News:

ยินดีต้อนรับ สู่ Pall Swiss เว็บบอร์ดตัวใหม่



**ความสามัคคี**

Previous topic - Next topic

pall

ได้อ่านเจอพระราชดำรัสของ
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบแก่พระบรมวงศานุวงศ์  
 และพสกนิกรที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล  
 ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙  
 (ฉบับไม่เป็นทางการ)  
 
 เห็นว่าเป็นประโยชน์และให้ข้อคิดมากมาย
 ขอกราบทูลพระราชดำรัสของพระองค์..นำมาให้ทุกคนอ่าน
 

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0425 ห้อง openroom (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall

" ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางมหาสมาคม  
 พร้อมพรั่งด้วยบุคคลจากทุกสถาบันในชาติ ตลอดจนประชาชนชาวไทย  
 ขอขอบใจในคำอำนวยพรและการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่
  ที่ทุกคนตั้งใจจัดให้ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ  
 ทั้งรัฐบาลได้จัดงานครั้งนี้ได้เรียบร้อยและงดงาม  
 น้ำใจไมตรีของประชาชนชาวไทยที่ร่วมกันแสดงออกทั่วประเทศ  
 รวมทั้งที่พร้อมเพรียงกันมาในวันนี้ น่าปลาบปลื้มใจมาก
  เพราะแต่ละคนได้แสดงออกและตั้งใจมาด้วยความหวังดีจากใจจริง
  จึงขอขอบใจทุกๆ คน จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดี
  และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคน ทุกฝ่าย  
 ทำให้ข้าพเจ้าเห็นแล้วมีกำลังใจมากขึ้น  
 นึกถึงคุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคี  
 ที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกันรักษา  
 และพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง  
 

pall

**ประการแรก **
 คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน  
         
 **ประการที่สอง**
  คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อ*ลกัน  
 ประสานงาน ประสานประโยชน์กัน  
 ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และกับประเทศชาติ  
           
 **ประการที่สาม**
  คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา
  และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน  
 
 **ประการที่สี่**
  คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิด ความเห็นของตน
 ให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล
  หากความคิด จิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดี
  ที่เจริญนี้ยังมีพร้อมมูลในกาย ในใจของคนไทย ก็มั่นใจได้ว่า
  ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไปได้  
 จึงขอให้ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้ ทั้งประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า
  ได้รักษาจิตใจและคุณธรรมนี้ไว้ให้เหนียวแน่น  
 และถ่ายทอดความคิด จิตใจนี้กันต่อไปอย่าให้ขาดสาย  
 เพื่อให้ประเทศชาติของเราดำรงยืนยงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข  
 ทั้งในปัจจุบันและในภายหน้า  
 
           ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล  
 จงคุ้มครองรักษาประเทศชาติไทย ให้ปลอดพ้นจากภัยอันตรายทุกสิ่ง
  และอำนวยความสุข ความเจริญ สวัสดี ให้เกิดมีแก่ประชาชนชาวไทยทั่วกัน”
 
 http://209.85.135.104/search?q=cache:Sjh7W77dkN0J:www.moe.go.th/king60/60_moe/royalwords.htm+%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B5&hl=th&ct=clnk&cd=224
 
 
 ………………….ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
 ......................................ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ.....
 

pall

ความสามัคคี ธรรมจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  
 เขียนโดย sunday  
 วันอาทิตย์ที่  12 มีนาคม พ.ศ.2549
 
 **ความสามัคคี**
 เราทั้งหลายมาประชุม กันในที่นี้ ล้วนแล้วแต่มาคนละทิศละทาง  
 ต่างจิตต่างใจต่างพ่อต่างแม่ต่างตระก..ลกันทั้งนั้น
 ย่อมมีกิริยาอาการทุกสิ่งทุกอย่างทุกประการไม่เหมือนกัน  
 ในที่สุดแม้แต่ตัวของเราเอง ซึ่งมองดูแล้วก็ไม่ถูกต้องตามความต้องการของตนก็มีเยอะ.....
  ฉะนั้น "ความสามัคคี" จึงได้ชื่อว่า เป็นคุณธรรมอันสูงส่งสำหรับพวกเราที่อยู่ด้วยกัน.....
  ความสามัคคีเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข พระพุทธองค์ตรัสว่า.....  
   “สุขา สํ ฆสฺส สามคฺคี” ..... ความพร้อมเพรียงของในหมู่คณะนำมาซึ่งความสุข  
 
            ดังนี้ ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ตั้งแต่สองคนขึ้นไปเรียกว่า คณะ
  สี่คนขึ้นไปเรียกว่า หมู่..... ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะเป็นความสุขอย่างยิ่ง
  คนยิ่งมากขึ้นไปจะเป็น ๒๐—๓๐—๔๐ หรือ ๕๐ คน
 หรือตั้ง ๑๐๐—๒๐๐ คน มีความสามัคคีกัน ยิ่งได้ความสุขมาก.....
  ดูแต่ตัวของเราคนเดียวก็แล้วกัน  
 ถ้าไม่สามัคคีกันก็ไม่ได้ความสุขเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น  
 ใจคิดอย่างหนึ่ง มือไม้ไม่ทำ ขาไม่เดิน ง่อยเปลี้ยเสียขา เป็นอัมพาตไป  
 มันก็ไม่สบายใจ ปากท้องของเราก็เหมือนกัน  
 เราหาอาหารมาให้รับประทานลงไป ปากมันก็เคี้ยวกลืนลงไป
  แต่ลำไส้มันไม่ทำงาน มันไม่พร้อมเพรียงสามัคคีกัน  
 มันจะต้องปวดท้อง อึดอัด เดือดร้อนแก่เราเพียงใด คิดเอาเถอะ
  ส่วนร่างกายของเราก็เหมือนกัน ทุกชิ้นทุกส่วนถ้าหากขาดความสามัคคีนิดเดียว
  เป็นต้นว่าแขนทั้งสองหยุดไม่ทำงาน เท่านั้นแหละเป็นอันร้องอู๊ยเลยทีเดียว  
             เหตุนั้น..... เราควรอดควรทนต่อเหตุการณ์ เมื่อมีจิตใจต่างกัน
  มีกิริยาอาการต่างกัน จึงควรอดอย่างยิ่ง
  อย่าเอาอารมณ์ของตนควรคิดถึงอกเราอกเขาบ้าง  
 ถ้าหากเราเอาแต่อารมณ์ของตนแล้ว
  จะแสดงความเหลวไหลเลวทรามของตนแก่หมู่คณะเป็นเหตุให้เสียคน
  เพราะชื่อเสียงยังกระจายออกไปทั่วทุกทิศ เสียหายหลายอย่างหลายประการ.....  
 สิ่งใดที่ไม่สบอารมณ์ของเรา อย่าผลุนผลันหันแล่น
  จงยับยั้งตั้งสติตั้งจิต พิจารณาให้ดีเสียก่อนว่า
 สิ่งนั้นถ้าเราพูดหรือทำลงแล้ว  
 มันจะเป็นผลดีและผลเสียแก่เราและหมู่คณะน้อยมากเพียงใด
 

ตุ้ม

ขอบคุณสำหรับข้อความดีๆค่ะ