สิงคโปร์ ขึ้นแท่นแดนสวรรค์ (ในการหนีภาษี) แซงสวิตเซอร์แลนด์?

Previous topic - Next topic

เทียนหอม




คลายปมครหา "สิงคโปร์" ทำไมขึ้นแท่น "แดนสวรรค์" ของโลก
 
 http://www.matichon.co.th/prachachart/prachachart_detail.php?s_tag=02for01090249&day=2006/02/09

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0083 ห้อง openroom (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

เทียนหอม

นับจากมีการปัดฝุ่นเรื่องราวเกี่ยวกับแดนสวรรค์ในการหนีภาษี หรือ tax heaven รวมถึงพฤติกรรมของเหล่าคนรวยของโลก (super rich) ที่ไม่ยอมให้กำไรหลายๆ ส่วนกระเด็นไปเป็นเงินภาษีของรัฐในหลายๆ ประเทศ
 
 โชคร้ายที่หนึ่งในประเทศที่ถูกจับมองในระยะหลังๆ มีชื่อของ "สิงคโปร์" ประเทศที่มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจเป็นอันดับหนึ่งของโลก รวมอยู่ด้วย
 
 จากการประมวลข้อมูลจากเอกสารวิจัย และจากหนังสือพิมพ์ต่างประเทศหลายฉบับ พบว่า การที่สิงคโปร์ถูกดึงมาอยู่ในโฟกัสในเรื่องของ tax heaven ด้วยนั้น มาจากหลายปัจจัย
 

เทียนหอม

ประการแรก นับจากปมแดนสวรรค์ถูกตีแผ่จากหลายๆ กลุ่ม โดยเฉพาะเครือข่าย Tax Justic Network ในยุโรป ที่เอาจริงเอาจังกับปัญหาการอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมายหลบเลี่ยงภาษี จนทำให้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) ออกมารับลูกกดดันให้สวิตเซอร์แลนด์ และเหล่าประเทศที่เกี่ยวข้องเข้มงวดกับเรื่องการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อหนีภาษี
 
 ยิ่งกว่านั้น อียูยังได้ออกกฎหมายใหม่ฉบับหนึ่ง ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา เปิดทางให้รัฐบาลในประเทศสมาชิกของอียูติดตามพฤติกรรมของแหล่งซุกภาษีบางแห่งได้ หนังสือ พิมพ์ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทริบูน ให้ปูมหลังเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ของอียู ว่า เป็นผลมาจากการเจรจาระหว่างประเทศที่สูญเสียรายได้ภาษีให้กับแหล่งที่เป็น tax heaven อาทิ ฝรั่งเศส และเยอรมนี และกลุ่มที่ได้ประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ตั้งศูนย์กลางการเงินสำคัญๆ อย่าง ลักเซมเบิร์ก และอังกฤษ
 
 ในช่วงนั้น ดอยช์แบงก์ธนาคารชั้นนำของเยอรมนียังได้จัดทำรายงานประเมินเม็ดเงินภาษี ซึ่งสรรพากรของอียูไม่สามารถไล่ล่ามาได้ โดยยกตัวอย่าง บัญชีลูกค้าต่างชาติที่เปิดในธนาคารและวาณิชธนกิจชั้นนำของสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 975 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านฟรังก์สวิส  
 
 โดยคาดว่า ประมาณ 3 ใน 4 ของเงินจำนวนนั้น เป็นเงินที่ไม่แจ้งให้สรรพากรของประเทศเจ้าของบัญชีรับรู้
 

เทียนหอม

ยิ่งกว่านั้นในปี 2550 คณะกรรมาธิการอียูมีแผนจะทบทวนเพื่อขยายขอบเขตอำนาจของกฎหมายฉบับนี้ให้กว้างขวางและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ประกอบกับในบางประเทศ อย่างสวิตเซอร์แลนด์ ก็รับลูกจากสหรัฐ เพิ่มความเข้มงวดกับบัญชีลูกค้าที่ต้องสงสัยว่า พัวพันกับการฟอกเงิน นับจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544
 
 การเคลื่อนไหวในสหภาพยุโรป จึงเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เงินเหล่านั้น ที่เคยไหลเข้าธนาคารและวาณิชธนกิจในยุโรป ต้องหาแดนสวรรค์ใหม่ ซึ่งให้สิทธิพิเศษ รวมถึงจริงจังกับเรื่องการรักษาความลับให้กับลูกค้า เฉกเช่นที่เคยได้รับจากแดนสวรรค์บางแห่งในอียู
 
 ส่วนปัจจัย ประการที่สอง น่าจะเป็นช่องโหว่ที่มาจากการแก้ไขกฎหมายในหลายๆ ส่วน อาทิ การเพิ่มความเข้มงวดในการปกป้องความลับของลูก ค้า การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับธุรกิจดูแลผลประโยชน์และทรัพย์สินให้กับบุคคล และนิติบุคคลต่างๆ (trust law) พร้อมกับอนุญาตให้ต่างชาติที่มีทรัพย์สินถูกต้องตามเกณฑ์ขั้นต่ำ สามารถซื้อที่ดิน และถือเป็นผู้ที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศสิงคโปร์
 
 ทั้งนี้ ในปี 2544 สิงคโปร์ได้แก้ไขกฎหมาย โดยเพิ่มบทลงโทษการละเมิดกฎเกณฑ์การปกป้องความลับของลูกค้า ในระดับที่รุนแรงกว่ากฎหมายของสวิตเซอร์แลนด์เสียอีก โดยตั้งค่าปรับไว้ไม่ต่ำกว่า 76,000 ดอลลาร์ และโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี ขณะที่กฎหมายของสวิตเซอร์แลนด์ การละเมิดกฎการรักษาความลับลูกค้าตั้งโทษจำคุกไว้ที่ 6 เดือน หรือปรับเงินประมาณ 38,600 ดอลลาร์
 
 นอกจากนั้น สิงคโปร์ยังได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อดึงดูดชาวต่างประเทศที่มีฐานะมั่งคั่ง ซึ่งก็รวมถึงการแก้ไขกฎหมายให้ชาวต่างประเทศสามารถยื่นขอสถานภาพผู้มีถิ่นฐานพำนักอยู่ในประเทศในปี 2547 โดยได้กำหนดคุณสมบัติสำหรับชาวต่างชาติที่จะยื่นขอสถานะนี้ว่า จะต้องเป็นผู้ที่มีทรัพย์สินอย่างน้อย 12.2 ล้านดอลลาร์ และจะต้องฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินในสิงคโปร์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3.1 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในจำนวนนั้น เจ้าของบัญชีสามารถถอนเงินฝากได้มากกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์ เพื่ออสังหาริมทรัพย์ ในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสไตล์รีสอร์ต บนเกาะเซนโตซ่าของรัฐบาล
 
 ยิ่งกว่านั้น พลเมืองกลุ่มใหม่ของสิงคโปร์ ยังจะได้รับสิทธิพิเศษในเรื่องภาษีเงินได้ที่อัตรา 20% ด้วย
 
 การแก้ไขกฎหมายในสิงคโปร์ จูงใจให้ลูกค้าของวาณิชธนกิจและธนาคารชั้นนำของโลก ต้องการย้ายบัญชีไปที่สิงคโปร์ ความต้องการดังกล่าวส่งผลให้สถาบันการเงินบางแห่งได้ย้ายสำนักงานไปตั้งที่สิงคโปร์ อาทิ เครดิต สวิส กรุ๊ป และยูบีเอส สองสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์
 
 ทั้งนี้ นับถึงสิ้นปี 2548 มีสถาบันการเงินต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มวาณิชธนกิจ เข้าไปเปิดดำเนินงานในสิงคโปร์เพิ่ม 35 ราย จาก 20 ราย ในช่วงปี 2543 โดยสถาบันการเงินเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้เปิดบัญชีที่มีเงินฝากอย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์ในแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุน การวางแผนเรื่องที่อยู่อาศัย และแม้กระทั่งภาษี
 
 หนังสือพิมพ์ดิ เอเชี่ยน วอลล์สตรีต เจอร์นัล (เอเชีย) ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ตั้งข้อสังเกตว่า เม็ดเงินในสถาบันการเงินเหล่านี้ ซึ่งไหลเข้าสู่สิงคโปร์ มีแหล่งที่มาของเงินทุน 3 แหล่ง ได้แก่ 1.ชาวเอเชียที่ร่ำรวยขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิก 2.ชาวต่างประเทศที่แสวงหาแหล่งลงทุน และทำธุรกิจในเอเชีย และ 3.ชาวยุโรปที่ย้ายเงินทุนจากสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเป้าหมายทางด้านภาษีโดยเฉพาะ ขณะที่ธนาคารสวิสเองก็ขยายการดำเนินงานเข้าสู่สิงคโปร์ตามด้วย
 
 วอลล์สตรีตฯยังให้ข้อมูลด้วยว่า เม็ดเงินในธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ซึ่งรวมถึงวาณิชธนกิจ มีเงินทุนอยู่ภายใต้การบริหารจัดการ นับถึงสิ้นปี 2547 ประมาณ 350 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากระดับ 92 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงสิ้นปี 2541  
 

เทียนหอม

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน
 วันนี้หยิบข่าวนี้มาฝากกัน เพราะเห็นว่า การเงินการธนาคาร เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของสวิส ยาวไปหน่อย ก็อ่านผ่านๆนะค๊า  
 Bon-weekend ค่ะ


pall

ขอบใจมากจ้าเทียนหอม
 เพิ่งรู้จากที่เทียนหอมบอกมา
 นับได้ว่าสวิตฯมีคู่แข่งที่น่ากลัวจริงๆ
 ขอบใจมากจ๊ะ

นิด (แม่ลูกหมูสามตัว)

ขอบคุณค่ะคุณเทียนหอม ที่นำข่าวสารดีๆเป็นความรู้ มาฝากกัน ช่วงนี้นิดมาให้เห็นหน้าล่าช้าไปหน่อย คงไม่น้อยใจนะค่ะ