ตอน4

<<< ภาษาพูด >>>

 

     

ลุงเล่าถึงประเทศแกจนน้ำลายกระเด็นติดหน้าป้าต้องเช็ดออกหลายหน  แกเล่าไปออกท่าทางไป  ระหว่างที่ป้าจดที่แกเล่าเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น  ป้าเกี่ยงลุงให้ไปรับไม่ชอบไอ้แท่งกระบอกนี้เลย  เพราะระยะหลังตั้งแต่มาติดตั้งคู่กับInternet ฟังใครเหมือนคนปัญญาอ่อนฟังไม่รู้เรื่อง

“pall ยื่นมือไปรับหน่อยมาทำสำออยทำไม  ชั้นเบื่อเธอจริงๆนี่คนคงมีธุระโทรมา” ป้าเลยต้องไปรับและกรอกเสียงแผ่วเบา
“Ja หยา.(แปลว่าเยส)........ต้องการพูดกับใคร(ภาษาชะไว้เซ่อดุ๊ช(หรือด๊อยเลือกเอาเอง) “
“Oui,.......non.......,oui,.........”ทางโน้นส่งมาอีกภาษาหนึ่งป้ารีบส่งให้ลุงไม่ทัน.”

                   

ป้าเขียนไม่ได้อะไรไม่ได้มากกว่านี้เพราะไม่ได้ยินว่าลุงพูดอะไรทางโทรศัพท์  โทรศัพท์บ้านป้าฟังได้คนเดียวเพราะเป็นรุ่นอมตะ...ที่ไปตะกายกัดฟันซื้อมาตั้ง50บาท  เหลืออยู่เครื่องเดียวจริงๆสงสัยคงหลงหูหลงตาคนซื้อ  แต่คุณภาพสูงมากนะอย่าดูถูก ถ้าพูดกับใครนี่โทนเสียงจะซ่าสยิวมากแบบคนฟังปลายทางต้องส่งเสียง Operaใส่เรา  บางครั้งพูดๆอยู่มีเสียงดนตรีมาคั่นจังหวะ  ไม่รู้ว่ามันหลงมาจากไหน  นี่ลุงแกด่าทุกวันว่าพูดกับใครไม่ค่อยรู้เรื่องต้องตะเบ็งเสียงพูด มานั่งคิดสงสัยที่แกตะคอกป้าทุกวันนี่เพราะโทรศัพท์ รอให้หุ้นขึ้นก่อนจะไปซื้อเครื่องใหม่

“เธอทำไมฟังไม่รู้เรื่อง นี่ภาษาฝรั่งเศสนะ มาดามเอมบาสซี่  มีงานให้ชั้นทำ แกบอกโทรมาหลายหนแล้ว  ไม่มีใครรับเลย ”

“อยู่บ้านเมืองเธอฉันปวดหัวมาก  ภาษาพูดที่นี่โล่ะเล่ะไปหมด  แค่ฟังภาษาท้องถิ่นก็หูกางแล้ว  ยังจำได้ตอนมาอยู่ใหม่ๆมียายอิตาเลี่ยนมาซิๆๆๆๆๆๆซะๆๆๆๆใส่ฉัน  นึกว่าแกมาด่าเสียอีก” ป้านั่งยิ้มนึกถึงความหลังแล้วขำมาก

ตอนป้ามาอยู่ที่นี่ใหม่ๆยังขี้อายปากยังอมฮอร์นอยู่ไม่กล้าอ้าปากหรอกกลัวมาก  และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็มีภาษาพูดมากคิดแล้วปวดหัว ลุงบอกภาษาประจำชาติแกเรียกว่า Schweizerdeutsch สวิส-เยอรมัน  ไม่ใช่ภาษาเยอรมัน  คนเยอรมันมาฟังแล้วปวดหัวไม่รู้เรื่อง  แหมจะรู้เรื่องได้ไงชอบออกท้ายว่า แก๋ว(gaeu) คงจะพอๆกับไทยที่ลงท้ายว่านะๆๆ และแต่ละจังหวัดจะมีภาษาท้องถิ่นของตัวเอง

ทางเยอรมันเขาทัก กู๊ทเท่นทาก(Guten Tag)แปลว่าสวัสดี  แต่ของสวิสจะทักว่าGruezi(เกี๊ยสซี่..)ใครมาทักว่าเกียสซี่  แหมหูผึ่งเลย....ตาชักเริ่มเขียวใส่เขา... ภาษาสวิสนี่ชอบลงท้ายอี่ๆๆๆๆลี่ๆๆๆๆ ใคร  ยิ่งภาษาท้องถิ่นแล้วปวดหัวมากทุกรัฐจะมีภาษาท้องถิ่นทั้งนั้น ไม่เชื่อมาฟังด้วยตัวเองแล้วจะรู้สึกขี้หูสั่นไปหมดถ้าไปแถว Wallis หูกางเลยเพราะภาษาท้องถิ่นฟังยากมาก  โชคดีที่ป้าอยู่นานเริ่มเคยชินกับภาษาท้องถิ่นพวกนี้เลยพอแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปได้ตอนไปเที่ยวมา

ป้าอยู่เขตBern มีคนล้อนะว่าBernช้ามากเหมือนหอยทากที่ดืบเข้าหาเส้นชัยเขาไปถึงหลักชัยกันหมดแต่เราเพิ่งมาถึง เราชาวเบิร์นยึดหลักว่า ค่อยคิด ค่อยทำ ค่อยไป เราเรียกภาษาท้องถิ่นว่า Berndeutsch ไม่ได้คุยนะเป็นภาษาที่ไพเราะที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ นี่จากการโหวตลงคะแนน   ใครไม่คุ้นเคยภาษานี้จะงงมากเช่น  Junge (ยุงเง่ะ)ภาษาเยอรมันแปลว่าเด็กผู้ชายแต่บ้านป้าจะเรียก  Giu (เกี๊ยว ไม่ใช่เจี๊ยวนะเดี๋ยวจะยุ่ง) เราจะพูดช้ามาก  และจะใช้คำว่าอี (แปลว่าฉัน) ไม่ใช่เขาพูดอีเราตบเขาเปรี้ยงตายหยังเขียดแน่ๆ นึกว่าเขาด่าเราอี คำนี้เป็นสรรพนาม และเธอ,คุณก็ใช้คำว่าDu(แบบนี้รู้จักกัน) ตูอย่างนั้นตูอย่างนี้ ดีนะไม่มีคำว่ามึงไม่งันจะหาว่าเมืองป้าเมืองหลังเขา  วันหลังจะมาเล่าเกี่ยวกับภาษา Berndeutsch 

พูดถึงภาษาที่ใช้ในสวิตเซอร์แลนด์จะเกี่ยวกับเขตที่อยู่ว่าติดเพื่อนบ้านก็จะใช้ภาษานั้น  ให้คนมายืนรวมกันและพูดภาษาเยอรมัน เราจะรู้ทันทีว่าคนไหนเป็นคนสวิสภาษาเยอรมันของป้าไม่เกี่ยวนะเพราะขนาดพูดเองยังงงเองและมั่วไปหมด  ลูกผัวยังฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง  คนสวิสพูดเยอรมันน่ารักมากเพราะภาษาจะต๊ะติ๊งโนงมากแบบเสียงสูงต่ำเหมือนลูกคอโดนสปริงและจะออกเสียงฮะ.....ออกท้าย  คำนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าอะไร เห็นทั้งลุงและลูกชายมันพูดภาษาเยอรมันก็ฮะๆๆๆๆ...ตลอด

ตอนป้ามาอยู่ใหม่ๆตอนนั้นไม่ค่อยซ่าหรอกกลัวมากหัวหดเลย  ลุงต้องนำหน้าป้าหลบอยู่ตรงตูดแก  แกจะสอนจนคอหอยแห้งบอกว่าถ้าเจอใครอย่าเรียกเขา  ตู...(Du)นะเพราะไม่รู้จักกันดี  ให้เรียก ซี....(Sie)เรียกคนที่ไม่รู้จักกัน  เออ..ป้าก็คิด..ซีก็ซี...แล้วไม่อธิบายคนเรียนน้อยแบบป้า   พอเดินไปเที่ยวด้วยกันเจอหมาแก่เดินเป๋ไปเป๋มาน่ารักมากลุงสอนว่าใครไม่รู้จักให้เรียกว่าซี Sieป้าไม่รู้จักหมาตัวนี้เลยทักเรียกมันว่าซี ลุงแกได้ยินเท่านั้นแหละมาชี้ตรงหัว  คนสวิสอะไรๆก็ชอบชี้หัวน่าเบื่อมาก แกมาว่าหัวสมองป้าไม่ค่อยทำงาน(ไม่รู้ว่าแกด่าหรือเปล่าช่วงนั้นยังคิดไม่ออก)....ว่าไปนะภาษาที่นี่น่าสนใจมากและการใช้แล้วแต่เขตที่อยู่ เช่น

- ภาคกลาง, ภาคเหนือ ,ภาคตะวันออก            พูดภาษาเยอรมัน ( ใช้มากที่สุด)

  - ภาคตะวันตก                                                 พูดฝรั่งเศส(รองลงมา)

  - ภาคใต้                                                           พูดภาษา  อิตาเลี่ยน

แถว Graubuenden พูดภาษาโรมันซ์ เป็นอันดับสอง  และเขียนชื่อต่างๆเป็นภาษานี้  โรมันซ์เป็นภาษาที่ยากมากและน่าสนใจแต่มีเปอร์เซ็นต์ที่ใช้น้อยมาก และ ยังมีภาษาอื่นๆ อีก มากมาย   อีกทั้งตอนนี้ยังมีพวกอพยพและคนต่างด้าว(แบบป้า...สาวไทยแลนด์เดอริน Thailaenderin)มาอยู่เยอะด้วยและตอนนี้  ทางรัฐบาลยังบังคับให้โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับ ภาษาเยอรมัน, ภาษาอิตาเลี่ยน, ภาษาฝรั่งเศสและสเปน ภาษาที่ใช้ทางราชการมี 3 ภาษา คือ เยอรมัน  ฝรั่งเศสและอิตาเลี่ยน....เล่นเอาป้าแทบลากเลือด

Copyright © 2003 Pallswiss All Rights Reserved