**สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ Witwenrenten**

Previous topic - Next topic

pall

**Hinterlassenenrenten**
เป็นบำนาญที่ทิ้งไว้ให้คนอยู่ข้างหลังได้รับ
 
**Witwenrenten**
คำว่า Witwenrentenหมายถึงเบี้ยบำนาญแม่ม่าย
 
คนที่อยู่ในสภาพแม่ม่ายสามีตายจากไปก่อน ถ้าเมียมีงานทำพอหาเลี้ยงตัวได้ก็ไม่ลำบากเท่าไร
และสามีได้ทิ้งสมบัติไว้ให้พอสมควรหรือได้รับเงินปันส่วนบ้างก็ยังอยู่ด้วยความสุข
แต่ถ้าผู้หญิงคนนั้นไม่มีงานทำโชคดีที่ไม่มีลูกด้วยกัน
แต่โชคร้ายที่วสามีไม่มีเงินหรือมีสมบัติอะไรติดตัวเลยเรียกว่าใช้อย่างเดียวไม่มีเงินเก็บ
ซ้ำเป็นหนี้เป็นสิน เรียกว่าสมัยช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ใช้ชีวิตหมดไปวันๆหาความสุขใส่ตัวจริงๆ
ไม่นึกถึงอนาคตข้างหน้าแบบนี้น่าเห็นใจผู้เป็นเมียที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างมาก

มนุษย์เราไม่ควรประมาทกับชีวิตและอนาคตข้างหน้ากฎหมายเล็กๆน้อยๆเป็นสิ่งที่เราควรได้รับรู้
และทำความเข้าใจบ้างไม่จำเป็นที่จะต้องแตกฉานว่าจะต้องยกมาตราหรือกฎข้อนั้นข้อนี้
เพราะเราเป็นแม่บ้านธรรมดาไม่ใช่นักกฎหมายโดยตรง
การรับรู้กฎหมายพื้นบ้านธรรมดาไม่ได้ใช้ในการประกอบอาชีพ
แค่นี้ก็พอแล้วสำหรับการเตรียมตัวและการรับรู้สิทธิบางอย่างของเรา


**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0041 ห้อง stories_life (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall

**สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ Witwenrenten**

A...ผู้หญิงที่จะได้รับเงินแม่ม่ายในกรณีย์ไม่มีลูกด้วยกัน
ต้องแต่งงานอยู่ด้วยกันอย่างน้อย5ปี... และมีอายุตั้งแต่45ปีขึ้นไป

B....ผู้หญิงที่ได้รับเงินแม่ม่ายได้เลย
โดยไม่ต้องคำนึงอายุแบบข้อแรกในกรณีย์ที่ ถ้ามีลูกด้วยกันหรือมีลูกเลี้ยง Stiefkinder
หรือ Verwitwung Kinder เด็กที่ยังมีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งหนึ่งยังมีชีวิตอยู่

C.. Witwenrenten an geschiedene Frauen
ผู้หญิงที่หย่ากันแล้วแต่ไม่เคยแต่งงานใหม่อีกเลย ถ้าสามีเก่าที่หย่ากันได้เสียชีวิตลง
เมียเก่ามีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญแม่ม่าย Witwenrentenนี้ด้วยถ้า
_ มีลูกด้วยกันและแต่งงานอยู่กินกันในเวลาประมาณ10ปีด้วยกัน
_ เมื่อหย่ากันมีอายุมากกว่า45ปีและแต่งงานอยู่กินกันใช้เวลา10ปีด้วยกัน
_ เมื่อลูกคนเล็กสุดอายุครบ18ปีและผู้เป็นแม่มีอายุ45ปี
ผู้ได้รับเงินบำนาญแม่ม่ายต้องไม่ได้แต่งงานกับใครอีกจึงจะได้รับเงินบำนาญส่วนนี้
 
** Kinderrenten zu den Altersrenten bis zum 18. Altersjahr der Kinder oder bis längstens zum 25. Altersjahr, wenn die Kinder in Ausbildung sind.**
 
เงินเบี้ยหวัดเด็กจะได้รับเงินส่วนนี้จนเด็กมีอายุครบ18ปีหรือได้รับเงินเงินต่อไปอีกจนอายุถึง25ปีในกรณีย์ยังศึกษาฝึกงานอยู่
 
**ข้อมูลมาจาก**
Ausgleichskasse  des Kantons Bern
สนใจอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหรือความรู้ต่างๆสามารถเข้าไปอ่านได้จากที่นี่
http://www.akbern.ch/Information/Inf.ALG/ahv_iv_allg_info2000.htm
http://www.vorsorgeforum.ch/DE/Grundlagen/Risiko.htm

nattanit gamp

to..papall....wann ich und meine mann go to thailand und er gestorben in thailand. ich habe witwenrenten in thailand...JA OR Nein..( Ich spreche ein wenig deutsch.)

nattanit

guten tag, papall.. Entschuldigung, gester ich schriebe nich gut.  Ich denke papall nich verstehen.  Ich sagen wann ich und meine mann gehen nach thailand ( 2009) und bleiben in thailand bis imer.  er gestorben in thailand. ich habe witwenrenten. yes or no.  DANKE SCHÖN .

pall

สวัสดีค่ะ คุณnattanit gamp 
ถ้าป้าไม่ได้เข้าใจผิดนะคะป้าคิดว่าสามีของคุณยังไม่ได้ปลดเกษียรและต้องการย้ายไปอยู่ที่ประเทศไทยโดยถาวรกับคุณ 
ดังนั้นสามีของคุณยังไม่มีสิทธิขอรับเงินคนแก่ส่วนนี้ตอนที่ย้ายไปอยู่ที่ประเทศไทย(ปี2009) 
คุณต้องทำความเข้าใจกับคำว่าHinterlassenrenten Witwenrentenก่อนนะคะคำ 
เงินแม่ม่ายส่วนนี้จัดเป็นเงินประกันสังคมที่เราเรียกว่า 
** Erste Saeule ** 
AHV/IV 
เงินประกันสังคมส่วนนี้สามีคุณจะต้องจ่ายตลอดไปจนกระทั่งเขาอายุครบ65ปี(แต่ก็สามารถยุติการจ่ายAHV/IVได้แต่จะมีผลเกี่ยวกับการเงินส่วนนี้ในอนาคต)
ในระหว่างที่เขาจ่ายเงินส่วนนี้คุณไม่ต้องกังวลใจเพราะหมายถึงว่าเขารวมจ่ายให้คุณไปด้วยดังนั้นเมื่อเขายังจ่ายเงินAHVและมีอะไรเกิดขึ้นคุณก็มีสิทธิได้รับเงินHinterlassenrenten Witwenrenten(เงินแม่ม่าย)ได้
แต่เงินแม่ม่ายส่วนนี้ทางAusgleichskasse(ประกันสวัสดิการสังคมของรัฐบาล)คุณจะต้องทำเรื่องยื่นขอรับเงินและเขาจะไม่ส่งเงินไปให้คุณโดยตรงนะคะคุณจะต้องมีบัญชีอยู่ที่นี่ซึ่งเขาจะได้นำเงินส่งเข้าไปในบัญชีของคุณเรื่องการส่งเงินจากบัญชีไปให้คุณทางประเทศไทยคุณต้องจัดการเอง 

เพื่อความรอบคอบถูกต้องและเพื่อความสบายใจสามีคุณควรติดต่อสอบถามไปยังAusgleichskasseเขตที่อยู่นะคะเขาจะจะได้แนะนำว่าควรทำอย่างไรจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องจริงๆและเมื่อย้ายไปอยู่ที่ประเทศไทยแล้วอย่าลืมไปติดต่อสอบถามกับสถานทูตสวิสด้วย 
เกี่ยวกับการจ่ายเงินประกันสังคม* Erste Saeule ** AHV/IV...ส่วนนี้
 
**เอกสารสำคัญอย่าลืมนำติดตัวไปด้วย** 
บัตรสวัสดิการคนสูงอายุAHV-Versicherungsausweisถ้าคุณไม่มีคุณไปขอได้นะคะจากเขตที่อยู่และเอกสารสำคัญอื่นๆ 
ป้าคิดว่าสามีของคุณควรรุ้ดีว่าควรทำอย่างไรบ้างและเอกสารต่างๆที่จะต้องยื่นคำร้องขอAntrag auf Rueckverguetung von AHV-Beitrageที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้อง 

รอคนอื่นๆที่รู้ดีกว่าเข้ามาช่วยตอบด้วยค่ะและลองเข้าไปอ่านทู้นี้ด้วยนะคะ 
<<<DAS DREI - SAEULEN - MODELL>>>
เปลี่ยนเลขประจำตัวของ AVS/AHV
<<<AHV ของ HAUSFRAU(แม่บ้าน)>>>
http://www.avs-ai.ch/Home-D/allgemeines/formulare/318371d.pdf 
http://www.swissemb.org/cslaff/avs/avsd.pdf

nattanit


นิด( แม่ลูกหมูสามตัว)

สรุปก็คือเงิน AHV ของคู่สมรสที่เสียชีวิตและทิ้งไว้ให้เป็นหลักประกันความมั่นคงแก่ชีวิตของ คู่สมรสหรือ ลูก  
   
ถ้าในกรณีที่พ่อแม่เสียชีวิต ลูกก็จะได้รับเงินส่วนนี้ของทั้งพ่อและแม่
เงินเบี้ยหวัดเด็กจะได้รับเงินส่วนนี้จนเด็กมีอายุครบ18ปี  
หรือได้รับเงินต่อไปอีกจนอายุถึง25ปีในกรณียังศึกษาฝึกงานอยู่  
     
        ถาม ?
1. ลูกจะไม่ได้รับเงินจำนวนตลอดไป ถ้าสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้แล้ว  
2. ถ้าพ่อแม่เสียชีวิต แล้วลูกมีอาชีพเลี้ยงดูตัวเองได้แล้ว เงินจำนวนนี้ลูกก็ไม่ได้ ใช่ไหมค่ะ
3.เท่ากับว่า เงิน AHV ไม่ใช่เงินมรดกที่คู่สมรส หรือพ่อแม่ที่เสียชีวิตจะทิ้งไว้ให้คู่สมรสหรือลูก เป็นเพียงเงินที่จะแบ่งมาช่วย แต่ไม่ได้ทั้งหมด

ตุ้ม

สวัสดีค่ะ คุณ Pall และนิด
 เงิน AHV / AVS เป็นเงินประกันสังคมที่หัก 5.05 % ออกไปจากเงินเดือนและนายจ้างจะต้องจ่าย 5.05% เช่นเดียวกับลูกจ้างค่ะ  เด็กกำพร้ามีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินนี้เมื่อพ่อหรือแม่(ในกรณีย์ที่แม่ทำงาน)เสียชีวิต  ขอเพิ่มเติมว่าถึงแม้ว่าเด็กกำพร้าจะไม่ได้อยู่ในประเทศสวิตฯก็ยังคงมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินนี้เช่นกันค่ะ
 
 1 และ 2 เด็กกำพร้าที่สมารถเลี้ยงตัวเองได้ ถ้าอายุยังต่ำกว่า 18 ปี (25 ปีในกรณีย์ที่ยังเป็นนักเรียน) ก็ยังคงมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินนี้  โดยการแสดงหลักฐานรับรองจากสถาณศึกษา  
 3 เงินนี้ไม่ใช่มรดกเป็นเงินประกันสังคม(First Pillar) จากการทำงานของพ่อและ/หรือแม่
 
 ภรรยาหรือสามีและบุตรยังมีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะได้รับเงินบำนาญ(Second Pillar) ดัวยเช่นกัน  เงินสะสมนี้ก็ได้ถูกหักออกไปจากเงินเดือนตามส่วนสัดของรายได้โดยนายจ้างก็ต้องจ่ายร่วมดัวย  สามีภรรยาที่หย่าร้างกันเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงเวลามีสิทธิ์ที่จะรับเงินนี้เนื่องจากอายุถึงวัยเกษียรหรือย้ายออกถาวรไปอยู่ต่างประเทศหรือเปิดกิจการค้าส่วนตัว  เงินสะสมนี้ต้องนำมาแบ่งปันกันตามระยะเวลาของการสมรส  ฉนั้นคู่สมรสใหม่ต้องอย่าลืมแจ้งให้ทางที่ทำงานทราบชื่อและวันเดือนปีเกิดของคู่สมรสรสมทั้งวันแต่งงานด้วย  เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์นี้

ตุ้ม

ขอเพิ่มเติมเรื่องเงิน AHV / AVS ที่คุณ Pall ว่าจะต้องจ่ายไปจนถึงอายุ 65 นั้น  ถ้าสามีไม่มีรายได้และจ่ายแค่อัตราต่ำสุดนั้น(เพื่อนับจำนวนปี)  ภรรยาจะต้องจ่ายของตนเองในอัตราขั้นต่ำสุดดัวยค่ะ  และจะต้องจ่ายไปเรื่อยๆจนอายุถึง 64 (ถ้ากฎหมายยังไม่เปลี่ยนเป็น 65)  เงินนี้เวลาที่เราได้รับทางรัฐจะคำนวนจากจำนวนเงินที่เราจ่ายเข้าไปและจากจำนวนปีที่เราจ่าย  ฉนั้นจึงเป็นข้อสำคัญที่เราจะต่องจ่ายเข้าไปในอัตราต่ำสุดทุกๆปีถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ทำงาน  แต่ถ้าได้รับเงินคนว่างงานไม่ต้องจ่ายค่ะ  เพราะเค้าหักออกไปจากนั้นแล้ว

pall

ขอบคุณคุณตุ้มมากเลยค่ะ
 เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และให้ความรู้มาก
 ขอตอบเป็นภาษาเยอรมันสำหรับคนอยู่เขตนี้นะคะ
 ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

pall

สวัสดีจ๊ะนิด  
 ขอตอบคำถามแต่ละข้อที่ถามมาเป็นข้อๆ  
 
 **คำถามที่ถามมาทั้งสองข้อ**  
 ถ้าในกรณีที่พ่อแม่เสียชีวิต ลูกก็จะได้รับเงินส่วนนี้ของทั้งพ่อและแม่  
 เงินเบี้ยหวัดเด็กจะได้รับเงินส่วนนี้จนเด็กมีอายุครบ18ปี  
 หรือได้รับเงินต่อไปอีกจนอายุถึง25ปีในกรณียังศึกษาฝึกงานอยู่  
 1. ลูกจะไม่ได้รับเงินจำนวนตลอดไป ถ้าสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้แล้ว  
 2. ถ้าพ่อแม่เสียชีวิต แล้วลูกมีอาชีพเลี้ยงดูตัวเองได้แล้ว เงินจำนวนนี้ลูกก็ไม่ได้ ใช่ไหมค่ะ  
 
 **คำตอบของทั้ง2คำถามรวมกัน**  
 
 เด็กจะได้รับเงินส่วนที่เราเรียกว่าWaisenrenten  
 และเงินเบี้ยหวัดเด็กจะได้รับเงินส่วนนี้จนเด็กมีอายุครบ18ปี  
 หรือได้รับเงินต่อไปอีกจนอายุถึง25ปีในกรณียังศึกษาฝึกงานอยู่เท่านั้น  
 ถ้าพ่อแม่ตายหมดทั้งสองคนเขาจะได้รับเงินWaisenrenten  
 จำนวน2ส่วนของพ่อ1ส่วนและของแม่1ส่วน  
 และได้รับเงินWaisenrentenส่วนนี้  
 จนครบอายุตามที่บอกมาข้างต้น
 
 **คำถาม**  
 3.เท่ากับว่า เงิน AHV ไม่ใช่เงินมรดกที่คู่สมรส  
 หรือพ่อแม่ที่เสียชีวิตจะทิ้งไว้ให้คู่สมรสหรือลูก  
 เป็นเพียงเงินที่จะแบ่งมาช่วย แต่ไม่ได้ทั้งหมด  
 
 **คำตอบ**  
 เงิน AHVที่ฝ่ายเมียได้รับที่เราเรียกว่าWitwenrenten  
 หรือที่ลูกได้รับที่เรียกว่า Waisenrenten  
 ไม่ใช่เงินมรดกตกทอดที่คู่สมรสทิ้งไว้ให้คู่สมรส  
 หรือพ่อแม่เสียชีวิตแล้วทิ้งเงินมรดกส่วนนี้ให้แก่ลูกที่อยู่ทางหลัง  
 **แต่เป็นเงินประกันสังคมที่รัฐจ่ายให้เท่านั้น  
 เงินที่เราเรียกว่า Erste Saeule**  
 
 หวังว่าข้อมูลที่ตอบมาคงให้ความเข้าใจบ้างไม่มากก็น้อย
 สนใจเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
 http://www.avs-ai.ch/Home-D/AHV/AHV-hinterlassenrenten/ahv-hinterlassenrenten.html#Enfants
 
 http://www.avs.admin.ch/Home-D/AHV/ahv.html
 
 

ตุ้ม

ลืมไปอีกนิดค่ะเรื่องเงินบำนาญ (Second Pillar) กฎหมายใหม่ให้สิทธิ์ชายและหญิงหรือชายและชายหรือหญิงและหญิงที่อยู่ร่วมกันอย่างชัดแจ้งอย่างน้อย 5 ปีขี้นไป  มีสิทธิ์เหมือนกับคู่สมรสที่แท้จริง แต่ลูกจ้างจะต้องแจ้งข้อมูลเป็นหลักฐานต่างๆเช่นจดทะเบียนที่อยู่อาศัยด้วยกัน, ใช้บัญชีธนาคารร่วมกันให้นายจ้างเพื่อนายจ้างจะได้ไปยื่นให้บริษัทประกันหรือกองทุนเงินบำเน็จบำนาญ  กฎหมายเดิมถ้าลูกจ้างเป็นโสดเมื่อถึงแก่กรรมไป บิดามารดาหรือผู้รับมรดกจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์

pall

ขอบคุณคุณตุ้มอีกครั้งค่ะ
 เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากจริงๆ
 ทำไห้ได้รู้เพิ่มเติมไปอีก
 บางเรื่องถึงแม้เรายังไม่เคยมีปัญหา
 แต่การศึกษาเก็บข้อมูลเป็นสิ่งที่ควรทำมาก
 
 
 

นิด( แม่ลูกหมูสามตัว)

สวัสดีป้าเพลา ป้าตุ้ม คุณnattani รอบดึกค่ะ แม่ลูกหมู พึ่งกลิ้งๆฝ่าหิมะเป็นหมูชุบแป้งทอดกลับมาจากทำงาน เข้ามานั่งอ่านอย่างละเอียดอีกครั้ง ต้องขอบคุณป้าเพลาและป้าตุ้มที่ขยายความอธิบายให้เข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ เพราะที่เคยเข้าใจมายังไม่ละเอียดกระจางเต็มที  
   
 หลังจากถามป้าอย่างละเอียดอีกครั้ง จึงได้ทราบเพิ่มอีกว่า  
 
           ถ้าคู่สมรสเสียชีวิตทั้งคู่ ไม่มีผู้รับเงินAHVจำนวนนี้ รัฐก็จะเอาเข้ากองกลาง เป็นเงินสำหรับเลี้ยงดูคนแก่คนอื่นๆที่ยังมีชีวิตรอด.หรือเลี้ยงคนแก่รุ่นหลังๆต่อไป เงินนี้ไม่ได้ไปทำประโยชน์ในส่วนอื่น นอกจากเขาจะนำไปเลี้ยงดูคนแก่เท่านั้น เงินนี้ไม่เกี่ยวกับการช่วยเหลือในส่วนอื่น เช่น เงินคนตกงาน หรือ คนไม่มีเงินแบบโซเชี่ยว

nattanit

sawasdeeka.Papall, Nit,Tum..meine mann habe IV 50% ich habe 289 CHF. Ich fragen? 1. ich habe 2 kinder thai ( bleiben in thailand) es hat IV YES OR NO ?( 10 und 9 jaher) mein mann hat 2 kinder für( ex-frau switzerrin ) es hat IV bis 18 .