อย่างนี้เขาทำถูกต้องแล้วใช่ไหม(ลองอ่านดูเผื่อมันเกิดขึ้นกับคุณ)

Previous topic - Next topic

สิ

มีคำถามค่ะกับผู้รู้ทุกท่าน พอดีได้งานทำเป็นพนักงานเสริฟไปลองงานมาแล้ว3วันก็สรุปทำสัญญารับเข้าทำงานแต่ทดลองงาน2เดือนเริ่มงานไปเมื่อวันที่15ที่ผ่านมาแต่ แต่วันที่22กำลังทำงานอยู่ประมาณว่านั่งลงยกจานทองขึ้น(หนักมาก)แล้วลุกขึ้นเส้นเอ็นตรงข้อเท้าเกิดลั่นเจ็บแปล๊บๆแต่ไม่มากอะไรหลังจากนั้นก็ทำงานทั้งคืนเดินขึ้นลงบันไดทั้งคืนเพราะลูกค้าเยอะมากๆ พอเลิกงานสร็จมีความรู้สึกว่าอาการปวดเริ่มมีมากขึ้น แต่ก็ปลอบใจตัวเองดีหน่อยได้หยุด23และ24 .25หยุดครึ่งวันพักผ่อนคงจะหายทันไปทำงานเย็นวันที่25  แต่ปรากฏว่าวันที่23ข้อเท้าตรงเส้นเอ็นเริ่มบวมแดงและปวดมากแต่ก็ยังใช้ยาที่บ้านนวดคิดว่าคงไม่เป็นอะไร พอตกกลางคืนนอนไม่ได้เพราะมันบวมแดงขึ้นมาอีกและปวมมากขนาดว่าเท้าแตะพื้นไม่ได้เลย   ตัดสินใจไปหาหมอ หมอก็ถามว่าไปทำอะไรมา ก็เล่าให้หมอฟัง เส้นเอ็นมีปัญหาอย่างแรง ให้หยุดงาน2อาทิยต์ และต้องไปหาหมอกายภาพบำบัดเพราะเท้างอยืดไม่ได้ และห้ามเอาเท้าข้างที่เป็นแตะพื้นเดิน จนกว่าหมอจะสั่ง
 
 หลังจากไปหาหมอแล้วก็โทรเข้าหาหัวหน้าฝ่ายบุคคล เขาก็รับเรื่องไว้บอกไม่เป็นไรมีประกันอยู่รักษาตัวให้หาย เชื่อไหมค่ะ ไปหาหมอมาวันที่24  วันที่26 ได้รับจดหมายไล่ออกจากงาน ที่เขียนมาสั้นมากๆว่า "เราขอจบสัญญาจ้างทดลองงานหวังว่าคุณคงเข้าใจ" แล้วก็ลงชื่อ   คือมันช๊อคมากค่ะเจ็บทั้งตัวเจ็บทั้งใจ  พอสามีโทรไปถามว่าให้ออกด้วยเหตุผลอะไรแปลกไหมค่ะที่ฝ่ายหัวหน้าฝ่ายบุคคลบอกว่าฉันไม่รู้ ฉันไม่สามารถให้คำตอบคุณได้  คล้อยหลังไปไม่นานผู้จัดการร้านที่สิทำโทรมาหาเเฟนสิ  บอกว่าเขาพึ่งทราบเรื่องจากฝ่ายบุคลที่สิโดนให้ออก เขาเองยังบอกแฟนสิว่าไม่น่าจะเกิดเรื่องแบบนี้เพราะสิเองก็ตั้งใจทำงานและช่วงที่เขาส่งจดหมายให้ออกนั้นสิเองพึ่งหยุดงานไปแค่1วันครึ่ง และสิเกิดอุบัติเหตุในขณะทำงานมันเป็นเหตุสุดวิสัย
 
 อยากถามพี่ๆเพื่อนๆป้าๆว่าสิ่งนี้มันยุติธรรมแล้วหรือ   หรือเขาเห็นว่าเราไม่สามารถทำงานให้เขาได้เขาก็ถีบหัวส่ง ถามว่าโกรธไหมไม่โกรธค่ะแต่น้อยใจมากกว่า ตอนทำงานเราเต็มที่กับมันแต่พอเราเป็นอย่างงี้แล้วรีบปฏิเสธทันที
 
 ปัญหาตอนนี้คือสามีสิ ต้องการคำตอบว่าทำไม? และสามีบอกว่าแค่ต้องการคำตอบว่ามีเหตุผลอะไร  และสิรู้ว่าสามีจะไม่ยอมจนกว่าจะได้คำตอบ เขาไม่ได้หวังว่าสิจะได้งานคืน
 
 และวันศุกร์ที่จะถึงนี้สิต้องเข้าไปเอาของคืนทางร้านและไปเซ็นต์เอกสารต่างๆ บอกตรงๆค่ะว่าเสียความรู้สึกกับทาง ASTORIA HOTELมาก (สิทำอยู่ที่ไทยการ์เด้นค่ะงานหนักแค่ไหนคงรู้ถ้าเคยเข้าไปขึ้นลงบรรได22ขั้นวันหนึ่งไม่ตำกว่า50เที่ยวแต่ที่ทำเพราะใจมันรัก) เขียนมาเล่าสู่กันฟังค่ะ เพื่อเป็นตัวอย่างช่วงทดลองงานห้ามเกิดอุบัติเหตุในเวลางานไม่งั้นโดนไล่ออก

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0148 ห้อง lifestyle (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

คารุสุ

เป็นกำลังใจให้ค่ะ อยากฟังความคืบหน้าเอาไว้ประดับความรู้ เผื่อเกิดกับตัวเอง หายเร็ว ๆ นะค่ะ

si

สวัสดีค่ะคุฯคารุสุ ตอนนี้สิและสามีกำลังทำเรื่องแจงเหตุผลให้ที่ทำงานทราบว่าเกิดอะไรขึ้นทำไมสิไม่ไปทำงานอีกครั้ง และเรายื่นเรื่องขอให้เขาอธิบายเหตุผลเพราะมันจะมีผลกระทบเกี่ยวกับการสมัครงานของสิในอนาคตด้วย แต่ถ้าทางออฟฟิตไม่สามารถบอกเหตุผลหรือปฏิเสธที่จะบอกเป็นลายลักษณ์อักษรให้ได้ เราก็คงต้องหอบเอกสารไปพึ่งหน่วงงานที่ทำงานทางด้านนี้ในจังหวัดที่เราอยู่ เพื่อให้เขาไปดำเดินการให้กับทางร้านที่สิทำงานออกเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรให้
 
 แต่มันมีกฏหมายอยู่ข้อหนึ่งค่ะจำไม่ได้แล้วว่าข้อไหน ถ้าคุณถูกให้ออกจากงาน คุณต้องการทราบเหตุผล  เขาต้องบอกคุณ เพราะมันเป็นสิทธิ์ที่คุณจำเป็นต้องรู้    
 
 คงจะส่งจดหมายแจงเหตุวันพฤหัสพร้อมใบจากหมออีกที หมอนัดวันพฤหัสเช้า เดี๋ยวผลออกมาเป็นงัยจะมาเล่าให้ฟังอีที
 
 ขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้ค่ะ

pall

สวัสดีค่ะคุณคารุสุ
 
 สวัสดีค่ะคุณสิ
 ก่อนอื่นขอแสดงความเสียใจกับคุณอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
 และเข้าใจถึงความรู้สึกของคุณดีค่ะ
 การต่อสู้ชีวิตในโลกปัจจุบันเราต้องเข้มแข็ง
 ..เราต้องต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดจนเหมือนเห็นแก่ตัว..
 คนไหนอ่อนแอจะโดนคนที่แข็งแรงเหยียบเป็นเบี้ยล่าง
 ใครไวจะได้ก่อนไม่มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน..
 อย่างไรก็ตามขอเอาใจช่วยนะคะอย่าท้อแท้ใจ
 พยายามรักษาตัวให้แข็งแรงเพื่อต่อสู้กับวันข้างหน้า
 
 **เกี่ยวกับการยกเลิกจ้างทดลองงานของคุณ**
 กฎหมายเกี่ยวกับการทดลองงานยังออกกฎหมายคุ้มครอง
 ไม่เต็มที่นัก อย่างคุณประสบอุบัติเหตุในขณะที่ทดลองทำงาน
 การยกเลิกจ้างทดลองทำงานนี้นายจ้างมีสิทธิยกเลิกสัญญา
 จ้างการทำงานของคุณได้โดยไม่ผิดกฎอะไร
 ถ้าพูดกันจริงๆเขายังสามารถยืดสัญญาทดลองทำงานต่อไปได้อีก
 เล็กน้อยเท่าเวลาที่คุณกำลังทดลองทำงานต่อไปได้อีก
 เช่นคุณทดลองทำงานมาได้แล้ว10วันอาจจะยืดต่อไปอีก10วัน
 ถ้าคุณยังไม่สามารถทำงานได้ก็ยกเลิกสัญญาจ้าง
 
 คุณลองให้สามีคุณอ่านอันนี้ดูหน่อยนะคะ
 
 In der Probezeit sind Angestellte schlecht geschützt
 Während der Probezeit gelten kürzere Kündigungsfristen. Und: Arbeitnehmer können selbst dann entlassen werden, wenn sie krank im Bett liegen.
 
 Zu Beginn eines Arbeitsverhältnisses müssen sich die Arbeitgeberin und der Arbeitnehmer erst einmal richtig kennen lernen und herausfinden, ob sie zusammenpassen. Während der Probezeit kann die Arbeitgeberin zudem prüfen, ob sich der Arbeitnehmer auch wirklich für die Aufgabe eignet und sich am Arbeitsplatz bewährt.
 
 Drei Monate sind das Maximum
 Die Probezeit ist in Artikel 335b des Obligationenrechts (OR) geregelt. Wurde im Arbeitsvertrag nichts anderes vereinbart, so gilt der erste Monat als Probezeit. Während dieser Zeit kann der Vertrag von beiden Seiten mit einer Kündigungsfrist von nur sieben Wochentagen aufgelöst werden. Die Kündigung ist bis zum letzten Tag der Probezeit möglich. Sie gilt allerdings nur dann, wenn der Arbeitnehmer das Kündigungsschreiben noch während der Probezeit erhalten hat. Weil das Gesetz keine Formvorschriften aufstellt, ist auch eine mündliche Kündigung am letzten Tag der Probezeit gültig.
 
 
  ****Achtung: Während der Probezeit darf der Arbeitgeber mit siebentägiger Frist auch dann kündigen, wenn der Arbeitnehmer oder die Arbeitnehmerin wegen Krankheit, Unfall, Militärdienst oder Schwangerschaft nicht arbeiten kann. Danach darf das Arbeitsverhältnis während dieser Sperrzeiten nicht mehr gekündigt werden; eine trotzdem ausgesprochene Kündigung wäre ungültig.
 
 Weil Arbeitnehmer während dieser Zeit schlechter geschützt sind, erlaubt das Gesetz eine maximale Probezeit von drei Monaten. Durch Einzel- oder Gesamtarbeitsvertrag darf eine kürzere, nicht aber eine längere «Bewährungsfrist» vereinbart werden. Die Probezeit darf verlängert werden, wenn sie einen oder zwei Monate gedauert hat. Gesamthaft darf sie jedoch nicht länger als drei Monate dauern. Verlängert eine Arbeitnehmerin die Probezeit über diese drei Monate hinaus, so gilt ab dem vierten Anstellungsmonat nicht mehr die siebentägige, sondern automatisch die gesetzliche Kündigungsfrist von einem Monat.
 
 Wenn Arbeitnehmende krank sind
 Wird nun ein Arbeitnehmer während der Probezeit krank oder muss er in den Militärdienst einrücken, so verlängert sich die Probezeit um die Anzahl der ausgefallenen Arbeitstage. Dasselbe gilt, wenn der Arbeitnehmer wegen eines Unfalls dem Arbeitsplatz fernbleibt. Wer während der Probezeit ausfällt, hat von Gesetzes wegen keinen Lohnanspruch. Die Lohnfortzahlungspflicht des Arbeitgebers nach Artikel 324a OR setzt nämlich voraus, dass das Arbeitsverhältnis mindestens drei Monate gedauert hat. Viele Betriebe übernehmen den Lohn indessen freiwillig oder haben für ihre Mitarbeitenden eine Krankentaggeldversicherung abgeschlossen.
 
 Wird ein Arbeitsvertrag während der Probezeit aufgelöst und der Arbeitnehmer an der gleichen Stelle mit einem neuen Vertrag angestellt, so darf die Probezeit aus beiden Verträgen zusammen nicht mehr als drei Monate betragen. Anders, wenn der Arbeitnehmer im Unternehmen eine neue Funktion übernimmt: Dann besteht ein echtes Bedürfnis nach gegenseitiger Erprobung. Die Probezeit darf dann auf maximal drei Monate festgesetzt werden.
 
 Kündigung vor Stellenantritt?
 Die Frage, ob eine Arbeitgeberin einen neuen Mitarbeiter noch vor dem Stellenantritt entlassen kann und welche Frist sie einhalten muss, wird von den Gerichten unterschiedlich beurteilt. Auf jeden Fall muss sie sich an die siebentätige Kündigungfrist während der Probezeit halten. Will der Arbeitnehmer eine neue Stelle nicht annehmen, obwohl er den Vertrag unterschrieben hat, so müsste er eigentlich am ersten Arbeitstag kündigen und die sieben Tage «abarbeiten». Das macht aber wenig Sinn. Arbeitnehmer in dieser Situation sollten mit der Arbeitgeberin eine einvernehmliche Lösung suchen. Denn, wer eine Stelle ohne wichtigen Grund nicht antritt, wird womöglich schadenersatzpflichtig. Ein besseres Angebot in einem anderen Unternehmen gilt aber nicht als wichtiger Grund.
 
 Andere Regeln gelten bei Lehrverträgen: Auch dort kann grundsätzlich eine Probezeit zwischen einem und drei Monaten vereinbart werden. Jedoch können hier beide Seiten eine Verlängerung auf maximal sechs Monate verlangen. Dazu ist aber die Zustimmung des Kantonalen Berufsbildungsamtes nötig. Während der Probezeit kann auch der Lehrvertrag mit siebentägiger Frist gekündigt werden. Danach nur noch aus wichtigen Gründen und auch nur mit Zustimmung des Amtes für Berufsbildung. [geb/TA | 22.04.2004]
 
 
 เดี๋ยวรอคนที่มีประสบการณ์หรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้
 เข้ามาช่วยตอบให้ข้อมูลที่ถูกตอ้งแม่นยำจะดีกว่านะคะ
 ยอมรับค่ะว่าไม่ค่อยจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก
 ขอขอบคุณกับเกี่ยวกับข้อมูลที่นำมาตอบเป็นวิทยาทานแก่กัน
 
 

pall

ถ้าข่าวความคืบหน้าเป็นอย่างไรเข้ามาส่งข่าวด้วยนะคะ
 

เห็นใจ

สวัสดีค่ะคุณสิ  ได้อ่านข้อความของคุณแล้วนะคะรู้สึกเห็นใจคุณมากด้วย...แต่ขอบอกให้คุณสู้นะคะเพราะมันเป็นอุบัติเหตุในระหว่างงานเขาจะมาไล่เราออกง่ายๆ คงจะไม่ใช่ ยังไงก็ส่งเอกสารไปนะคะ ให้เขาอธิบายถึงเหตุผลและวิถีทางในการทำงานของเขาให้แน่ชัด...และขออวยพรให้คุณได้กลับมาทำงานที่ไทยการ์เด้นอีกครั้งนะคะ อดทนเพื่ออนาคตของคุณและครอบครัว ลูกของคุณด้วยนะคะ ดิฉันรู้จักคุณนะคะ แต่อย่าทราบเลยคะว่าชื่ออะไร โชคดีคะ รักษาตัวให้หายเร็วๆนะคะ

สิ

สวัสดีป้าพอล และก็ต้องขอขอบคุณในข้อมูลที่ส่งให้ดูค่ะ สามีอ่านแล้วค่ะ และฝากขอบคุณมาด้วย เดี๋ยวได้ความยังงัยจะเข้ามาเล่าให้ฟังอีกทีนะคะ พอดีวันนี้ส่งเอกสารและข้อมูลการรักษาตัวไปให้เขา(เปลี่ยนจากส่งวันพฤหัสมาป็นวันนี้)พิจารณาใหม่การให้ออก แต่ถ้าเขาปฏิเสธก็คงต้องส่งจดหมายไปให้เขาอธิบายเหตุผลของการให้ออก เป็นลายลักษณ์อักษรให้เพื่อเป็นหลักฐานในการสมัครงานในอนาคต แต่ถ้าทางนั้นเขาปฏิเสธที่จะบอกเราก็คงต้องหอบเอกสารไปพึ่งหน่วยงานที่ทำงานทางด้านนี้จังหวัดที่สิอยู่ ให้เขาช่วยให้เขาติดต่อกับทางนั้นเพื่อบอกเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรให้
 
 เอ..คห.5นี้ใครนะ สิรู้จักคุณหรือเปล่าคงรู้จักมั้งเนอะ ขอบคุณสำหรับความเห็นใจ แต่สิไม่เป็นไรหรอกค่ะ แค่เกิดอาการน้อยใจมากๆแค่นั้นเองเพราะมีความตั้งใจกับงานนี้มากๆ สำหรับสิ นะอยากให้เรื่องมันจบๆไป เพราะเราถามเหตุผลเขาแล้วแต่เขาทำเหมือนหูทวนลม เราก็เลยต้องส่งเอกสารให้เขาพิจารณาใหม่ของการไล่ออก แต่ถ้ามันยุ่งยากเราก็คงดำเดินการเหมือนที่สิเขียนไว้ข้างบน

ศักดา

สวัสดีครับคุณ สิ
 ผมมาอ่านวันนี้พอเคร่าๆ จับใจความว่า คุณโดนเอาเปรียบ
 ทั้งที่เรา ประสบอุบัติเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถทำงานต่อได้
 
 คุณสิครับ ลองสมัครเป็นสามาชิก ของ Gewerkschaft
 รู้สึกว่าจะเสียค่าสมากชิกเป็นรายเดือนนะครับ และถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับนายจ้าง ทางองค์กร จะมีทนายให้คำปรึกษาและว่าความฟรี ใว้บริการสำหรับสมาชิก และให้การคุ้มครองสิทธิของเราเต็มที่
 
 ถ้าคุณทำงานเต็มร้อยเปอร์เซ็น อีกละก็ผมว่าน่าจะสมัครไว้นะครับ
 
 รายละเอียด ดูได้ในเว็บนี้ที่ส่งมาด้วยนะครับ
 http://www.unia.ch/Home.177.0.html

สิ

สวัสดีค่ะคุณศักดา และขอบคุณสำหรับองค์กรดีๆค่ะ ตอนนี้สิได้งานคืนมาแล้วค่ะ แต่กว่าจะได้คืนมาก็เล่นเอาหนื่อยเหมือนกันค่ะ ดีอย่างที่สามีคอยช่วยติดต่อพูดคุยและผู้จัดการร้านยื่นมือเข้ามาช่วยเจรจาด้วย

ศักดา

สวัสดีครับคุณสิ
 ยินดีด้วยครับที่ได้งานคืน
 และได้คนเคียงข้างดี ที่คอยช่วยเหลือคุณ
 
 ผมก็ทำงานเกี่ยวกับงานบริการในร้านอาหาร(สวิส)
 เช่นกันคร้บ คิดบางครั้งเหมือนกันอยากที่จะเปลื่่ยนงาน
 แต่ ก็ยังไปไม่พ้นวงจรนี้เสียที... เคยคิดว่าจะเปลี่ยน
 ไปเรียนการทำงานด้าน ผู้ช่วยพยาบาล แต่พอเห็นแฟน
 เข้าโรงพยาบาล เมื่อปีที่แล้ว ได้ดูการทำงานของผู้ช่วย
 และพยาบาลแล้ว คิดว่าไม่เหมาะกับตัวผมเอง เลยเปลื่ยนใจ
 นะครับกลับมาสู่อาชีพเดิมดีกว่า เบื่อก็ต้องทนนะครับ
 
 ไม่ทราบว่าคุณสิ รู้หรือเปล่าครับ ว่าถ้าคุณ ทำงานในสาย
 อาชีพอะไรก็ตามแต่ มีประสบการครบ ทั้งหมด 5 ปี ในสวิสละก็คุณสามารถมีสิทธิ ขอสอบใบประกาศวิชาชีพ ตามกฏหมายข้อใหม่ ที่ให้การศึกษาขยายโอกาส สำหรับผู้ใหญ่ ที่ไม่ได้เรียนสายอาชีพมาก่อน (Artikel 32 Berufsbildungsverordnung)
 
 ถ้าคุณได้ใบประกาศนี้แล้ว มีสิทธิเท่าเทียมกันกับ นักเรียนสวิส ที่เรียน Berufslehre 3 ปีครับ ทั้งนี้คุณสามารถเรียน และทำงานไปด้วย
 โดยได้เงินเดือนปรกติ เท่่าที่ทำตอนนี้ แต่ต้องไปโรงเรียนอาชีวะของรัฐ 1 วันต่ออาทิตย์(เตรียมสอบ) ประมาณ 1 ปี หรือมากกว่าแล้วแต่สายอาชีพ หลังจากนั้นก็ ขอสอบได้(Gesuch um Zulassung zum Qualifikationsverfahren (Lehrabschlussprüfung))
 ถ้าคุณได้ใบประกาศนี้ เงินเดือนจะสูง ตามวุฒิ หางานก็ง่ายด้วย
 ส่วนผมตอนนี้กำลัง เก็บเกี่ยวประสบการณ์อยู่ครัีบ ยังมีไม่ครบ
 เลยต้องรอ ไปก่อนช่วงนี้
 
 ผมว่าน่าสนใจดีนะครับ ถ้าคุณสนใจดูรายละเอียด และสามารถติดต่อ สอบถามเพิ่มเติม ได้ จากองค์กรปรีกษาด้านการเรียนสายอาชีพ
 เว็บขององค์กร พอเข้าไปแล้วกดไปยังระหัสย่อ ของ รัฐที่คุณอยู่
 Schweizerischer Verband für Berufsberatung SVB
 
 http://www.svb-asosp.ch/bb/
 
 

ศักดา

ปล. หวังว่าผมคงจะไม่นำมะพร้าวห้าว ไปขายสวนนะครับ
 ตอนนี้เป็นโรคกลัวเข็ม มากครับ ไม่อยากไปรพ. ให้หมอเย็บแผล
 เพราะว่าหน้าแตก... 55555
 
 คิดว่ามีประโยชน์นะครับ เลยนำมาฝาก เพื่่อ เพื่อนๆ พี่ๆ หลายคนด้วย
 ที่สนใจ
 

หนึ่ง

คุณศักดาคะ มีแบบเป็นภาษาฝรั่งเศสไหมคะ
 
 คือหนึ่งเข้าไปแล้วมีแต่เยอรมันน่ะ อ่านไม่ออกค่ะ

ศักดา

สวัสดีครับคุณหนึ่ง
 ผมขอเดาว่าคุณสนใจเกี่ยวกับเรื่องการเรียนเทียบ
 สายอาชีพ สำหรับผู้ใหญ่ใช่ไหมครับ
 
 เข้าไปตามที่อยู่นี้นะครับ
 เกี่ยวกับข้อมูล ข้างบนนี้ ที่ผมเขียนลง
 คุณสามารถขอคำปรึกษากับ เจ้าหน้าที่ ใกล้เขตที่คุณ
 อยู่ได้นะครับ (บริการฟรี) เพราะว่าเป็นกฏหมาย ที่ใช้ครอบคลุม
 ทั้งสมาพันธ์สวิสครับ
 
 ตามที่อยู่เว็บที่เข้าไป จะมีหน้าต่างดังนี้ครับ
 Offices d’orientation scolaire, professionnelle et universitaire et Offices régionaux de placement (ORP) de Suisse (Liste d’adresses)
 Veuillez cliquer sur le canton désiré.
 
 http://www.svb-asosp.ch/f/verband/service/bb_verzeichnis/index.htm