ขอความช่วยเหลือ เรื่อง คนไทยเสียชีวิตในประเทศสวิส

Previous topic - Next topic

noi_geneve

ถึง ป้าพอลหรือเพื่อนๆคนไทยนะคะ
คือตอนนี้ เพื่อนของแฟน(คนสวิส)ซึ่งเค้ามีแฟนเป็นคนไทย(หญิง) ได้เสียชีวิตที่ เจนีวา แต่ทางสามี(คนสวิส)
ไม่ทราบว่าต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ใครพอมีประสบการณ์เรื่องนี้ว่าต้องดำเนินการอย่างไร ช่วยด้วยนะคะ
คำถามคือ ทางสามีเค้าต้องไปติดต่อที่ไหนบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมเอกสารหรือแปลเอกสารใดบ้าง
ตอนนี้ทางสามีคนสวิส ได้ทำพิธีเผาไปแล้ว ในส่วนขั้นตอนต่อไปต้องทำอะไรบ้าง

วอนผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะคะ

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ

pall

สวัสดีค่ะ คุณnoi_geneve
การแจ้งจดทะเบียนคนตาย (ออกมรณบัตร)ของคนไทยในต่างประเทศ
ให้ไปติดต่อที่สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศ
เพื่อขอใบมรณบัตร

ขั้นตอนการจดทะเบียนคนตาย (ออกมรณบัตร)
          สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศ มีหน้าที่จดทะเบียนคนตาย โดยออกมรณบัตรให้แก่คนไทยที่ไปเสียชีวิตในต่างประเทศ ผู้แจ้งการตายจะต้องนำหลักฐานของผู้ตายและหลักฐานการตายมาแสดงต่อนายทะเบียนของสถานทูต สถานกงสุล ทั้งนี้ ผู้แจ้งการตายไม่จำเป็นต้องเป็นญาติของผู้ตาย แต่จะเป็นบุคคลใดก็ได้ที่ทราบการตายนั้น ขั้นตอนการจดทะเบียนคนตายมีดังนี้
•   ขอดูหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการตายจากผู้แจ้งการตาย ได้แก่
•   ต้นฉบับใบตายท้องถิ่นที่ออกโดยทางการของประเทศนั้นๆ
•   เอกสารการชันสูตรศพของทางการท้องถิ่น (หากมี)
•   หนังสือเดินทาง บัตรประชาชน และ/หรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย
•   บัตรประชาชน และ/หรือหนังสือเดินทางของผู้แจ้งการตาย
•   กรอกรายละเอียดลงในมรณบัตร ทั้ง 3 ตอน เมื่อเรียบร้อยแล้ว มอบมรณบัตร
•   ตอน 1 ให้ผู้แจ้งการตาย
•   ตอน 2 ส่งให้กระทรวงฯ เพื่อส่งต่อไปยังสำนักทะเบียนกลาง กระทรวงมหาดไทย
•   ตอน 3 เป็นต้นขั้วซึ่งต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานของสถานทูต สถานกงสุล
ข้อสังเกตในการออกมรณบัตร
•  มรณบัตรทุกฉบับจะต้องลงชื่อผู้แจ้งการตาย และนายทะเบียน และมีชื่อสำนักทะเบียน รวมทั้งต้องกรอกเลขที่ วันเดือนปีที่รับแจ้ง
•  การกรอกสาเหตุการตายในมรณบัตร ต้องกรอกชื่อโรคหรืออาการเริ่มต้นของโรคที่มีผลให้เกิดการตายโดยตรง หรือบรรดาพฤติการณ์ของอุบัติเหตุหรือเหตุร้ายแรงซึ่งก่อให้เกิดอาการสาหัสถึงตาย เช่น ถูกยิงตาย จมน้ำตาย ยิงตัวตาย ผูกคอตาย กระโดดน้ำตาย เป็นต้น อย่าใช้คำกว้างๆ เช่น ป่วย ถูกฆ่าตาย อุบัติเหตุ เป็นต้น
•  มรณบัตรทุกฉบับควรมีรายละเอียด ชื่อบิดา-มารดา ของผู้ตาย ถ้าเป็นไปได้นายทะเบียนควรตรวจสอบรายละเอียด ชื่อบิดา-มารดา ของผู้ตาย จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น จากบริษัทที่จ้างผู้ตายมาทำงานจากเอกสารประกอบการออกมรณบัตร หรือจากผู้แจ้งตาย
•  โดยทั่วไปแล้ว การแจ้งการตายมักจะกระทำไม่ทันภายใน 24 ชั่วโมง ดังนั้น ขอให้นายทะเบียนพิมพ์ความ "แจ้งตายเกินกำหนด" ไว้เหนือกรอบเลขที่มรณบัตรด้วย
•  ในการรายงานการจดทะเบียนคนเกิดและคนตาย ขอให้นายทะเบียนจัดส่งสำเนาสูติบัตรและมรณบัตร ตอน 2 ที่รับรองสำเนาถูกต้องให้กระทรวงฯ 1 ชุด ด้วย และหากมีการจดทะเบียนมากกว่า 1 ราย ขอให้จัดส่งบัญชีสูติบัตร มรณบัตร ด้วย
http://www.mfa.go.th/web/29.php

หวังว่่่าข้อมูลนี้คงพอช่วยคุณได้บ้างนะคะ รอผู้มีประสบการณ์ท่านอื่นมาช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติม นะคะ

noi_geneve

ขอบพระคุณป้าพอล มากๆ เลยค่ะ ขอให้ป้าพอลและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรงทุกๆคนเลยนะคะ
เดี๋ยวหนูจะเมลล์ไปบอกเค้า ขอบคุณอีกครั้งจากใจจริงค่ะ