงินค่าเลี้ยงดูตามที่ตกลงกันไว้และมีปัญหา
 ด้านการเงินก็ติดต่อขอความช่วยเหลือได้จากเจ้าหน้าที่สังคม
 สงเคราะห์ในเขตที่อยู่ทางการจะจ่ายเงินสำรองให้ก่อน****
 

นักศึกษา

วีซ่านิวซีแลนด์หมดอายุได้สองเดือนแล้วไม่รู้ว่ากฏหมายทางประเทศนิวซีแลนด์มีบทลงโทษอย่างไรบ้างอยากเดินทางกลับประเทศไทยแต่ต้องตินต่อที่อิมมิเกรชั่นหรือป่าวใครทราบช่วยตอบด้วยค่ะ

NaaNy

คือว่า อยากจะไปเรียนภาษาเยอรมันกับภาษาอังกฤษที่ ซูริคน่ะคะ

ใครช่วยแนะนำหน่อยนะคะว่ามีที่ไหนบ้าง

อยากไปซัก 1 ปี น่ะค่ะ ตอนนี้ อายุ 26 เพิ่งเรียนจบโท จะเข้าไปยากรึป่าวคะ

ช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

pall

สวัสดีค่ะคุณNaaNy
สมัครเป็นสมาชิกและโพสต์ทู้ถามที่ห้องกฎหมายดีกว่ามาเขียนถามที่นี่นะคะเพราะคนที่เข้ามาจะเห็นได้ง่ายและคุณจะได้รับคำตอบไวกว่าเพราะคนที่เข้ามาอ่านที่ไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกจะไม่เห็นทู้คำถามของคุณค่ะ

รี่จ้า

พอดีหนูอยากทราบว่า  ฤดูร้อน+ฤดูหนาว+ฤดูใบไม้ร่วง+ฤดูใบไม้ผลิในสวิสเราจะไปเที่ยวที่ไหนดีค่ะมีกีฬาอะรายให้ทามในฤดูนั้นๆบ้างด้วยค่ะ  เขารุแต่ว่าฤดูหนาวเล่นสกีแต่ไม่รุจาไปเล่นที่เมืองไหนนะค่ะ  ฤดูร้อนเล่นไรอา  ถ้ามีรูปด้วยจะขอบคุนมากๆๆๆเลยค่ะ  (แหะพอดีต้องทามส่งรายงานครูนะก๊าบ)  ฝากด้วยนะค่ะขอบคุนค่ะ  

Jungfrau

คุณรี่จ้า สมัครเป็นสมาชิกและไปตั้งคำถามใหม่ที่ห้องนั่งเล่นจะได้คำตอบได้ไวกว่ามาตั้งที่ทู้นี้ เพราะคนจะไม่ค่อยเห็นคำถามของคุณ
"..Scheint die Sonne noch so schön, Einmal muss sie untergehn.."

รี่จ้า

ขอบคุนก๊าบบบ ขอบคุนมักๆๆเลยที่ช่วยแนะนำก๊าบ ;D

เมย์

คือว่าตอนนี้กำลังจะแต่งงานกับชาวสวิต และสามีอยากให้จดทะเบียนสมรส แต่เคยได้ยินมาว่า การที่จะจดทะเบียนกับชาวต่างชาติ หลังจากเราจดทะเบียนแล้วสิทธิความเป็นคนไทยจะไม่เหมือนเดิม คือประมาณว่าซื้อบ้าน ที่ดิน ในเมืองไทยไม่ได้อะไรประมาณนี้ค่ะ ก็เลยไม่รู้ว่าเท็จจริงแค่ไหน แล้วข้อดี ข้อเสียอยู่ตรงไหน ใครรู้ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ   ขอบคุณมากๆ ค่ะ

เต้ย

ขอรายละเอียดเกี่ยวกับคู่สมรสเพศเดียวกันด้วยครับ ขอบคุณมากๆครับ

nidnid

สวัสดีค่ะคุณวิกกี้  ดิฉันค้นเจอเวบนี้ เป็นเวบเกี่ยวกับการแนะนำการศึกษาต่อแบบต่างในสวิตฯ  ภาษาในเวบจะไม่มีภาษาอังกฤษ แต่คุณวิกกี้อยากจะฝึกเยอรมัน ก็ค่อยลองอ่านดูนะคะ ตามลิงค์ข้างล่างนี้ค่ะ
http://www.berufsberatung.ch/dyn/1005.aspx



nidnid