การย้ายที่อยู่ต้องเริ่มต้น เบใหม่ไหมคะ

Previous topic - Next topic

แจง

สวัดดีคะป้พอลและพี่ๆ
                   วันนี้แจงมีเรื่องมารบกวนขอความรู้จากผู้รู้คะ คือแจงมาอยู่ที่สวิส ได้ 5 ปีแล้วคะ แต่จดทะเบียนได้ 3 ปีแล้วคะ แต่ก่อนอยู่ที่  คอนโทน อาก่าว เดี่ยวนี้ย้ายมาอยู่ คอนโทน Basel Stadt คำถามก็คือว่า แจงต้องได้เริ่ม ต้น นับหนึ่ง พาส เบ ใหม่หรือเปล่าคะ?
 ขอบคุณคะจะรอคำตอบคะ
 สวัดดีคะ

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0153 ห้อง lifestyle (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall

สวัสดีค่ะคุณแจง
จำนวนปีที่คุณพำนักอยู่Kantons Aargauจำนวน3ปี   จะลบออกทันทีและ
ใบAufenthaltsbewilligung Bของคุณจะเริ่มต้นนับใหม่  เมื่อคุณย้ายไปพำนักเขตที่คุณเข้าไปพำนักคือBasel

**อ่านตรงนี้นะคะ**
Erlöschen der Aufenthaltsbewilligung
Die Aufenthaltsbewilligung erlischt mit dem Ablauf der Bewilligungsfrist, mit der Erteilung einer Bewilligung in einem anderen Kanton, mit der Abmeldung, mit der tatsächlichen Aufgabe des Aufenthalts in der Schweiz sowie mit der Ausweisung.


แจง

สวัดดีคะป้าพอล
           ขอบคุณมากคะสำหรับให้คำตอบแต่ที่ป้าส่งมา เป็นลิ้งคของบาเชิล ลัน คะ แต่แจงตอนนี้อยู่ที่คอนโทน บาเชิลสตัสคะไม่ทราบว่าเหมือนกันไหมคะ แต่แจงก็ถามสามีแล้วเขาบอกว่าเขาไปถามที่อำเภอแล้วเขาบอกว่า ไม่ได้เริ่มต้นไหม่คะ แจงก็เลยอยากจะถามป้าให้แน่ใจคะ
 ช่วยตอบอีกครั้งได้ไหมคะป้า
 ขอบคุณล่วงหน้าคะ
 ตอนนี้แจงคิดมากๆๆๆๆๆๆเลยคะป้า
 แจงคะ

ดาว

ก่อนอื่นขอสวัสดีป้าก่อนค่ะ  อ่านข่าวป้าเรื่อย ๆ แต่ไม่มีโอกาสจะตอบ (ปรกตลูกอยู่ด้วย  ยอมให้แม่อ่านบ้าง ไม่ยอมบ้าง  แต่เรื่องเขียนตอบ หมดสิทธิ์  ตอนนี้เธอหลับค่ะ)  ขอให้ป้ากับลุงแข็งแรงเร็ว ๆ นะคะ
 
 ส่วนเรื่องใบเบ  ดาวเคยย้ายบ้านมาสองครั้ง  ย้ายเมืองแต่ไม่ได้ย้ายค้นโตน  พอเข้าที่ใหม่ก็ไปแจ้งเมืองเปลี่ยนที่อยู่  ต้องเสียตังค์ใหม่  แต่เวลานับต่อค่ะ  พออยู่สวิสครบห้าปี ก็ได้ใบซี  พอได้ซีก็ขอสัญชาติได้ค่ะ  ขอไปเกือบปีแล้ว  ยังเงียบอยู่เลยค่ะ
 
 แจงอยู่สวิสมาก่อนสองปี  แล้วแต่งครบสามปี  รวมเป็นอยู่สวิสห้าปี  เข้าใจถูกไหมคะ  ดาวว่าควรจะได้ใบซีแล้วค่ะ
 
 เราเป็นคนที่แต่งงานกับคนสวิส  มีสิทธิ์พิเศษกว่าพวกที่เข้ามาโดยไม่ได้แต่ง  พวกนั้นต้องอยู่สวิส  เมืองเดิมตลอดสิบสองปี  จึงจะได้ซีและขอสัญชาติได้ค่ะ
 
 ข้อมูลได้มาจากคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เมือง  ผิดถูกยังไง  ลองสอบถามเมืองที่อยู่อีกครั้งนะคะ  ดาวอยู่ทัวเการ์ค่ะ

หวึ่งค่า

หวึ่งว่าที่ป้าพอลบอกนั้นนะค่ะคือใช่เลย เพราะหวึ่งอยู่คันโตลโสโรตูล และหวึ่งย้ายบ้านบ่อยมาก มาอยู่4ปีย้ายบ้านมาแล้ว4ครั้ง กับการย้ายออกจากบ้านพ่อแฟนด้วย แต่ที่ย้ายใน4ครั้งนี้อยู่ในคันโตลเดียวกันค่ะ และก็เคยถามเกไมเด่ว่าถ้าย้ายไปอยู่คันโตลอื่นนี้ได้ไม เขาบอกว่าคุณสามารถย้ายได้แต่ใบพาสเบของคุณจะต้องนับ1ใหม่ค่ะ ยังไงก็รอฟังท่านอื่นๆด้วยก็ดีนะค่ะ

ศักดา

สวัสดีครับ คุณแจง
 ขอมาช่วยเสริมคำตอบด้วยคนครับ ผมอ่่านข้อสงสัยของคุณแล้ว
 และำได้อ่านข้อกฏหมายตามข้างล่างนี้แล้วเข้าใจว่าได้ดังนี้ครับ
 ว่า ใบ Aufenthaltsbewilligung Bของคุณ ทางKanton ที่คุณจะย้าย
 ไปอยู่จะออกใบอนุญาตให้คุณใหม่ ส่วนทาง Kanton เก่า นั้นจะหมด
 อายุไปโดยอัตโนมัติ
 
 Bundesgesetz
 über Aufenthalt und Niederlassung der Ausländer
 (ANAG)
 
 Art. 8
 1 Die Aufenthalts- oder Niederlassungsbewilligung... gilt nur für den Kanton, der sie ausgestellt hat.
 2...............................
 3 Der Ausländer, der seinen Aufenthalt von einem Kanton in einen anderen verlegt, ist verpflichtet, sich binnen acht Tagen bei der Fremdenpolizeibehörde des neuen Aufenthaltsortes anzumelden. Artikel 3 Absatz 3 gilt auch im diesem Falle.1
 
 Art. 91
 
 1 Die Aufenthaltsbewilligung erlischt:
 a.
 mit dem Ablauf der Bewilligungsfrist, sofern diese nicht verlängert worden ist;
 b.
 mit der Erteilung einer Bewilligung in einem andern Kanton;
 c.
 mit der Abmeldung oder wenn der Aufenthalt tatsächlich aufgegeben ist;
 d.
 mit der Ausweisung oder Heimschaffung;
 e.
 mit dem Entzug gemäss Artikel 8 Absatz 2.
 
 
 แต่ว่าสิทธิที่คุณจะ ขอ Niederlassungsbeweligung C นั้นไม่ขาดครับ ตามกฏหมายข้อนี้
 Art. 71(ANAG)
 1 Der ausländische Ehegatte eines Schweizer Bürgers hat Anspruch auf Erteilung und Verlängerung der Aufenthaltsbewilligung. Nach einem ordnungsgemässen und ununterbrochenen Aufenthalt von fünf Jahren hat er Anspruch auf die Niederlassungsbewilligung. Der Anspruch erlischt, wenn ein Ausweisungsgrund vorliegt.
 
 หรือว่าขอสัญชาติสวิสนั้น คุณยังมีสิทธิ์เหมือนเดิมครับ คือ อยู่สวิสรวมระยะเวลาทั้งหมด ห้าปี และแต่งงาน(จดทะเบียนสมรส)ครบสามปี ตามกฏหมายข้อข้างล่างนี้ครับ
 
 1. Artikel 27 BüG
 Ausländischer Ehegatte einer Schweizerin oder eines Schweizers, der insgesamt fünf Jahre in der Schweiz gewohnt hat, seit einem Jahr hier wohnt und seit drei Jahren in ehelicher Gemeinschaft mit dem schweizerischen Ehepartner lebt.
 
 
 
 ข้อกฏหมายทั้งหมดนี้ผมไม่แปล นะครับเพราะว่าต้องใช้เวลานาน
 ในการกลั่นกรอง ข้อความให้ถูกต้องตามหลักนิติศาสตร์ ผมเกรงว่าถ้าแปลไปแล้วจะสื่อความหมายได้ไม่ดีนัก... เพราะว่าผมมีเวลาน้อย และต้องฝึกปรีอเพิ่มอีก ถึงจะแปล ภาษาวิชาการให้สละสลวยได้ตรงกับ ต้นแบบ แต่ผมหวังว้่าคงจะช่วยให้คุณหายข้อข้องใจ ได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
 

ศักดา

ขออธิบายเพิ่ม เกี่ยวกับกฏหมายขอสัญชาติ
 สรุปคือ คุณอยู่สวิสรวมระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี พำนักอยู่ในKanton เดียวกันเป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะยื่นเรื่องขอสัญชาติ จดทะเบียนสมรส รวมทั้งใช้ชีวิตครองคู่เยี่ยงสามีภรรยา(อยู่ด้วยกัน) ตลอดระยะเวลาสามปี
 
 ถ้าคุณทำตามกฏดังที่กล่าวมานี้ คุณมีสิทธิ์ขอยื่นยื่นสัญชาติได้ครับ

จิต

 ถ้าตีความอย่างคุณศักดาว่าไปตามข้อกฏหมายมันจะยุ่ง ง่ายต่อการเข้าใจผิด อย่างนั้นดิฉันขอรบกวนถามตามกรณีแล้วกันนะคะ คือ ถ้าแต่งงานอยู่กิน จดทะเบียนมาแล้วเกินสามปี  แต่อยู่สวิสยังไม่ถึง 5 ปี  ถ้าจะต้องหย่าร้างกันก่อนปีที่ 5  จะยังมีโอกาสอยู่ที่สวิสไหม  แล้วจะได้สิทธิ์พาสซีอยู่ไหมคะ  อ้อ มีงานทำประจำกับบริษัทค่ะ รายได้อยู่ที่ 2000-2800ค่ะ  ขอบคุณค่ะ

ศักดา

สวัสดีครับคุณจิต
 วันนี้ผมเป็นผู้ปรึกษาด้านกฏหมาย จำเป็นไปโดยปริยายนะครับ...
 ตอบข้อกฏหมายล้วนๆ เลยครับ... ขอเป็นเพียงแค่การนำประสบการณ์
 ความรู้มาแลกเปลี่ยนกันเท่านั้นนะครับ ถ้าจะให้รู้จริงรู้ ลึกต้องปรึกษา
 กับทนายหรือว่าศูนย์ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านนี้โดยตรงนะครับ
 
 ตามที่อ่านในบทความเกี่ยวกับกฏหมายต่างชาติ ของศูนย์ปรึกษาด้านกฏหมายให้คู่สมรสระหว่างสองชาติ ดังข้อความข้างล่าง พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ครับ
 
 บุคลที่มาจากประเทศที่สาม (นอกเหนือจากกลุ่ม EUเก่า และใหม่) จะหมดสิทธิ์พำนักอยู่ที่สวิส ถ้าหย่าขาดก่อนที่ การสมรสจะครบ ห้าปี แต่ทั้งนี้ ทางกองต่างประเทศในเขตที่คุณอยู่ (Migrationsdienst) จะเป็นผู้ตัดสินใจ อีกทีถึงความจำเป็น ในการต่อใบอนุญาตพำนัก อย่างเช่นในกรณีที่คุณมีบุตร กับชาวกับสามีชาวสวิส หรือว่าสามารถเลี้ยงดูแลตัวเองได้ และมีรายได้ที่แน่นอน ทางราชการการจะพิจารณาเป็นกรณีไปครับถึงการอนุญาต ต่อใบพำนัก
 
 **Wichtige Aspekte für binationale Paare
 Mit der Scheidung wird die Ehe endgültig aufgelöst. Wenn der Aufenthaltszweck die eheliche Gemeinschaft war (d.h. Verbleib beim Schweizer Ehegatten), erlischt mit der Scheidung für den Ausländer oder die Ausländerin der Aufenthaltszweck.
 Wenn Ihre binationale Ehe weniger als fünf Jahre gedauert und der Ausländer/die Ausländerin aus einem Nicht-EU/EFTA-Staat eine Jahresaufenthaltsbewilligung (B-Ausweis) hat, müssen Sie damit rechnen, dass diese nicht mehr erneuert wird. Für eine Erneuerung können z.B. gemeinsame Kinder sprechen, die den Kontakt zum ausländischen Elternteil verlieren würden, wenn dieser das Land verlassen würde. Auch eine gute soziale und finanzielle Integration des Ausländers/der Ausländerin kann ein gewichtiger Faktor sein. Der Entscheid liegt im Ermessen des zuständigen Migrationsdienstes Ihres Wohnkantons.**  
 อ้างอิง  Quellennachweis: http://www.binational.ch/d/fragen/trennung.html
 
 ส่วนการได้รับ Niederlassungsbewilligung (C)  ตามที่สิทธ์เช่นคู่สมรสทั่วไป ที่อยู่กินฉันสามีภรรยา ความเห็นข้างบนนี้ที่ผมได้เขียนไปแล้ว คุณจะไม่มีสิทธิ ตรงนี้ครับ เพราะว่าหย่าก่อน ที่จะอยู่สวิสครบ ห้าปี คุณจะต้องรอให้ครบสิบปีครับถึงจะได้ Ausweiss C (ในกรณีที่คุณไม่แต่งงานใหม่ แต่มีวีซ่าการทำงาน รับรอง หรือว่าทางการออกใบอนุญาต ให้คุณอยู่สวิสได้หลังที่หย่าแล้ว)
 **Drittstaatsangehörigen kann in der Regel nach einem zehnjährigen ordentlichen und ununterbrochenen Aufenthalt die Niederlassungsbewilligung erteilt werden.**
 รายละเอียดย่อๆ คัดมาจากเว็บนีครับ
 http://www.bfm.admin.ch/index.php?id=259&L=0&S=0
 

แจง

ยังไงก็ขอขอบคุณทุกท่านมากๆนะคะ เดี่ยวขอแจงอ่านก่อนนะคะแวะเข้ามาตอบก่อนอ่านคะ
 ขอบคุณมากคะ

ศักดา

สวัสดีคุณจิตอีกครั้งครับ
 ผมคิดว่าตามคำถามที่คุณตั้งมานั้นเ กี่ยวกับข้อกฏหมายนี้่ ใช่ไหมครับ
 1. Artikel 27 BüG
 อ่านดูดีๆ แล้วผมตีความหมายจะได้ดังนี้ครับ
 คือ คู่สมรสใช้ชีวิตคู่ฉันสามีภรรยา สามปี ที่เหลือ สองปีนี้ไม่
 ได้หย่าขาดจากกันนะครับ แต่แยกกันอยู่ รวมเวลาทั้งหมด
 แล้วบุคลที่ขอสัญชาติ ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่สวิส ครบห้าปีครับ และข้อมูลที่เีัรียนรู้มานั้น ทางราชการจะต้องดูเหตุผล ในหลายๆด้านประกอบด้วย ก่อนที่ทางราชการจะอนุมัติ การออกสัญชาติให้กับบุคลต่างด้าว อย่างเช่นไม่เคยต้องคดี อาญา หรือโดนลงทัณฑ์ มาก่อน ระหว่างที่ยื่นเรื่อง และไม่เป็นภาระให้รัฐบาลเลี้ยงดู ไม่เป็นบุคลอันตรายต่อประเทศสวิส เป็นต้น
 
 ส่วนระยะเวลาและการพิจารณานั้นขึ้นอยู่กับเขต ที่คุณอยู่ด้วยว่า
 เคร่งครัดเพียงใด ในการอนุมัตินี้ครับ
 

จิต

ขอบคุณ คุณศักดามากนะคะ  บางทีกฏหมายก็ตีความกันไปมาจนสับสน ดิฉันว่า ว่ากันไปตามกรณี ยกตัวอย่างจากประสพการณ์นี่ล่ะค่ะ เข้าใจง่ายดีแบบไทยๆ  ขอบคุณอีกครั้งนะคะ ที่นำประสพการณฺ์และความรู้มาเป็นวิทยาการ ขอให้บุญกุศลที่ทำ จงดลบันดาลให้คุณและครอบครัว มีความสุข เจริญยิ่งๆขี้นนะคะ
  เอาเป็นว่าถ้าหย่าตอนนี้ ก็ยังไม่แน่ว่าจะได้อยู่หรือกลับ  แต่ถ้าแยกกันอยู่ เพื่อให้อยู่ที่สวิสครบ 5 ปี อันนี้พอลุ้นที่จะได้อยู่ และได้พาสซี ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ   ขอถามอีกนิดนะคะ แล้ว*ที่ว่าแยกกันอยู่  ใครจะเป็นคนกำหนด ใครจะรู้ล่ะค่ะ มีข้อกฏหมายมาเกี่ยวข้องว่าไว้ไหมคะ  ถ้าจะแยกกันอยู่ต้องบอกและแจ้งทางการไหมคะ

ศักดา

ขออนุญาต คุณแจงด้วยนะครับ ที่ออกนอกเรื่อง
 จากหัวข้อเดิม ขอใช้พื้นที่ตอบคุณจิต ไปก่อนนะครับ
 
 สวัสดีครับคุณจิต
 ตอบแบบง่ายๆ เลยนะครับ การแยกกันอยู่ทำได้ สามวิธีคือ
 
 Trennung
 1. Trennung in gegenseitigem Einvernehmen
 คู่สมรสตกลง* ที่จะแยกกันอยู่ (รวมทั้งเรื่อง ค่าเลี้ยงดู หรือว่าต่างคนต่างทำงานเลี้ยงดูตัวเองได้ ค่าเช่าบ้าน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ภาษีรายได้ว่าใครเป็นผู้จ่ายหรือว่าจ่ายรวมกัน เป็นต้น)
 *ปากเปล่า หรือว่าทำสัญญากัน โดยการไปที่สำนักงานทนายความ ทำความตกลงกันเป็นเป็นลายลักษ์อักษรไว้หลักฐาน แล้วแต่คู่สมรสจะตกลงกัน สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออำนาจจากศาล
 
 2. Gerichtlich genehmigte Trennungsvereinbarung
 ยื่นเรื่องขออำนาจศาล แยกกันอยู่ และศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะ
 อนุมัติหรือไม่ ทั้งนี้ศาลจะดูองค์ประกอบหลายๆ ด้าน เพื่อที่จะไม่ให้ฝ่ายหนึ่งใดฝ่่ายเสียเปรียบ
 
 3. Eheschutzgerichtliche Trennung
 แยกอยู่เพื่อคุ้มครอง ให้ฝ่ายที่เสียเปรียบ (ถ้าอยู่ด้วยกันแล้ว มีอันตรายต่อชีวิต หรือว่าสุขภาพ เป็นต้น) ศาลจะอนุมัติแล้วแต่กรณีไป
 
 แต่ทั้งนี้การแยก กันอยู่ ถ้าครบกำหนดสอง ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถ ฟ้องหย่าได้ ตามสิทธิที่กฏหมาย ข้อ ZGB Art. 114
 
 ผมคิดว่าถ้า พอทนได้ ก็ตกลง กับสามีดีกว่านะครับ ว่ารอให้คุณ
 อยู่ที่นี่ได้ แบบถาวรก่อน แล้วค่อย หย่า หรือว่า ไม่แน่ ลมอาจจะหวน กลับ มารักกันคืน ก็ได้นะครับ เพราะว่า กว่่าที่เราจะมาเจอกัน ได้นั้น ก็ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาไกล ฟันฝ่าอุปสรรคมาตั้งเยอะ
 
 ข้อกฏหมายว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวนี่อยู่ใน
 Schweizerisches Zivilgesetzbuch (ZGB)
 รายละเอียด ดูได้ตามเว็บนี้นะครับ (ภาษาเยอรมัน)
 เข้าไปในหมวด ที่ 4: Die Ehescheidung und die Ehetrennung
 
 http://www.gesetze.ch/inh/inhsub210.htm
 

จิต

ขอขอบคุณคุณศักดาอีกครั้งนะคะ  ตอบรวดเร็วทันใจดีเหลือเกิน ถ้ามีกรณีศึกษา อย่างอื่น พอยกตัวอย่างเห็นกันได้ชัดๆ เข้าใจกันง่ายๆ  ก็เล่าสู่กันฟังอีกนะคะ  

ศักดา

สวัสดีครับคุณแจง
 
 สวัสดีครับคุณจิต
 ด้วยความยินดีครับ ขอบคุณมากครับสำหรับคำอวยพร
 ขอให้คุณมีแต่ความสุขความเจริญ เช่นกันนะครับ
 ถ้ามีคำถาม ที่ไม่เกินความาสามารถและความรู้ ที่มีอยู่
 ยินดีตอบเสมอครับ
 
 ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณคุณป้าPall มากครับที่เปิดโอกาส
 และเสียสละ เปิดเว็บให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบ
 การต่างๆ สำหรับคนที่อยู่ไกลบ้าน