วีซ่า พำนักใน ประเทศไทย

Previous topic - Next topic

หมีพู

อยากสอบถามเพื่อน ๆ  ใครรู้มั่งค่ะ  ถ้าสามีชาวสวิสจะไปอยู่ ประเทศไทย วีซ่าการพำนัก ถาวรมีหรือไม่  หรือต้องต่อวีซ่า เหมือน เรามาอยู่ที่นี้   ขั้นตอนยุ่งยาก  ไหมค่ะ  
ใครรู้ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ

pall

สวัสดีค่ะคุณหมีพู
วีซ่าพำนักถาวรไม่มีค่ะ จะต้องทำเรื่องยื่นต่อขอวีซ่า ให้อนุญาตครั้งละไม่เกิน ๑ ปี
และขึ้นอยู่กับการยื่นขอวีซ่าค่ะของสามีคุณค่ะถ้าสามีคุณมีความต้องการไปอยู่เมืองไทย เกี่ยวการยื่นเรื่องหรือขั้นตอนเอกสารที่ใช้คุณลองเข้าเข้าไปอ่านที่นี่ข้างในจะมีข้อมูลการยื่นทุกอย่างตามที่คุณถามมาเช่น
**หลักเกณฑ์ การขอใบอนุญาตทำงาน ประเภทบริษัททั่วไปWork Permit Visa
**กรณีเพื่อการท่องเที่ยว
** กรณีเพื่อการลงทุน ไม่น้อยกว่า ๓ ล้านบาท
**กรณีสมรสกับหญิงไทย ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่ง
http://www.twglawoffice.com/thvisa.htm

**ประกาศคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง**
เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขประกอบการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
http://www.immigration.go.th/nov2004/doc/declaration4extend.doc

**ข้างในเป็นข้อมูลของการขอวีซ่าต่างๆเช่น**
**วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA)
http://www.immigration.go.th/nov2004/base.php?page=visa

**วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว (TOURIST VISA)
http://www.immigration.go.th/nov2004/base.php?page=visa

**ข้อมูลแบบของวีซ่า**
วีซ่าแบบ 1 ปี (LONG TERM VISA 1 YEAR)
วีซ่าแบบชีวิตบั้นปลาย (RETIREMENT VISA)
วีซ่าประเภทธุรกิจ (NON – IMMIGRANT VISA )
การขอกลับมาในราชอาณาจักรอีก (RE - ENTRY PERMIT)
http://www.ibthai.com/thai/visa.asp

pall

**ข้อมูลของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง**
การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (2550)
กรณีเพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(สามี-ภรรยา, บิดา-มารดา หรือ บุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ยังไม่สมรส)

เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
1.  แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
2.ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
3.หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา
โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย (เฉพาะผู้ยื่นคำขอที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป)
4.สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรส ,ทะเบียนสมรส (ค.ร.2) ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน,
ใบสูติบัตร บุตร, เอกสารการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3. และหากเป็นการจดทะเบียนในประเทศไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับรองสำเนา
5.สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสัญชาติไทย พร้อมทั้งนำต้นฉบับไปแสดงด้วย สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือหนังสือรับรองว่าผู้ยื่นคำขอกำลังศึกษาอยู่แล้วแต่กรณี
6.ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติรับเข้าทำงาน ประทับตราบริษัทฯ และผู้มีอำนาจลงนามรับรอง
7.หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน และสำเนาใบอนุญาตทำงานทุกเล่ม และทุกหน้า
8.หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) , ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือรับรอง) และ สัญญาการจ้าง
http://www.immigration.go.th/nov2004/download/salarycertify.doc
9.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
10.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร ตั้งแต่ต้นปี จนถึง เดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
11.หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลบริษัทที่ผู้ให้ความอุปการะทำงานอยู่ (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุ ไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
12.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลที่ผู้ให้ความอุปการะเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์และ มีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
13.สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ. 20
14.  สำเนางบการเงิน(งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงินของปีก่อนที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดย เจ้าหน้าที่ของสรรพากร (กรณีเป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องนำมาแสดง)
15.นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือ เอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
16.หนังสือรับรองจากธนาคาร พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากประจำของผู้ให้ความอุปการะ (ถ้ามี)
17.แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
18.สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
19.แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถ พิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ(ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสารขนาดเอ 4)
20.กรณีการยื่นอุปการะบุตรคนสัญชาติไทย ต้องนำหลักฐานการตรวจดีเอ็นเอ จากโรงพยาบาลของรัฐบาล แสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง บิดา มารดา และบุตร ด้วย
21.กรณีการยื่นอุปการะคู่สมรสคนสัญชาติไทย หากจดทะเบียนสมรสไม่ถึง 5 ปี และมีบุตรด้วยกัน ต้องนำหลักฐานการตรวจ ดีเอ็นเอ จากโรงพยาบาลของรัฐบาล แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บิดา มารดา และบุตร ด้วย
22.กรณีคู่สมรสคนสัญชาติไทยมีบิดามารดา หรือคนใดคนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาใบสูติบัตรของคู่สมรสที่ผ่านการ รับรองจากเขต/อำเภอ พร้อมทั้งแนบสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ,ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ทะเบียนบ้าน ของบิดามารดา ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ด้วย หากรายใดเสียชีวิตให้แนบสำเนาใบมรณะบัตรด้วย
23.กรณีคู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ให้แนบใบรับรองแพทย์โรงพยาบาลรัฐบาล พร้อมระบุสาเหตุการไม่สามารถมีบุตรได้
24.เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
http://www.immigration.go.th/nov2004/base.php?page=service#

pall

ถึงแม้จะเป็นข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็ตาม
ขอแนะนำว่าควรไปสอบถามข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อีกครั้งเพราะ
**อายุของผู้ขอการเข้ามาพำนักในประเทศไทยที่กำหนดเขียนไว้
มีบางคนที่ขอต่ำกว่า50ปีสามารถขอได้และอย่าลืมจำนวนเงินฝากธนาคารไม่ต่ำกว่า4แสนบาท
หวังว่าคงเป็นข้อมูลช่วยคุณหมีพูได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

รอคนอื่นๆที่มีความรู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เข้ามาให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำนะคะ
ขอขอบคุณแทนคุณหมีพูด้วยค่ะ

หมีพู

ขอบคุณมากค่ะ ได้ประโยชน์มากมากเลยค่ะ