จดทะเบียนที่ไทย/สวิสที่ไหนดีกว่ากัน

Previous topic - Next topic

คนสงสัย

อยากรบกวนถามคุณป้าพอลและผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่าผู้หญิงไทยถ้าจะจดทะเบียนสมรสกับชายชาวสวิสจดที่ไหนระหว่างไทย/สวิส ที่ไหนจะทำให้ผู้หญิงมีสิทธิดีกว่าทั้งสิทธิด้านการได้รับสัญชาติ สิทธิด้านทรัพย์สินและสิทธิด้านอื่นๆ ขอรบกวนแค่นี้ก่อนค่ะ

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0151 ห้อง lifestyle (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

ศักดา

สวัสดีครับคุณ คนสงสัย
 ขอมาช่วยตอบ ไปพลางๆ ก่อนนะครับ เพราะว่าช่วยนี้คุณป้าPall
 ไม่ค่อยว่าง เท่าที่รู้มา การจดทะเบียนที่เมืองไทย ถ้าไปรายงานขอการรับรองการจดทะเบียนสมรสที่สถานทูตสวิสฯ ในเมืองไทย จะมีผลทางด้านกฏหมายเท่่าเทียม กันกับจดทะเบียนสมรสที่สวิส
 แต่ทั้งนี้สิทธิต่างๆ ของกฏหมายไทยจะต้องไม่ขัดกับกฏหมาย
 สวิสครับ ส่วนเรื่องการเปลื่ยนสัญชาติ นั้นทำได้ เช่นกันครับ
 ถ้าคุณอยู่เมืองไทย แต่ว่าจะช้ากว่าคนที่ พำนักอยู่ที่ประเทศสวิส 1 ปีครับ ดังข้อกฏหมาย ข้างล่างนี้
 
 รายละเอียด อ่านได้ในเว็บที่ส่งมาด้วยนี้นะครัีบ เกี่ยวกับการขอ
 สัญชาติ http://www.bfm.admin.ch/index.php?id=141&S=1
 
 Erleichterte Einbürgerungen nach Artikeln
 
 1. Artikel 27 BüG
 Ausländischer Ehegatte einer Schweizerin oder eines Schweizers, der insgesamt fünf Jahre in der Schweiz gewohnt hat, seit einem Jahr hier wohnt und seit drei Jahren in ehelicher Gemeinschaft mit dem schweizerischen Ehepartner lebt.
 
 2. Artikel 28 BüG
 Ausländischer Ehegatte einer Schweizerin oder eines Schweizers, der eng mit der Schweiz verbunden ist und seit mindestens sechs Jahren in ehelicher Gemeinschaft mit dem schweizerischen Ehepartner lebt. Gesuchstellung hier auch bei Wohnsitz im Ausland möglich.

pall

สวัสดีค่ะคุณศักดา
 ขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาช่วตอบให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ
 ช่วงนี้ป้าวิ่งรอกหาหมอและเยี่ยมลุง
 แต่จะพยายามเข้ามาตอบเท่าที่จะตอบได้
 คิดว่าอีกไม่กี่วันป้าคงจะไม่สามารถเข้ามาใช้คอมได้
 เพราะป้าจะไม่มีคอมใช้อีกต่อไปจนกระทั่งสิ้นเดือน
 ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

pall

สวัสดีค่ะคุณสงสัย
 **คำถามของคุณ**
 จดทะเบียนที่ไทย/สวิสที่ไหนดีกว่ากัน
 อยากรบกวนถามคุณป้าพอลและผู้รู้ท่านอื่นๆว่า
 ผู้หญิงไทยถ้าจะจดทะเบียนสมรสกับชายชาวสวิส
 จดที่ไหนระหว่างไทย/สวิส ที่ไหนจะทำให้ผู้หญิงมีสิทธิดีกว่า
 ทั้งสิทธิด้านการได้รับสัญชาติ สิทธิด้านทรัพย์สินและสิทธิด้านอื่นๆ
  ขอรบกวนแค่นี้ก่อนค่ะ
 
 **คำตอบ**
 A.***เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส**
 การจดทะเบียนสมรสกับชาวสวิสจะได้รับการรับรองคุ้มครอง
 มีผลตามกฎหมายเหมือนกันไม่ว่าจะจดทะเบียนสมรสที่เมืองไทยหรือในประเทศสวิตฯ
 **แต่มีสิทธิอยู่ใต้กฎหมายของประเทศที่จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น**
 เช่นแต่งงงานจดทะเยียนสมรสที่อำเภอในเมืองไทยมีใบสมรสไทย
 การแต่งงานในประเทศไทยจะได้รับการรับรองคุ้มครอง
 มีสิทธิตามกฎหมายแค่ในประเทศไทยเท่านั้น
 ถ้าไม่ไปทำเรื่องยื่นร้องขอรับการแต่งงานจดทะเบียนสมรส
 กับชาวสวิสให้ถูกต้องตามกฎหมายสวิส
 **แต่ถ้าอยากได้รับความคุ้มครองให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสวิตฯแล้ว
 จะต้องไปติดต่อสอบถามเกี่ยวกับระเบียบการต่างๆ..เงื่อนไขระเบียบปฎิบัติ
 ที่ถานกงสุลประจำประเทศหรือสถานฑูตสวิสเพื่อรับรองการจดทะเบียนสมรส
 นอกประเทศให้ถูกต้องตามกฎหมายสวิส...เพื่อรับสิทธิความคุ้มครอง
 อย่างถูกต้องตามกฎหมายสวิส...
 
 **ถ้าแต่งงงานจดทะเบียนในประเทศสวิตฯ
 อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
 ตามหลักสำมะโนครัวประชากรตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคู่สิทธิการแต่งงงาน
 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่5ตุลาคม1984
 ที่เขียนว่า...
 **คู่แต่งงานชาวต่างชาติที่มีพำนักอย่างถาวรในประเทศสวิตฯ
 จะอยู่ภายใต้กฎหมายเดี่ยวกันกับคู่แต่งงานที่เป็นชาวสวิส**
 ก็จะได้รับความความคุ้มครองมีสิทธิและได้รับความคุ้มครอง
 ทางด้านประกันสังคมต่างๆที่ควรจะได้รับเช่น
 เงินคนแก่สูงอายุ(AHV)ยามปลดเกษียร
 เงินพิการ(IV)ในกรณีย์ที่เกิดอุบัติเหตุจนใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาไม่ได้
 คือแพทย์ได้เขียนรับรองไม่สามารถทำงานได้ตั้งแต่40%ขึ้นไป
 มีสิทธิยื่นขอรับความช่วยเหลือจากเงินประกันสังคมส่วนนี้ได้
 เงินบำเหน็จบำนาญเงินแม่ม่าย....ฯลฯ...เป็นต้น
 
 B.**กฎหมายว่าด้วยสินสมรส**
 คู่สามีภรรยาสามารถเลือกที่จะอยู่ใต้กฎหมายใดก็ได้
 ระหว่างกฎหมายไทยหรือกฎหมายสวิส(ประเทศที่ตนเองตั้งรกราก)
 ทั้งคู่อาจจะทำความตกลงกันโดยจะทำการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
 หรือถ้าไม่ได้ทำการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
 ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น...คู่สามีภรรยาจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสินสมรส
 ของประเทศที่ตนเองพำนักอาศัยอยู่
 ตัวอย่างเช่นถ้าพำนักอยู่ประเทศสวิตฯก็ใช้กฎหมายสวิส
 
 C.**การถือสัญชาติ**
 การแต่งงงานกับผู้ถือสัญชาติสวิสไม่ได้ทำให้คนที่แต่งงงานด้วย
 กลายเป็นพลเมืองสวิสตามไปด้วย
 แต่จะได้รับการผ่อนปรนให้มีสิทธิบางอย่างสามารถ
 ถือสัญชาติสวิสตามคู่ครองได้
 ถ้าหากได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขที่เขากำหนดไว้ได้เช่น...
 ....บุคคลนั้นจะต้องพำนักอาศัยอยู่ในประเทศสวิตฯรวมเวลาได้5ปี
 ....พำนักอยู่ในประเทศสวิตฯติดต่อกันอย่างน้อย1ปี
 ....ใข้ชีวิตคู่ฉันท์สามีภรรยากับคนสวิสเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า3ปีติดต่อกัน
 
 ***คนที่แต่งงงานกับคนสวิสที่เคยพำนักหรืออาศัยอยู่นอกประเทศสวิตฯ
 จะได้รับการผ่อนปรนให้มีสิทธิยื่นคำร้องขอถือสัญชาติสวิสได้
 **หากใช้ชีวิตคู่ฉันท์สามีภรรยาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า6ปี
 และยังติดต่อกับประเทศสวิตฯอยู่เป็นประจำ
 
 D.**เกี่ยวกับลูก**
 เมื่อพ่อหรือแม่ถือสัญชาติสวิสลูกเกิดมาจะได้รับสัญชาติสวิสโดยปริยาย
 ไม่ว่าจะเกิดในประเทศสวิตฯหรือในต่างประเทศ
 **แต่พ่อหรือแม่จะต้องติดต่อแจ้งทำเรื่องยื่นคำร้อง
 กับสถานทูตสวิสหรือกงศุลสวิสก่อนที่ลูกจะมีอายุครบ22ปี
 ถ้าไม่ไปทำเรื่องยื่นลูกจะเสียสิทธิในการถือสัญชาติสวิส
 **กม.พิเศษ**
 หญิงที่ถือสัญชาติสวิสเพราะได้แต่งงงานกับคนสวิสตามกฎหมายเก่า
 แต่ถ้าหากได้แต่งงงานใหม่กับชายต่างชาติ
 ลูกที่เกิดมากับชายต่างชาติไม่สามารถถือสัญชาติสวิสยามแรกเกิดได้
 จะสามารถถือสัญชาติสวิสได้ต่อเมื่อยื่นคำร้อง
 ขอสัญชาติสวิสได้ก่อนที่จะมีอายุบรรลุนิติภาวะ
 ระหว่างที่รอการขอสัญชาติสวิส
 จะได้รับสิทธิผ่อนปรนอาศัยอยู่ในประเทศสวิตฯเท่านั้น
 
 E.**สิทธิการพำนักในสวิตฯ**
 สามีภรรยาของคนสวิส
 มีสิทธิยื่นขอรับใบพำนักบัตรประจำตัวแบบบี
 ซึ่งเป็นใบพำนักอนุญาตให้เข้าพักในประเทศสวิตฯ
 และสามารถประกอบอาชีพได้ถ้ามีคนจ้าง
 ซึ่งใบพำนักบัตรประจำตัวแบบบีเป็นใบอนุญาตของ
 กองตรวจคนเข้าเมือง
 
 ขอสรุปสั้นๆเลยนะคะเพราะยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย
 ถ้าคุณแต่งงงานกับชายสวิสและพำนักอย่างถาวรในประเทศสวิตฯ
 และอยู่ภายใต้กฎหมายเดี่ยวกันกับคู่แต่งงานที่เป็นชาวสวิส**
 ก็จะได้รับความความคุ้มครองมีสิทธิและได้รับความคุ้มครอง
 ทางด้านประกันสังคมต่างๆมากมายอย่างที่กล่าวมาข้างบน
 
 ถ้าสนใจอยากทราบรายละเอียดสามารถเข้าไปอ่านได้จากที่นี่
 
 http://www.pallswiss.com/cgi-bin/webboard/generate.cgi?content=0078&board=lifestyle
 
 เดี๋ยวรอคนที่มีประสบการณ์หรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้
 เข้ามาช่วยให้ข้อมูลคำตอบที่ถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้นนะคะ
 ขอขอบคุณมากค่ะ
 

คนสงสัย

ขอขอบคุณคุณป้าพอลและคุณศักดามากๆๆค่ะ และขอให้คุณลุงสุขภาพแข็งแรงไวๆ ค่ะ